ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชาวอเมริกันเลือกใช้ชีวิตบั้นปลายในบ้านมากกว่าที่โรงพยาบาล


FILE -- Caregiver Warren Manchess, 74, left, shaves Paul Gregoline, 92, in Noblesville, Indiana. The share of the U.S. population over age 60 is expected to rise by 40 percent between 2010 and 2050.
FILE -- Caregiver Warren Manchess, 74, left, shaves Paul Gregoline, 92, in Noblesville, Indiana. The share of the U.S. population over age 60 is expected to rise by 40 percent between 2010 and 2050.

นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1900 ที่ชาวอเมริกันจำนวนมากเลือกที่จะตายที่บ้านมากกว่าในโรงพยาบาล ซึ่งรายงานฉบับใหม่ชี้ว่าเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่ามีผู้คนจำนวนมากขึ้นเลือกที่จะมีจุดจบของชีวิตในแบบที่ตนต้องการ และรายงานยังระบุว่าการเสียชีวิตตาม Nursing Home หรือบ้านพักคนชราก็ลดลงด้วยเช่นเดียวกัน

นายแพทย์ Haider Warraich ที่ศูนย์สุขภาพ Veterans Affairs Boston Healthcare หัวหน้าการศึกษาวิจัยครั้งนี้กล่าวว่า การที่ชาวอเมริกันจำนวนมากเลือกที่จะจบชีวิตในบ้านของตัวเอง เป็นสิ่งที่ดี เพราะตามโรงพยาบาลต่างๆ มีการให้การรักษาพยาบาลมากจนเกินความจำเป็นก่อนที่ผู้สูงอายุจะเสียชีวิตลงตลอดช่วงศตวรรษที่ผ่านมา

Betsy McNair มัคคุเทศก์ซึ่งอาศัยอยู่ที่ประเทศเม็กซิโกบอกกับผู้สื่อข่าว Associated Press ว่าเธอรู้สึกยินดีที่ได้ช่วยเหลือคุณพ่อของเธอ Robert McNair ให้ใช้ชีวิตบั้นปลายในบ้านของตัวเองที่ Belle Haven รัฐ Virginia เมื่อปีพ.ศ. 2552 หลังจากที่ทราบว่าเขาป่วยเป็นมะเร็งปอดเพียงหกสัปดาห์ ในวัย 83 ปี

Betsy จำได้ว่า เธอทำอาหารทุกอย่าง และทุกๆ เวลาที่เขาต้องการ คุณพ่อของเธอได้ดื่มเหล้า Scotch ทุกคืน และหากเขาตื่นขึ้นมาตอนตีสองและต้องการดื่มกาแฟและพาย เขาก็จะได้ในสิ่งที่ต้องการ เรียกได้ว่าเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น

Haider Warraich และ Sarah Cross บัณฑิตมหาวิทยาลัย Duke ได้ร่วมศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพของรัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับการเสียชีวิตด้วยสาเหตุตามธรรมชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546 จนถึงพ.ศ. 2560 และเขาพบว่าการเสียชีวิตในโรงพยาบาลลดลงจาก 40% เป็น 30% ในช่วงระยะเวลานั้นและตามบ้านพักคนชราก็ลดลงจาก 24% เป็น 21%

อย่างไรก็ดีการเสียชีวิตในบ้านเพิ่มขึ้นจาก 24% เป็น 31% ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่าเราไม่มีทางที่จะบอกได้เลยการเสียชีวิตว่าตามศูนย์ที่ให้ความช่วยเหลือในบั้นปลายของชีวิตบางแห่งนั้นอาจถูกนับให้เป็นบ้านด้วยหรือไม่

ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตที่บ้านมากกว่าที่โรงพยาบาล ส่วนผู้สูงอายุที่ต้องทนทุกข์จากการสูญเสียความทรงจำ ป่วยเป็นโรคปอด หรืออาศัยอยู่ตามบ้านพักคนชรามีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตในโรงพยาบาล

Betsy McNair ตั้งข้อสังเกตว่าชนิดของโรคนั้นก็มีส่วนสำคัญ เธอเคยช่วยดูแลพี่ชายทีป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อลีบหรืออ่อนแรงหรือ (ALS) ในช่วงอายุ 50 ปีของเขา นอกจากนี้เธอยังเคยช่วยดูแลคุณแม่ซึ่งเสียชีวิตในวัย 92 ปีที่บ้านพักคนชราหลังจากที่สุขภาพของเธอย่ำแย่ลง เธอเล่าว่าประสบการณ์เหล่านี้ล้วนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และบางครั้งเราไม่สามารถดูแลสมาชิกในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ในบ้านของตัวเอง

นายแพทย์ Haider Warraich จากศูนย์สุขภาพ Veterans Affairs Boston Healthcare กล่าวอีกว่าสถานบริการให้การดูแลผู้ป่วยที่ป่วยหนักก่อนจะเสียชีวิตที่มีเพิ่มมากขึ้นนั้น ได้ช่วยให้ผู้คนจำนวนมากได้ใช้ชีวิตบั้นปลายในบ้านของตัวเอง และว่าเขาได้พบกับผู้ป่วยหลายคนที่ต้องการใช้เวลาเพียงหนึ่งวันในบ้านกับสุนัขตัวโปรด นอนบนเตียงของตัวเอง และได้ทานอาหารในบ้านของตน

รายงานการค้นพบนี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสารการแพทย์ The New England Journal of Medicine ฉบับเมื่อเดือนที่แล้ว

XS
SM
MD
LG