ลิ้งค์เชื่อมต่อ

โสมแดงรับภารกิจดาวเทียมล้มเหลว เพื่อนบ้านหวั่นทดสอบอีกเร็ว ๆ นี้


FILE PHOTO: North Korea tries to launch space satellite; warnings lifted in S.Korea, Japan
FILE PHOTO: North Korea tries to launch space satellite; warnings lifted in S.Korea, Japan

ปฏิบัติการปล่อยดาวเทียมของเกาหลีเหนือล้มเหลวในวันพุธ ตามรายงานของสื่อทางการกรุงเปียงยาง ด้านกองทัพเกาหลีใต้สามารถเก็บกู้ชิ้นส่วนของจรวดดังกล่าวที่พุ่งตกทะเลได้

สื่อเคซีเอ็นเอของรัฐบาลเกาหลีเหนือ รายงานว่า ภารกิจปล่อยจรวดส่งดาวเทียมชอลลีมา-1 (Chollima-1) ของเกาหลีเหนือล้มเหลว เนื่องจากความไม่มีเสถียรภาพของเครื่องยนต์และระบบเชื้อเพลิง และจะสอบสวนและแก้ไขเรื่องนี้ก่อนจะปล่อยจรวดครั้งที่ 2 โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งถือเป็นการยอมรับความผิดพลาดทางเทคนิคที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนักของรัฐบาลกรุงเปียงยาง

การปล่อยจรวดรอบล่าสุดนี้เป็นความพยายามปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรเป็นครั้งที่ 6 ของเกาหลีเหนือ ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2016 และครั้งนี้เป็นการส่งดาวเทียมสอดแนมดวงแรกขึ้นสู่วงโคจร

อย่างไรก็ตาม ภารกิจปล่อยจรวดส่งดาวเทียมที่ล้มเหลวของเกาหลีเหนือเมื่อวันพุธ ทำให้ทั้งเกาหลีใต้และญี่ปุ่นต้องประกาศเตือนภัยและเตรียมการอพยพในบางพื้นที่ของประเทศในช่วงสั้น ๆ ก่อนจะยกเลิกเตือนภัยเนื่องจากไม่มีรายงานความเสียหายเกิดขึ้น

This photo provided by South Korea's Defense Ministry, shows an object salvaged by South Korea's military. (South Korea Defense Ministry via AP)
This photo provided by South Korea's Defense Ministry, shows an object salvaged by South Korea's military. (South Korea Defense Ministry via AP)

ฝั่งกองทัพเกาหลีใต้เผยภาพการเก็บกู้ชิ้นส่วนที่เชื่อว่าเป็นตัวปล่อยจรวดซึ่งพุ่งตกลงไปในทะเลได้ ซึ่งจอร์จ วิลเลียม เฮอร์เบิร์ท อาจารย์จาก Center for Nonproliferation Studies และผู้เชี่ยวชาญด้านขีปนาวุธ กล่าวว่าภาพจากกองทัพเกาหลีใต้ชี้ว่าน่าจะเป็นจรวดเชื้อเพลิงเหลว

ทางการสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ต่อสายตรงหารือเร่งด่วน พร้อมประณามการปล่อยจรวดส่งดาวเทียมของเกาหลีเหนือ ตามการเปิดเผยของกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น

ขณะที่ทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ระบุว่า มีความเป็นไปได้สูงที่เกาหลีเหนือจะพยายามปล่อยจรวดส่งดาวเทียมอีกครั้งก่อนวันที่ 11 มิถุนายนนี้ ซึ่งอยู่ในกรอบ 12 วันที่เกาหลีเหนือได้แจ้งต่อองค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization-IMO)

  • ที่มา: รอยเตอร์
XS
SM
MD
LG