ลิ้งค์เชื่อมต่อ

บริษัทอาวุธอเมริกันอาจได้ประโยชน์จากการเพิ่มงบฯ ทหารของนาโต้


FILE - A Lockheed Martin F-35 Lightning II fighter jet is seen in its hangar at Patuxent River Naval Air Station, in the eastern U.S. state of Maryland, Oct. 28, 2015.
FILE - A Lockheed Martin F-35 Lightning II fighter jet is seen in its hangar at Patuxent River Naval Air Station, in the eastern U.S. state of Maryland, Oct. 28, 2015.

หลังจากที่ประเทศสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ NATO รับปากว่าจะปฏิบัติตามข้อตกลงเรื่องการจัดสรรงบประมาณด้านการทหารเพิ่มขึ้น ให้อยู่ในระดับที่ระบุไว้ในสัญญาของนาโต้ หรือที่ร้อยละ 2 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี

นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงชี้ว่า บรรดาบริษัทผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ของสหรัฐฯ จะได้รับผลประโยชน์จากงบประมาณที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เพราะจะมีส่วนที่จัดสรรให้กับการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของแต่ละประเทศ รวมทั้ง เครื่องบินรบ จรวดขีปนาวุธ และระบบป้องกันขีปนาวุธ

ปัจจุบัน ในบรรดาประเทศสมาชิกของนาโต้ 29 ประเทศ มีเพียง 5 ประเทศที่จัดสรรงบประมาณตามพันธะสัญญา ได้แก่ สหรัฐฯ กรีซ เอสโตเนีย สหราชอาณาจักร และลัตเวีย โดยสหรัฐฯ เป็นผู้จัดสรรงบประมาณในสัดส่วนที่มากที่สุด คือ 3.5% ของจีดีพี

เวลานี้สหรัฐฯ คือผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดในโลก และครองตลาดอาวุธ 34% ของโลกระหว่างปี ค.ศ. 2013 - 2017 โดยบริษัทอเมริกันที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่นั้น รวมถึง Lockheed Martin, Boeing, Northrop Grumman, Raytheon and General Dynamics

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาประเทศในยุโรปนำเข้าอาวุธจากสหรัฐฯ ในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ แต่ข้อตกลงเรื่องการเพิ่มงบประมาณด้านอาวุธของนาโต้ อาจทำให้ปริมาณการนำเข้าอาวุธจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และอาจมีผลให้ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ที่มีต่อสหภาพยุโรป ลดลงจากระดับ 151,000 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน

รายงานของสถาบัน Stockholm International Peace Research ระบุว่า ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2013 - 2017 ประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิกนำเข้าอาวุธมากที่สุดที่ 42% รองลงมาคือตะวันออกกลางที่ 32% และยุโรปที่ 11%

XS
SM
MD
LG