ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหประชาชาติชี้มาตรา 44 ที่รัฐบาลไทยนำมาใช้เข้มงวดกว่ากฏอัยการศึก


ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ Zeid Ra’ad Al Hussein กล่าวว่ามาตรา 44 มีความคลุมเครือและดูเหมือนเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ทั้งหมด

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:21 0:00
Direct link

ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากรัฐบาลไทยยกเลิกกฏอัยการศึก และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 แทน ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ Zeid Ra’ad Al Hussein ก็ได้มีแถลงการณ์ตำหนิรัฐบาลไทย โดยระบุว่าการยกเลิกกฏอัยการศึกครั้งนี้ยังไม่ใช่เรื่องน่ายินดี เพราะมาตรา 44 ที่นำใช้แทนนั้นมีความเข้มงวดกว่ากฏอัยการศึก และมีความคลุมเครือ อีกทั้งยังดูเหมือนเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ทั้งหมด

FILE - Jordan's Prince Zeid Ra'ad Zeid al-Hussein, U.N. High Commissioner for Human Rights, pauses during a news conference at U.N. European headquarters in Geneva, Oct. 16, 2014.
FILE - Jordan's Prince Zeid Ra'ad Zeid al-Hussein, U.N. High Commissioner for Human Rights, pauses during a news conference at U.N. European headquarters in Geneva, Oct. 16, 2014.

โฆษกสำนักข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ Rupert Colville กล่าวว่าการประกาศใช้มาตรา 44 ก่อให้เกิดความกังวลอย่างยิ่ง เพราะอาจนำไปสู่ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางโดยผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ขณะที่ทหารมีอำนาจมากมาย แม้แต่ทหารในชั้นรองๆ ลงไป

แถลงการณ์ของข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนสหประชาชาติระบุว่ามาตรา 44 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ยังให้อำนาจแก่นายก รมต. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการออกคำสั่งใดๆ ก็ตามทั้งของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ทำให้ขาดการตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจของรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของรัฐบาลไทย ชี้ว่าสหประชาชาติยังไม่เข้าใจถึงประเด็นสำคัญของการประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกครั้งนี้ ดร.ปณิธานระบุว่าหลังจากยกเลิกกฏอัยการศึก รัฐบาลได้ประกาศใช้คำสั่ง 14 ข้อเพื่อใช้ในการรักษาความสงบภายในประเทศแทน ซึ่งตนคิดว่าข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนสหประชาชาติพลาดประเด็นนี้ไป

ขณะเดียวกัน โฆษก Rupert Colville กล่าวว่าสำนักข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนสหประชาชาติยังกังวลต่อเรื่องที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารของไทย มีอำนาจในการควบคุมการรายงานข่าวและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน

โฆษกสำนักข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนสหประชาชาติกล่าวว่า ภายใต้คำสั่งใหม่เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมการแจกจ่ายและจำหน่ายหนังสือหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ด้วยข้อบังคับที่คลุมเครือ คือระบุไว้เพียงแต่ว่าห้ามแจกจ่ายและจำหน่ายหนังสือหรือสื่อสิ่งพิมพ์ ที่อาจก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในหมู่ประชาชน หรือจงใจบิดเบือนข้อมูลข่าวสารเท่านั้น

แถลงการณ์สำนักข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ยังระบุด้วยว่าในส่วนของเสรีภาพในการชุมนุม ก็ยังคงถูกควบคุมเข้มงวดเช่นเดิม และมีบทลงโทษหนักสำหรับผู้ชุมนุมประท้วงหรือผู้ชุมนุมเกินห้าคนขึ้นไป

แถลงการณ์สหประชาชาติฉบับนี้ สรุปส่งท้ายด้วยการกระตุ้นให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้กฏหมายสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และนำกฏหมายพลเรือนทั่วไปกลับมาใช้ปกครองประเทศอีกครั้ง ดังที่ได้สัญญาไว้ภายหลังการยึดอำนาจเมื่อเดือน พ.ค ปีที่แล้ว

รายงานจากผู้สื่อข่าว Steve Herman / เรียบเรียงโดยทรงพจน์ สุภาผล

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG