ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สถานการณ์ทางการเมืองของชาวมุสลิมในพม่าหลังการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์


สถานการณ์ของชาวมุสลิมในพม่าหลังการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:53 0:00

สถานการณ์ของชาวมุสลิมในพม่าหลังการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์

เมื่อรัฐสภาของพม่าเปิดสมัยประชุมใหม่ในปีหน้า จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศที่จะไม่มีสมาชิกรัฐสภาที่เป็นชาวมุสลิม

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:58 0:00
Direct link

แม้พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือย่อๆว่า NLD ที่นางอองซาน ซูจีเป็นหัวหน้าจะเป็นที่นิยมชมชอบ และคาดว่าจะชนะการเลือกตั้ง ได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของประเทศ

แต่ NLD ตัดสินใจไม่ส่งผู้สมัครที่เป็นชาวมุสลิมเข้ารับการเลือกตั้งเลย

Win Mya Mya ซึ่งเป็นชาวสุมลิม และดำรงตำแหน่งรองประธานพรรค NLD ในเมืองมัณฑะเลย์ บอกว่าแม้เธออยากจะเข้ารับเลือกตั้ง แต่ตัดสินใจไม่ลง เพราะการแทรกแซงจากกลุ่ม Ma Ba Tha ซึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมชาวพุทธที่กระตุ้นให้เกิดกระแสต่อต้านชาวมุสลิม

แม้เธอจะเสียใจที่ไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ก็หวังว่า เมื่อ NLD จัดตั้งรัฐบาลได้ จะนำไปสู่ความเสมอภาคสำหรับชนกลุ่มน้อยและผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ

แต่ Yin Yin Moe เจ้าของร้านขายยาในมัณฑะเลย์ บอกว่าในฐานะที่เป็นนักการเมือง นางออง ซาน ซูจี จะต้องมุ่งเน้นในฉันทามติที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ว่านางอองซาน ซูจีคิดจะทำอะไรก็ตาม จะต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย

อย่างไรก็ตาม Khin Maung Thein ผู้สมัครรับเลือกตั้งชาวมุสลิมคนเดียวในมัณฑะเลย์ของพรรค United National Congress ซึ่งเป็นพรรคชาวมุสลิม ดีใจที่เขาได้คะแนนเสียง 815 คะแนน ซึ่งชนะผู้สมัครของพรรครัฐบาล

เขากล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า นางอองซาน ซูจี เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ และชาวพม่าทั้ง 50 ล้านคนจะมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นเขาจึงร่วมฉลองชัยชนะของพรรค NLD ในการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย

Myanmar Muslims are seen praying at a mosque in central Mandalay. (Photo - D. de Carteret/VOA)
Myanmar Muslims are seen praying at a mosque in central Mandalay. (Photo - D. de Carteret/VOA)

XS
SM
MD
LG