ลิ้งค์เชื่อมต่อ

โคลอมเบียเผยแผนส่ง 'ฮิปโป' ไปอินเดีย-เม็กซิโก หวังควบคุมขยายพันธุ์


โคลอมเบียเสนอโครงการส่งฮิปโปโปเตมัสอย่างน้อย 70 ตัวไปยังอินเดียและเม็กซิโก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนควบคุมจำนวนประชากรฮิปโปฯ ในประเทศแถบอเมริกาใต้ประเทศนี้

พาโบล เอสโคบาร์ อดีตผู้นำขบวนการค้ายาแสพติดผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในอดีต นำเข้าฮิปโปโปเตมัสเข้าประเทศโคลอมเบียมาอย่างผิดกฎหมายเมื่อหลายสิบปีก่อน ก่อนที่พวกมันจะขยายพันธุ์จนมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก และขยายแหล่งที่อยู่อาศัยออกไปไกลจากแหล่งน้ำบริเวณที่ดินที่เคยเป็นของเอสโคบาร์

หลังจากที่เอสโคบาร์ถูกตำรวจยิงเสียชีวิตเมื่อ 30 ปีที่แล้ว บ้านพักและที่ดินขนาดใหญ่ของเขาได้กลายมาเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวของโคลอมเบีย เช่นเดียวกับบรรดาฮิปโปฯ ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก

เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมโคลอมเบียประเมินว่า ปัจจุบันมีฮิปโปฯ ราว 130 ตัวอาศัยอยู่ในแม่น้ำแมกดาเลนา ในจังหวัดแอนตีโอกียา โดยคาดว่าจำนวนประชากรสัตว์ใหญ่ที่อาจมีน้ำหนักถึง 3 ตันเมื่อโตเต็มวัยนี้ อาจเพิ่มขึ้นเป็น 400 ตัวภายในเวลา 8 ปีข้างหน้า

Hippos stay submerged in the lake at Napoles Park in Puerto Triunfo, Colombia, Wednesday, Feb. 12, 2020. The rapid growth of hippo numbers, who were brought to the country by infamous drug lord Pablo Escobar for his personal collection, has authorities worried that residents could be attacked, the 3-ton animals can be aggressive and kill more people per year in Africa than any other wildlife species.
Hippos stay submerged in the lake at Napoles Park in Puerto Triunfo, Colombia, Wednesday, Feb. 12, 2020. The rapid growth of hippo numbers, who were brought to the country by infamous drug lord Pablo Escobar for his personal collection, has authorities worried that residents could be attacked, the 3-ton animals can be aggressive and kill more people per year in Africa than any other wildlife species.

นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เนื่องจากฮิปโปฯ ไม่มีผู้ล่าตามธรรมชาติในโคลอมเบีย จึงทำให้พวกมันขยายพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ของเสียที่ฮิปโปขับถ่ายออกมาก็อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของแม่น้ำในบริเวณนั้นได้ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสัตว์ในท้องถิ่น รวมถึง แมนะที และคาพีบารา เป็นต้น

เมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลโคลอมเบียประกาศให้ฮิปโปฯ เป็นสายพันธุ์สัตว์รุกรานที่เป็นอันตราย และมีโครงการส่งฮิปโปฯ ราว 70 ตัวไปให้แก่สวนสัตว์ในอินเดียและเม็กซิโก จากการเปิดเผยของผู้อำนวยการศูนย์ปกป้องพันธ์ุสัตว์ป่าของจังหวัดแอนตีโอกียา โดยใช้การขนส่งทางอากาศซึ่งทางศูนย์จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

นอกจากนี้ เอกัวดอร์ ฟิลิปปินส์และบอตสวานา ก็แสดงความสนใจที่จะนำฮิปโปโปเตมัสจากโคลอมเบียไปเลี้ยงเช่นเดียวกัน

  • ที่มา: เอพี
XS
SM
MD
LG