ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การศึกษาชี้ การทำลายผืนป่าภูเขาเขตร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พุ่งสูงขึ้น


FILE - Burnt land is pictured after fires near Banjarmasin in South Kalimantan province, Indonesia, Sept. 29, 2019.
FILE - Burnt land is pictured after fires near Banjarmasin in South Kalimantan province, Indonesia, Sept. 29, 2019.
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:06:30 0:00


การศึกษาชิ้นใหม่ ระบุว่า ผืนป่าเขตร้อนตามแนวภูเขาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงอย่างมากในอัตราเร่ง สร้างความกังวลถึงปัญหาด้านระบบนิเวศน์ในพื้นที่

การศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Sustainability พบว่าหลายพื้นที่ของโลกมีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำการเกษตรเชิงพาณิชย์มากขึ้น และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบการลักลอบตัดไม้โดยผิดกฎหมาย ที่เป็นปัจจัยหลักในการสูญเสียพื้นที่ป่าในพื้นที่

ทีมวิจัยได้ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อติดตามการสูญเสียพื้นที่ป่า และวัดระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอน เพื่อคำนวณการลดลงของระดับการกักเก็บก๊าซคาร์บอนจากต้นไม้ในพื้นที่ และพบว่า พื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สูญเสียผืนป่าไปกว่า 61 ล้านเฮกตาร์ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จากที่ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 2000 การสูญเสียผืนป่าอยู่ที่เฉลี่ย 2 ล้านเฮกตาร์ต่อปี และเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวที่ 4 ล้านเฮกตาร์ต่อปี ช่วงปี 2010-2019

การวิจัยนี้ พบว่า 1 ใน 3 ของผืนป่าที่หายไป เป็นพื้นที่ป่าตามภูเขา ทั้งทางตอนเหนือของ สปป.ลาว ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมา และที่เกาะสุมาตราและกาลิมันตันในอินโดนีเซีย จากเดิมที่ทีมวิจัยเชื่อว่า ผืนป่าตามภูเขาจะไม่ได้รับผลกระทบจากมนุษย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่ป่าบริเวณอื่นๆ แต่การศึกษานี้พบว่า พื้นป่าตามแนวเขาถูกโค่นลงคิดเป็นสัดส่วน 40% ของพื้นที่ป่าทั้งหมดที่เสียไปในปี 2019 เมื่อเทียบกับ 24% ในปี 2001

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ป่าเขตร้อนคิดเป็นสัดส่วน 15% ของโลก และมีบทบาทสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวิตของสัตว์และพืชพันธุ์ต่างๆ และทีมวิจัยพบว่า พื้นป่าตามภูเขาหรือหุบเขามีแนวโน้มจะสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนได้มากกว่าป่าแนวราบ

XS
SM
MD
LG