ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อนามัยโลก เปลี่ยนชื่อโควิดกลายพันธุ์ จบปัญหาตีตราประเทศ


A handout photograph taken and released by the World Health Organization on May 24, 2021, shows Director-General Tedros Adhanom Ghebreyesus delivering a speech during the World Health Assembly. (AFP photo / World Health Organization / Christopher Black)
A handout photograph taken and released by the World Health Organization on May 24, 2021, shows Director-General Tedros Adhanom Ghebreyesus delivering a speech during the World Health Assembly. (AFP photo / World Health Organization / Christopher Black)

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เปลี่ยนชื่อโควิดกลายพันธุ์ให้เป็นไปตามอักษรกรีก เพื่อแก้ปัญหาเรื่องความซับซ้อนของชนิดไวรัสกลายพันธุ์ รวมทั้งปัญหาการตีตราประเทศที่พบการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์เป็นครั้งแรก

มาเรีย แวน เคิร์กโฮฟ หัวหน้าฝ่ายโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดต่อขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ทางอนามัยโลก เปลี่ยนชื่อ 4 โคโรนาไวรัสกลายพันธุ์ ที่ถูกเรียกอย่างแพร่หลาย ได้แก่ สายพันธุ์อังกฤษ แอฟริกาใต้ บราซิล และอินเดีย มาเป็น อัลฟ่า เบต้า แกมม่า และเดลต้า ตามลำดับของการค้นพบไวรัสกลายพันธุ์เหล่านี้ แต่ยังคงชื่อทางวิทยาศาสตร์ไว้ตามเดิม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการตีตราประเทศที่ค้นพบไวรัสกลายพันธุ์เป็นประเทศแรกๆ

ในอดีต ไวรัสชนิดต่างๆที่ถูกค้นพบ มักจะเกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่พบไวรัสอุบัติขึ้นในแต่ละครั้ง อย่างเช่น ไวรัสอีโบลา ที่ได้รับการตั้งชื่อตามแม่น้ำในคองโก ซึ่งเป็นพิกัดที่พบการระบาดครั้งแรกของไวรัสอีโบลา ตามรายงานของรอยเตอร์

อย่างไรก็ตาม การตั้งชื่อไวรัสหรือโรคระบาดต่างๆ อาจไม่มีความแม่นยำ ซ้ำยังเป็นการทำลายชื่อเสียงของประเทศที่ถูกกำหนดเป็นชื่อโรคด้วย อย่างเช่นกรณีของไข้หวัดสเปน เมื่อปี ค.ศ. 1918 ซึ่งยังไม่มีการระบุพิกัดแรกเริ่มที่พบการระบาดแต่อย่างใด

ส่วนสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอพกินส์ ณ บ่ายวันอังคาร ระบุว่า ผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 170.8 ล้านคน เสียชีวิต 3.5 ล้านคน

XS
SM
MD
LG