ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รู้จักคนสูงอายุพันธุ์พิเศษ "ซูเปอร์ เอจเจอร์ส" และ เส้นผมคนเราบ่งบอกตัวตนแต่ละคนได้อย่างไร?


please wait

No media source currently available

0:00 0:03:53 0:00

รู้จักคนสูงอายุพันธุ์พิเศษ "ซูเปอร์ เอจเจอร์ส"

สื่อ Huffington Post ของสหรัฐฯ รายงานเรื่องของความตั้งใจของนักวิชาการ ที่อยากศึกษาว่าเหตุใดผู้สูงอายุบางคนมีการทำงานของสมองดีเทียบได้กับคนรุ่นเด็กกว่า แม้จะย่างเข้าอายุแปดสิบถึงเก้าสิบปีแล้วก็ตาม

งานวิจัยโดยทีมงานที่ประกอบด้วยแพทย์จากมหาวิทยาลัย Harvard ชี้ว่า ผู้สูงอายุที่มีการสั่งการของสมองดีกว่าคนรุ่นเดียวกัน หรือที่เรียกว่ากลุ่ม “super agers” มีขนาดสมองที่ทำงานด้านความคิดและความจำเท่าๆกับคนหนุ่มสาว

แม้ว่า super agers เหล่านี้จะมีอายุมาก แต่ขนาดสมองไม่หดลงตามวัย

รองศาสตราจารย์ Bradford Dickerson จากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัย Harvard กล่าวว่า หากสามารถไขความลับว่าอะไรเป็นสาเหตุของขนาดสมองที่ไม่หดลง วงการแพทย์อาจสามารถป้องกันความเสื่อมถอยของสมองจากอายุที่เพิ่มขึ้นได้

รายงานของอาจารย์ Dickerson ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Journal of Neuroscience

เส้นผมคนเราบ่งบอกตัวตนแต่ละคนได้อย่างไร?

นักวิทยาศาสตร์จาก Lawrence Livermore National Laboratory ลงบทความในวารสาร PLOS ONE โดยกล่าวว่า เส้นผมของคนมีโปรตีนที่น่าจะสามารถใช้เป็นเครื่องบ่งบอกลักษณะเฉพาะของบุคคล สำหรับงานด้านนิติวิทยาศาสตร์และการศึกษาด้านโบราณคดี

งานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า หากเทียบกับ DNA ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องระบุตัวบุคคล โปรตีนมีความทนทานต่อการเวลามากกว่า DNA

โครงการวิจัยดังกล่าวศึกษาเส้นผมของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ 76 คน และเส้นผมที่มีอายุยาวนานของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว โดยตัวอย่างที่อายุมากที่สุดคือเส้นผมอายุ 250 ปี

ผู้วิจัยพบตัวบ่งชี้ด้านโปรตีน 185 ชนิด ซึ่งมีความซับซ้อนและหลากหลายพอที่จะแยกบุคคลจำเพาะออกจากประชากรหนึ่งล้านคนได้

นักวิทยาศาสตร์หวังว่า ในที่สุดจะสามารถระบุลักษณะเฉพาะของโปรตีนหลักมากพอ ที่จะสามารถทำให้ใช้เส้นผมเพียงหนึ่งเส้น เพื่อบอกว่าผมเส้นนั้นเป็นของใครจากประชากรโลกทั้งหมดได้สำเร็จ

(รายงานโดย Huffington Post และห้องข่าววีโอเอ / เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)

XS
SM
MD
LG