ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เวียดนามกำลังพิจารณาว่าจะใช้เมล็ดพันธุ์พืชที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม (GMO) หรือไม่


เวียดนามเป็นหนึ่งในสิบสองประเทศที่ร่วมการเจรจาการค้าเสรีในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก หรือ Trans-Pacific Partnership (TPP)

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:56 0:00
Direct link

ทางการเวียดนามตระหนักดีว่า จะต้องปรับปรุงภาคเกษตรกรรมของตนเพื่อให้แข่งขันได้ในเวทีนานาชาติ เมื่อใดก็ตามที่ข้อตกลงการค้าดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้

ประเด็นหนึ่งที่กำลังถกเถียงกันมาก คือการใช้เมล็ดพันธุ์พืช GMO เพื่อเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตร แต่มีชาวเวียดนามจำนวนไม่น้อยที่ไม่เชื่อถือไว้วางใจสองบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์พืช GMO คือ Monsanto และ Dow

คนเหล่านี้ยังจำได้ว่า สองบริษัทนี้เป็นผู้ผลิตสารเคมี Agent Orange ที่ทางการทหารสหรัฐนำไปฉีดฆ่าพืชพันธุ์ในเวียดนามในสมัยสงคราม และทำให้ชาวเวียดนามจำนวนมากเสียชีวิต

แต่นาย Tran Dinh Long นายกสมาคมเมล็ดพันธุ์พืชของประเทศ เชื่อว่าการใช้เมล็ดพันธุ์พืช GMO จะช่วยเพิ่มผลิตภาพให้ แต่ยอมรับว่าเกษตรกรจะต้องมองให้ไกลกว่านี้ โดยจะต้องหาทางนำวิธีเพาะปลูกแบบไฮเทคมาใช้ในที่สุด ไม่อย่างนั้นจะแข่งขันกับนานาชาติไม่ได้

ทางด้านผู้บริโภค Chung Hoang Choung เป็นห่วงว่าการใช้เมล็ดพันธุ์พืช GMO จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้

ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Pew Research Center ในสหรัฐ ได้สอบถามสมาชิกของ American Association for the Advancement of Science (AAAS) เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผลปรากฎว่า 88% ของนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ผลิตภัณฑ์อาหาร GMO ไม่เป็นอันตราย เปรียบเทียบกับ 37% ของคนอเมริกันที่เชื่อเช่นนั้น

อาจารย์ Nguyen Phuong Thao ซึ่งสอนวิชาเทคโนโลยีชีวภาพอยู่ที่ Vietnam National University และทำงานวิจัยเกี่ยวกับ GMO มา 18 ปีแล้ว เห็นด้วยกับนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน และย้ำว่าจนถึงขณะนี้ ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า GMO จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งของสัตว์และมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม

นักวิชาการชาวเวียดนามผู้นี้บอกด้วยว่า GMO ยังอาจช่วยให้เวียดนามฝ่าฟันปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงได้ด้วย เพราะ GMO หลายชนิดเติบโตในสภาพแห้งแล้งได้ ในขณะที่ชายฝั่งทะเลยาวมากของเวียดนาม เป็นจุดอ่อนสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

คาดว่าความเห็นจากหลายฝ่ายในเรื่อง GMO จะทำให้ผู้นำของเวียดนามตัดสินใจในเรื่องนี้ได้ยากขึ้นมาก

XS
SM
MD
LG