ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์: บทบาทอินโดฯ ในฐานะสมาชิกชั่วคราวคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น กับการส่งเสริมอาเซียน


U.S. Secretary of State Mike Pompeo shakes hands with Indonesian Foreign Minister Retno Marsudi during their meeting in Jakarta, Indonesia, Aug. 4, 2018.
U.S. Secretary of State Mike Pompeo shakes hands with Indonesian Foreign Minister Retno Marsudi during their meeting in Jakarta, Indonesia, Aug. 4, 2018.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:09 0:00

อินโดนีเซียกล่าวว่าจะใช้บทบาทใหม่ในฐานะสมาชิกชั่วคราวของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ในการทำงานบรรเทาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์

รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เรตโน มาร์ซูดิ กล่าวว่า อินโดนีเซียกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเปลี่ยนจุดยืนของประเทศในความขัดแย้งนี้ ซึ่งขัดกับมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติบางมติว่าด้วยแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์

ในเวลาเดียวกัน ผู้สันทัดกรณีเเนะนำว่ารัฐบาลกรุงจาการ์ตาควรใช้โอกาสนี้ผลักดันประเด็นที่เกี่ยวกับชาวมุสลิมและประเทศกำลังพัฒนาให้มีความเด่นชัดขึ้น

รัฐมนตรีมาร์ซูดิ กล่าวถึง 'สี่ประเด็นหลัก' ที่อินโดนีเซียต้องการให้เกิดความคืบหน้า

ประการแรกคือ เรื่องการสร้างสันติภาพและความมั่นคง สองคือ ส่งเสริมงานที่สามารถร่วมกันทำได้ระหว่างองค์กรในภูมิภาคและคณะมนตรีความมั่นคง ประการที่สาม เกี่ยวกับแผนจัดการภัยก่อการร้ายข้ามชาติ และท้ายสุด คือการสร้างเครือข่ายการเป็นหุ้นส่วนกันระดับนานาชาติ

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ บินตัง ทีมอร์ จาก Center for Strategic and International Studies หรือ CSIS เห็นว่าอินโดนีเซียควรใช้โอกาสนี้ขยายผลงานไปสู่เรื่องที่มีความสำคัญกับประเทศที่มีผลประโยชน์ทางการเมืองคล้ายกับอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา อินโดนีเซียพร้อมกับอีก 4 ประเทศคือ แอฟริกาใต้ เบลเยียม สาธารณรัฐโดมินิกัน และะเยอรมนี จะได้เป็นสมาชิกชั่วคราวคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ

อาจารย์ ฮิกมาฮานโต จูวานา จาก University of Indonesia กล่าวว่า อินโดนีเซียควรใช้บทบาทใหม่นี้ช่วยสะสางปัญหาวิกฤตการณ์ชาวโรฮิงจะในเมียนมา

เขากล่าวว่า สมาชิกสมาคมประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยพยายามช่วยแก้ไขปัญหานี้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นอินโดนีเซียควรจะลองผลักดันในเวทีที่ใหญ่กว่าอาเซียน ต่อเนื่องจากงานด้านนี้ที่สหประชาชาติทำอยู่ในปัจจุบัน

ตัวอย่างของแผนผลักดันการแก้ปัญหาชาวโรฮิงจะ คือการเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติว่า การแทรกแซงใดๆ ในเมียนมาควรทำผ่านอาเซียน และรัฐบาลจาการ์ต้าสามารถโน้มน้าวให้เกิดทางออกด้านมนุยธรรมที่เป็นไปตามบริบทของอาเซียน

นักวิเคราะห์กล่าวว่า การที่อินโดนีเซียมีที่นั่งในคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ จะช่วยให้ทางออกที่อาจเกิดขึ้นในเรื่องนี้ ไม่บั่นบอนผลประโยชน์ของอาเซียน

บินตัง ทีมอร์ จาก CSIS กล่าวว่า อีกประการหนึ่งอินโดนีเซียอาจใช้บทบาทของตนเป็นเสียงสะท้อนมุมมองของมุสลิมที่เดินทางสายกลาง และนั่นอาจช่วยเพิ่มความสำคัญของอินโดนีเซียในการคลี่คลายปัญหาในโลกอิสลาม เช่น ความขัดแย้งในเยเมนขณะนี้

ท้ายสุด เป็นเรื่องการส่งเจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซีย ร่วมกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ เพิ่มอีก 500 คนให้เป็นจำนวน 4,000 คน ภายในปีนี้

นักวิเคราะห์จาก CSIS ผู้นี้กล่าวว่า การที่อินโดนีเซียเตรียมส่งผู้หญิงจำนวนมากขึ้นให้ร่วมงานกับกองกำลังรักษาสันติภาพเป็นเรื่องที่ดี เพราะ ในดินแดนความขัดแย้งหลายแหงช่งในโลก เหยื่อจำนวนมากเป็นสตรีและเด็กหญิง

XS
SM
MD
LG