ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ภาวะขาดแคลนแรงงานบีบเยอรมนีหันหาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ดูแลคนชรา


An employee holds the artificial hand of a doctor's workplace for remote diagnosis in the laboratory of the Research Center Geriatronics of the Technical University Munich, in Garmisch-Partenkirchen, southern Germany, March 6, 2023.
An employee holds the artificial hand of a doctor's workplace for remote diagnosis in the laboratory of the Research Center Geriatronics of the Technical University Munich, in Garmisch-Partenkirchen, southern Germany, March 6, 2023.

ปัญหาสังคมสูงอายุและการขาดแคลนแรงงานในหลายประเทศส่งสัญญาณความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และล่าสุด เยอรมนีเริ่มหันไปพึ่งเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อมาช่วยงานด้านบริการทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุ โดยตั้งความหวังที่จะมีการใช้เทคโนโลยีนี้อย่างกว้างขวางภายใน 7 ปีข้างหน้า

"Garmi" คือ ชื่อของหุ่นยนต์สีขาวที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์และดูไม่แตกต่างจากหุ่นยนต์ทั่วไปมากนัก โดยตัวหุ่นยนต์จะยืนอยู่บนแท่นที่มีล้อและมีหน้าจอสีดำซึ่งมีวงกลมสีน้ำเงินสองวงคล้ายกับเป็นดวงตาติดอยู่

Guenter Steinebach แพทย์ชาวเยอรมันผู้เกษียณอายุวัย 78 ปี กล่าวว่า สำหรับเขาแล้ว หุ่นยนต์ตัวนี้คือความฝัน เพราะ Garmi ไม่เพียงแต่สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยได้เท่านั้น แต่ยังสามารถให้การดูแลและรักษาผู้ป่วยได้อีกด้วย หรืออย่างน้อยก็เป็นแผนการที่จะพัฒนาประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ตัวนี้

Garmi เป็นผลิตภัณฑ์ของภาคส่วนใหม่ที่เรียกว่า geriatronics ซึ่งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยี 3 มิติสำหรับคนชรา การศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และการพยาบาล

Doctor Guenter Steinebach works at a doctor's workplace for remote diagnosis in the laboratory of the Research Center Geriatronics of the Technical University Munich, in Garmisch-Partenkirchen, southern Germany, on March 6, 2023.
Doctor Guenter Steinebach works at a doctor's workplace for remote diagnosis in the laboratory of the Research Center Geriatronics of the Technical University Munich, in Garmisch-Partenkirchen, southern Germany, on March 6, 2023.

ในโครงการนี้ มีนักวิทยาศาสตร์ราว 12 คนที่ร่วมสร้าง Garmi ด้วยความช่วยเหลือจากบุคลากรทางการ เช่น นายแพทย์ Steinebach ที่ Munich Institute of Robotics and Machine Intelligence ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Technical University of Munich และเชี่ยวชาญด้าน geriatronics ที่ตั้งอยู่ที่ Garmisch-Partenkirchen สกีรีสอร์ทที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี

ทั้งนี้ เยอรมนีเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดของยุโรป และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีสังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วที่สุดในโลกอีกด้วย

ด้วยจำนวนผู้ที่ต้องการการดูแลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการคาดการณ์ว่า จะมีตำแหน่งงานผู้ดูแลผู้สูงอายุประมาณ 670,000 ตำแหน่งในเยอรมนีที่จะว่างลงภายในปี 2050 นักวิจัยจึงเร่งสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานบางอย่างที่ปัจจุบันดำเนินการโดยพยาบาล ผู้ดูแล และแพทย์อยู่

Abdeldjallil Naceri วัย 43 ปี หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการทดลอง กล่าวว่า การเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีนี้น่าจะทำให้ผู้คนในอนาคตสามารถเข้ารับการตรวจรักษาได้โดยการใช้เทคโนโลยีในแบบด่วนเบ็ดเสร็จ คล้าย ๆ กับบริการด้านการเงินผ่านตู้ ATM เพื่อให้แพทย์ประเมินผลการวินิจฉัยของหุ่นยนต์ได้จากระยะไกล ซึ่งจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่อยู่ห่างไกล

นอกจากนี้ เครื่องดังกล่าวน่าจะให้การบริการแบบเฉพาะบุคคลมากขึ้น ที่ตามบ้านหรือบ้านพักคนชรา โดยทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น การเสิร์ฟอาหาร เปิดขวดน้ำ โทรขอความช่วยเหลือในกรณีที่มีการหกล้ม หรือช่วยผู้สูงอายุให้พูดคุยกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ผ่านกล้องวีดีโออีกด้วย

ปัจจุบัน ทีมงานยังคงทำการทดสอบความก้าวหน้าของโครงการนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมีนายแพทย์ Steinebach เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และบุคลากรการแพทย์คนอื่น ๆ ให้ความร่วมมือด้วยการเดินทางไปยังห้องปฏิบัติการทดลองที่ Garmisch-Partenkirchen เป็นประจำเพื่อเสนอแนวคิดและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหุ่นยนต์ Garmi

An employee sits in front of the robot Garmi in the laboratory of the Research Center Geriatronics of the Technical University Munich, in Garmisch-Partenkirchen, March 6, 2023.
An employee sits in front of the robot Garmi in the laboratory of the Research Center Geriatronics of the Technical University Munich, in Garmisch-Partenkirchen, March 6, 2023.

และขณะที่หลายคนพยายามคาดเดาว่า หุ่นยนต์ Garmi จะพร้อมออกสู่ตลาดเมื่อใด Naceri หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการทดลอง เชื่อว่า การเปิดตัวหุ่นนี้เป็นเรื่องที่เร่งด่วน และประเมินว่า น่าจะเกิดขึ้นได้ในปี 2030

อย่างไรก็ตาม ทีมงานของ Naceri ระบุว่า หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญนั้นไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยี การแพทย์ หรือการเงิน แต่คือประเด็นว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะยอมรับหุ่นยนต์หรือไม่ โดย Naceri กล่าวทิ้งท้ายว่า ผู้ป่วยนั้นจะต้องเชื่อใจหุ่นยนต์ และใช้งานพวกมันเหมือนกับที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนในปัจจุบัน

  • ที่มา: เอเอฟพี

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG