ลิ้งค์เชื่อมต่อ

"สหรัฐฯ-อังกฤษ" รุกหนักปราบคอร์รัปชันข้ามชาติ


Transparency International 2020
Transparency International 2020
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:51 0:00


รายงานฉบับใหม่จากองค์กร Transparency International เปิดเผยว่าสหรัฐฯ และอังกฤษ นำหน้าประเทศอื่นๆ ในการบังคับใช้กฏหมายและมาตรการต่างๆ เพื่อต่อต้านการคอร์รัปชันและติดสินบนข้ามชาติ

รายงานล่าสุดจากองค์กร Transparency International หน่วยงานเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน ระบุว่า เมื่อปีที่แล้ว มีเพียง 4 ประเทศจาก 47 ประเทศทั่วโลก มีการบังคับใช้กฏหมายเพื่อต่อต้านการทุจริตข้ามชาติ โดย 4 ประเทศได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ และอิสราเอล ซึ่งมีสัดส่วนปริมาณการส่งออกราว 16.5% ของการส่งออกทั่วโลก ขณะที่เมื่อปี 2018 มี 7 ประเทศที่มีการบังคับใช้มาตรการต้านคอร์รัปชั่นข้ามชาติ

จิลเลียน เดลล์ หัวหน้าผู้จัดทำรายงานนี้ ยอมรับว่า มีหลายประเทศที่แทบไม่เปิดการสืบสวนสอบสวนการทุจริตติดสินบนจากต่างประเทศ และว่ากลายเป็นเรื่องปกติเกินไปที่ภาคธุรกิจในประเทศที่ร่ำรวย จะติดสินบนเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องกับภาคการส่งออกของประเทศที่กำลังพัฒนาหรือประเทศที่ยากจน

ทางองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD มีข้อตกลงร่วมกันเมื่อปี ค.ศ. 1997 ห้ามการทุจริตติดสินบนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ด้านการค้าระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเพื่อบรรลุข้อตกลงการค้าหรือหลีกเลี่ยงภาษีส่งออกและนำเข้าระหว่างประเทศ แต่ประเทศในกลุ่มนี้มีระดับการบังคับใช้มาตรการปราบปรามคอร์รัปชันที่อยู่ในระดับปานกลางหรือน้อยมาก

ในรายงานพบว่า จีน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ไม่ได้ลงนามในข้อตกลงดังกล่าว ส่วน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ในข้อตกลงของกลุ่ม OECD แทบไม่ได้บังคับใช้มาตรการปราบปรามคอร์รัปชันระหว่างประเทศแต่อย่างใด

องค์กร Transparency International เรียกร้องให้นานาชาติยุติการปกปิดข้อมูลการเป็นเจ้าของกิจการระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวนและการเอาผิดบริษัทต่างๆในประเด็นการทุจริตข้ามชาติ

XS
SM
MD
LG