ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วัคซีนโควิด-19 กับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการแพทย์ยุคใหม่


FILE - A nurse prepares a shot as the world's biggest study of a possible COVID-19 vaccine, developed by the National Institutes of Health and Moderna Inc., gets under way in Binghamton, N.Y., July 27, 2020.
FILE - A nurse prepares a shot as the world's biggest study of a possible COVID-19 vaccine, developed by the National Institutes of Health and Moderna Inc., gets under way in Binghamton, N.Y., July 27, 2020.

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ หรือ CDC ได้แจ้งให้สำนักงานสาธารณสุขของรัฐต่าง ๆ เตรียมแผนแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ซึ่งอาจพร้อมผลิตออกมาได้ก่อนวันที่ 1 พ.ย. นี้

โดยคาดว่าวัคซีนสองชนิดที่กำลังพัฒนาโดยบริษัทเวชภัณฑ์ Moderna ของสหรัฐฯ และบริษัท BioNTech ของเยอรมนีที่ร่วมมือกับบริษัท Pfizer มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะสามารถนำออกมาใช้ได้ภายในเดือน พ.ย. นี้

วัคซีนทั้งสองชนิดนี้ใช้เทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่เข้ามาช่วยเร่งกระบวนการคิดค้นพัฒนา เพื่อให้ทันต่อความต้องการ โดยมุ่งวิจัยไปที่รหัสพันธุกรรมมากกว่าตัวเชื้อไวรัสนั้น

ที่ผ่านมา การพัฒนาวัคซีนจะใช้วิธีนำไวรัสชนิดนั้นที่ตายแล้วหรืออ่อนกำลังลงมากระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันใหม่ขึ้นมา แต่วัคซีนแบบใหม่นี้ใช้รหัสพันธุกรรมที่เรียกว่า mRNA เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างชิ้นส่วนไวรัสชนิดนั้นขึ้นมาพร้อมกับสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาด้วย ซึ่งเชื่อว่าวิธีนี้จะไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงแต่อย่างใด

ปกติแล้วการผลิตวัคซีนหลายร้อยล้านโดสนั้นต้องใช้ระบบการผลิตด้านชีวภาพแบบพิเศษซึ่งมีขนาดใหญ่พอที่จะสร้างเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัสจำนวนมากได้ แต่การใช้วิธีสรา้งรหัสพันธุกรรม mRNA นี้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบขนาดใหญ่เช่นนั้น ทำให้สามารถพัฒนาวัคซีนได้เร็วกว่าเดิม

นอกจากนี้ mRNA ซึ่งมีลักษณะเป็นห่วงโซ่ทางเคมีเรียงต่อกันนี้ยังสามารถนำไปปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างวัคซีนสำหรับเชื้อโรคชนิดอื่น ๆ ได้อีกด้วย

โดยการพัฒนาวัคซีนโดยมุ่งเน้นที่รหัสพันธุกรรมของมนุษย์ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ถือเป็นครั้งแรกของโลก แม้ว่าก่อนหน้านี้เคยมีวัคซีนลักษณะนี้ที่นำมาใช้กับโรคในสัตว์หลายชนิดแล้ว เช่น เชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ที่เกิดกับม้า เชื้อเมลาโนมาที่เกิดกับสุนัข และโรคบางชนิดที่พบในปลาแซลมอน เป็นต้น

ขณะนี้ ทั้งวัคซีนของบริษัท Moderna และของบริษัท Pfizer/BioNTech สามารถเข้าสู่ขั้นสุดท้ายของการทดลองได้แล้ว โดยใช้กลุ่มตัวอย่างมนุษย์ 30,000 คน เพื่อตรวจสอบประสิทธิผลและอาการข้างเคียงจากวัคซีนดังกล่าว

คาดว่าผลการทดลองขั้นสุดท้ายนี้จะออกมาในช่วงปลายปีนี้ แต่องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA กล่าวว่าอาจจะอนุญาตให้สามารถใช้วัคซีนได้โดยไม่ต้องผ่านการทดลองขั้นสุดท้าย หากว่าผลการทดลองในขั้นแรก ๆ นั้นออกมาน่าพอใจ

อย่างไรก็ตาม การที่ CDC แจ้งให้รัฐต่าง ๆ เตรียมแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ในวันที่ 1 พ.ย. สองวันก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นั้น ทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเกิดความกังวลว่าประธานาธิบดีทรัมป์อาจจะกดดันให้ FDA อนุมัติวัคซีนออกมาเร็วเกินไปเพื่อผลในการเลือกตั้ง

แต่ทาง ผอ. FDA นายสตีเฟน ฮาห์น ปฏิเสธความกังวลนี้ โดยบอกว่าการตัดสินใจในเรื่องนี้จะขึ้นอยู่กับผลการทดลอง รวมทั้งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์เป็นหลัก โดยไม่เกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองแต่อย่างใด

ถึงกระนั้น ผู้เชี่ยวชาญยังเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ยากที่จะมีวัคซีนโควิด-19 ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อพิจารณาจากเวลาที่ต้องใช้ในการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก รวมทั้งยังต้องมีขั้นตอนอีกหลายอย่างสำหรับรัฐต่าง ๆ ในการเตรียมตัวสำหรับโครงการแจกจ่ายวัคซีน รวมทั้งการขาดแคลนงบประมาณที่เพียงพอสำหรับการแจกจ่ายวัคซีนด้วย

ขณะเดียวกัน ผลการสำรวจความคิดเห็นคนอเมริกันครั้งล่าสุดที่จัดทำโดย AP-NOR Center for Public Affairs Research พบว่า มีคนอเมริกันราวครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ยืนยันว่าจะรับวัคซีนโควิด-19 เมื่อสามารถพัฒนาได้แล้ว

XS
SM
MD
LG