ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ร้านค้าพึ่งพา ‘หุ่นยนต์’ แก้ปัญหาเงินเฟ้อ-ค่าแรงพุ่ง


FILE PHOTO: An illustration projected on a screen shows a robot hand and a human one moving towards each others during the "AI for Good" Global Summit at the ITU in Geneva
FILE PHOTO: An illustration projected on a screen shows a robot hand and a human one moving towards each others during the "AI for Good" Global Summit at the ITU in Geneva

ปัญหาตลาดแรงงานที่ตึงตัวในปัจจุบัน บวกกับค่าแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนแรงกดดันด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภคกำลังบีบให้อุตสาหกรรมร้านค้าปลีกต้องดำเนินการเพื่อรับมือกับปัญหานี้ และการพึ่งพาหุ่นยนต์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น

คลังสินค้าขนาดใหญ่ในเมืองรูสเซนดาล ทางตอนใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ นำเครนอัตโนมัติและยานพาหนะไร้คนขับมาใช้เพื่อจัดกองเสื้อผ้าให้กับร้านค้าปลีกไพร์มาร์ค (Primark) ของฝรั่งเศสและอิตาลี เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนคนงาน อีกทั้งยังลดต้นทุนในการจัดหาคลังสินค้าเพิ่มเติมได้อีกทางหนึ่งด้วย

แม้ว่าธุรกิจการค้าปลีกจะนำระบบอัตโนมัติมาใช้ช้ากว่าภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ แต่ถือว่าอัตราการพึ่งพาระบบนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่การนำระบบชำระเงินด้วยตนเองแบบง่าย ๆ มาใช้ในร้านค้า ไปจนถึงการใช้หุ่นยนต์และระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้ในสายการผลิตและภาคบริการ

Robots to make hot chips in fast food restaurants across the U.S.
Robots to make hot chips in fast food restaurants across the U.S.

ข้อมูลจากองค์กรหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ หรือ International Federation of Robotics ระบุว่าการติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลกเพิ่มขึ้น 31% ในปี 2021 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่ยอดขายหุ่นยนต์บริการเพิ่มขึ้น 37% โดยภาคค้าปลีกเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ

มาร์ค เชอร์ลีย์ (Mark Shirley) หัวหน้าฝ่ายโลจิสติกส์ของ Primark ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาวไอริชกล่าวว่าการลงทุน 25 ล้านยูโร หรือราว 900 ล้านบาท ในระบบอัตโนมัติของคลังสินค้าที่เมืองรูสเซนดาล จะเริ่มคืนทุนให้ปีละ 8 ล้านยูโรในอีก 4 ปีข้างหน้า นอกเหนือไปจากการประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะที่ไม่ต้องเช่าคลังสินค้าเพิ่มอีก

เขาประเมินว่าการใช้เครนอัตโนมัติแทนการใช้รถยกที่ต้องมีคนควบคุม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในคลังสินค้าได้ถึง 80% เลยทีเดียว

และที่สำคัญคือ การใช้ยานยนต์ไร้คนขับหมายความว่าบริษัทไม่ต้องแข่งขันในตลาดแรงงานดัตช์ที่กำลังตึงตัวอย่างมากอีกต่อไป ซึ่งเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นในประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วหลาย ๆ ประเทศ

เชอร์ลีย์บอกกับรอยเตอร์ว่า เมื่อมองภาพรวมของอุตสาหกรรม ผู้คนหันมาใช้วิธีนี้เพื่อลดความเสี่ยงในด้านแรงงานเขาประเมินด้วยว่าอุตสาหกรรมการค้าปลีกราว 40% ล้วนใช้ระบบอัตโนมัติ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 60-65% ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้านี้

Japan Convenience Store Robot
Japan Convenience Store Robot

กองทัพหุ่นยนต์ที่เดินสวนสนามกันไปมาในนั้น เริ่มเห็นได้ตามร้านค้าแฟชั่นและร้านขายอาหารทั่วโลก ซึ่งปกติต้องพึ่งพาคนงานนับล้าน แต่ธุรกิจเหล่านี้กำลังเผชิญกับต้นทุนค่าจ้าง ค่าพลังงาน และค่าวัตถุดิบที่สูงขึ้น ขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มตึงตัว จากที่ผู้ค้าปลีกออนไลน์รายใหญ่ที่สุดของโลก อย่างแอมะซอน ได้เตือนว่างบประมาณในการจับจ่ายใช้สอยนั้นตึงตัว โดยเฉพาะในยุโรป

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้ค้าปลีกทั่วยุโรปต่างใช้แนวทางที่แตกต่างกัน อย่างเช่น คาร์ฟูร์ ผู้ค้าปลีกอาหารรายใหญ่ที่สุดในยุโรปได้ตั้งเป้าว่าจะลดต้นทุนและลดความซับซ้อนของประเภทสินค้าที่จำหน่าย ในขณะที่ เทสโก้ ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่สุดของอังกฤษ กลับยอมรับในผลกำไรที่ลดลง

ในด้านบริษัท อินดิเท็กซ์ (Inditex) เจ้าของร้านเสื้อผ้า ซาร่า (Zara) ได้ขึ้นราคาเพื่อให้สอดรับกับต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น ในขณะที่ เอบี ฟู้ดส์ (AB Foods) เจ้าของไพร์มาร์ค กล่าวว่าผู้ค้าปลีกแฟชั่นที่มีราคาต้นทุนต่ำจะจำกัดการขึ้นราคา แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะแตะเลขสองหลักในตลาดหลายแห่ง เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถจ่ายได้อีกต่อไป

ปัจจัยเหล่านี้ยิ่งทำให้ระบบอัตโนมัติมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก

FILE - An attendant pours coffee as a robot makes a fresh pot in a waiting area within the closed-loop "bubble" at the Taizicheng train station in Zhangjakou on Jan. 29, 2022, ahead of the 2022 Beijing Winter Olympic Games.
FILE - An attendant pours coffee as a robot makes a fresh pot in a waiting area within the closed-loop "bubble" at the Taizicheng train station in Zhangjakou on Jan. 29, 2022, ahead of the 2022 Beijing Winter Olympic Games.

ที่ปรึกษาของบริษัทแมคคินซีย์ (McKinsey) กล่าวว่า แม้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ของระบบค้าปลีกออนไลน์จะหันมาใช้ระบบอัตโนมัติกับมากขึ้น แต่การดำเนินธุรกิจในภาพรวมของผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่ยังพึ่งพาการทำงานโดยใช้แรงงานมนุษย์อยู่

แอนนิตา บัลชันดานิ (Anita Balchandani) ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจค้าปลีกในสาขาเครื่องแต่งกาย สินค้าแฟชั่น และสินค้าฟุ่มเฟือยในอังกฤษกล่าวว่า “เรากำลังอยู่ในระยะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นและมีราคาถูกลง และการใช้ระบบอัตโนมัติในบางพื้นที่ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้น”

A worker and a robot clean the floor of the main media center ahead of the 2022 Winter Olympics, Tuesday, Feb. 1, 2022, in Beijing. (AP Photo/Jae C. Hong)
A worker and a robot clean the floor of the main media center ahead of the 2022 Winter Olympics, Tuesday, Feb. 1, 2022, in Beijing. (AP Photo/Jae C. Hong)

แมคคินซีย์ คาดการณ์ว่าบริษัทแฟชั่นจะเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีเป็นสองเท่าจาก 1.6% เป็น 1.8% ของรายรับในปี 2021 เป็น 3.0% และ 3.5% ภายในปี 2030 โดยแบรนด์แฟชั่นจะรวมกระบวนการดิจิทัลเข้าด้วยกันอย่างเต็มรูปแบบสามารถลดเวลาที่ใช้ในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้ถึงครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้ยอดขายสินค้าในราคาเต็มเพิ่มขึ้น 8% และต้นทุนการผลิตลดลงได้ 20%

อย่างไรก็ดี ผลประโยชน์ดังกล่าวกำลังขับเคลื่อนระบบอัตโนมัติในภาคการค้าปลีกด้านอาหารด้วย โดยบริษัทต่าง ๆ ได้ลงทุนในหุ่นยนต์ทำความสะอาด ป้ายราคาอิเล็กทรอนิกส์ตรงชั้นวางสินค้า และเทคโนโลยีที่ช่วยแจ้งเตือนระดับสินค้าคงคลังตามช่วงเวลาจริงและช่วยจัดการเติมสินค้า เป็นต้น

  • ที่มา: รอยเตอร์
XS
SM
MD
LG