ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิเคราะห์ชี้ 'วิกฤตยูเครน' สร้างความเปลี่ยนแปลงตลาดพลังงานโลก


FILE - People walk through the Utrenneye field, the resource base for Novatek's Arctic LNG 2 project, located in the Gydan Peninsula on the Kara Sea shore line in the Arctic circle, some 2,500 km from Moscow, Nov. 30, 2021.
FILE - People walk through the Utrenneye field, the resource base for Novatek's Arctic LNG 2 project, located in the Gydan Peninsula on the Kara Sea shore line in the Arctic circle, some 2,500 km from Moscow, Nov. 30, 2021.

ในขณะที่สงครามในยูเครนกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์เชื่อว่าชาติตะวันตกกำลังปรับยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของตนเพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย

ก่อนหน้านี้ เยอรมนีได้ประกาศระงับการก่อสร้างท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติ นอร์ด สตรีม 2 จากรัสเซียไปเยอรมนี ขณะที่บริษัทพลังงานรายใหญ่หลายแห่ง เช่น BP Exxon และ Shell ประกาศถอนตัวออกจากตลาดรัสเซียเช่นกัน

นักวิเคราะห์เชื่อว่า การปรับเปลี่ยนนโยบายของสหภาพยุโรปไปใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มปริมาณการผลิตเชื้อเพลิงภายในประเทศของสหรัฐฯ จะช่วยลดอิทธิพลของรัสเซียที่มีต่อตลาดพลังงานของยุโรปในระยะสั้นได้

FILE - A Shell petrol station is seen in the town of Klimovsk outside Moscow, March 9, 2022.
FILE - A Shell petrol station is seen in the town of Klimovsk outside Moscow, March 9, 2022.

ยุโรปและอเมริกา

ปัจจุบัน รัสเซียคือประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสามของโลกรองจากสหรัฐฯ และซาอุดิอาระเบีย โดยสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศประเมินว่า ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากรัสเซียในอัตรา 40% - 25% ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด ตามลำดับ

และแม้สหภาพยุโรปมีแผนที่จะลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียในระยะยาวและหันไปใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น แต่สำหรับในระยะสั้นนั้น ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าประชาชนในยุโรปยังต้องประสบปัญหาขาดแคลนพลังงาน โดยเฉพาะในฤดูหนาว หากปริมาณการนำเข้าเชื้อเพลิงจากรัสเซียลดลง

อย่างไรก็ตาม สำหรับสหรัฐฯ นั้น นักวิเคราะห์ระบุว่าจะไม่ได้รับผลกระทบด้านพลังงานจากวิกฤตในยูเครนมากเท่ากับยุโรป เนื่องจากอเมริกานำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียในอัตราส่วนเพียง 3% ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด และไม่ได้นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียเลย

เฮนรี ลี ผอ.โครงการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวกับวีโอเอว่า "สหรัฐฯ มีก๊าซธรรมชาติในปริมาณมาก และแม้ราคาจะสูงขึ้นในช่วงนี้แต่ก็ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่ายุโรปมาก" แต่สำหรับตลาดน้ำมันนั้น ชาวอเมริกันอาจต้องเผชิญกับราคาที่สูงขึ้นไม่ต่างกับในยุโรป

FILE - Axel Vogt, mayor of the German coastal resort town of Lubmin, northeastern Germany, stands in front of an information point container decorated with a map showing the Nord Stream 2 gas pipeline, which was expected to deliver Russian gas to European households, in Lubmin's industrial park, March 1, 2022.
FILE - Axel Vogt, mayor of the German coastal resort town of Lubmin, northeastern Germany, stands in front of an information point container decorated with a map showing the Nord Stream 2 gas pipeline, which was expected to deliver Russian gas to European households, in Lubmin's industrial park, March 1, 2022.

จีนและอินเดีย

ในขณะที่รัสเซียกำลังมีรายได้ลดลงจากการส่งออกพลังงานที่ถูกจำกัดเพราะมาตรการลงโทษจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ทางการกรุงมอสโกก็กำลังมองหาทางเลือกอื่นในการส่งออกพลังงาน รวมถึงการเพิ่มการส่งออกไปยังจีนและอินเดียซึ่งยังคงเป็นตลาดส่งออกและพันธมิตรสำคัญของรัสเซีย

ก่อนเกิดวิกฤติยูเครนนั้น จีนนำเข้าน้ำมัน 20% ของน้ำมันทั้งหมดที่รัสเซียส่งออก และ 25% ของปริมาณถ่านหินทั้งหมดที่รัสเซียส่งออก โดยสองประเทศได้ทำข้อตกลงด้านพลังงานมูลค่ารวม 117,500 ล้านดอลลาร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ตามรายงานของสำนักข่าวอัล-จาซีรา

ทางด้านสื่อวอลสตรีทเจอนัล รายงานว่า ขณะนี้รัสเซียกำลังเสนอขายน้ำมันเพิ่มให้แก่จีนและอินเดียในราคาที่ถูกกว่าราคาในตลาดโลกราว 20%

ถึงกระนั้น ลอรี มิลลิเวอร์ตา นักวิเคราะห์แห่ง Center for Research on Energy and Clean Air กล่าวว่า ยังคงต้องดูกันต่อไปว่ารัสเซียจะหาทางหลีกเลี่ยงมาตรการลงโทษจากชาติตะวันตกเพื่อส่งออกพลังงานให้กับจีนและอินเดียได้อย่างไร

นอกจากนี้ การขนส่งพลังงานไปยังประเทศเหล่านั้นก็เป็นอุปสรรคสำคัญอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน เนื่องจากเวลานี้รัสเซียยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่สามารถส่งพลังงานไปยังอินเดียและจีนด้วยวิธีง่ายและมีต้นทุนต่ำกว่าได้ เมื่อเทียบกับการขนส่งผ่านท่อไปยังยุโรป

XS
SM
MD
LG