ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ธุรกิจ: สหรัฐฯ ตรวจสอบกรณีถุงลมนิรภัยขัดข้องในรถยนต์ "ฮุนได - เกีย"


ผู้นำจีน - เยอรมนี หารือเรื่องเหล็กล้นตลาด ระหว่างการประชุม G-20 / การลงทุนด้านเทคโนโลยีในอาฟริกาขยายตัวรวดเร็ว

please wait

No media source currently available

0:00 0:05:12 0:00

ผู้นำจีน - เยอรมนี หารือเรื่องเหล็กล้นตลาด ระหว่างการประชุม G-20

นายกฯ เยอรมนี อังเกลา เมอร์เคิล และ ประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง หารือเรื่องสินค้าเหล็กกล้าล้นตลาดโลก ระหว่างการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 20 ประเทศ (G-20) ที่กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันเสาร์

ผู้นำทั้งสองต่างเน้นย้ำความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างสองประเทศ ซึ่งต่างกำลังเผชิญกับมาตรการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าประเภทเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยทั้งประธานาธิบดีสี และนายกฯ เมอร์เคิล เห็นพ้องกันว่าควรมีการเพิ่มความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์ระหว่างจีนกับเยอรมนี เพื่อหาทางต่อสู้กับภาษีนำเข้าดังกล่าว รวมทั้งรับมือกับปัญหาเหล็กกล้าล้นตลาดด้วย

ทั้งผู้นำจีนและเยอรมนีต่างเชื้อเชิญอีกฝ่ายให้เดินทางเยือนประเทศตน ซึ่งคาดว่ากำหนดการเยือนจะมีขึ้นในช่วงไม่เดือนข้างหน้า

ทางการสหรัฐฯ ตรวจสอบกรณีถุงลมนิรภัยขัดข้องในรถ "ฮุนได - เกีย"

สำนักงานความปลอดภัยด้านการจราจรบนทางหลวงของสหรัฐฯ หรือ NHTSA เปิดเผยว่า กำลังตรวจสอบกรณีอุบัติเหตุหลายครั้งที่เกิดกับรถยนต์ยี่ห้อ Hyundai และ Kia ของเกาหลีใต้ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย ว่าเกี่ยวข้องกับปัญหาถุงลมนิรภัยขัดข้องหรือไม่

NHTSA ระบุในเว็บไซต์ว่า การตรวจสอบครั้งนี้จะครอบคลุมถึงรถยนต์ Hyundai Sonata รุ่นปี 2011 และรถยนต์ Kia Forte รุ่นปี 2012 – 2013 โดยคาดว่า อาจมีปัญหาเกี่ยวกับสายไฟที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการปล่อยถุงลมนิรภัยขณะเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งผลิตโดยบริษัท ZF-TRW และเชื่อว่ามีรถยนต์ราว 425,000 คันที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว Hyundai เรียกคืนรถยนต์ Hyundai Sonata เกือบ 155,000 คัน เนื่องจากปัญหาที่ถุงลม ขณะที่ Kia ซึ่งอยู่ในเครือเดียวกัน ยังไม่เรียกคืน แม้ว่าจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมถุงลมแบบเดียวกันก็ตาม

การลงทุนด้านเทคโนโลยีในอาฟริกาขยายตัวรวดเร็ว

วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม คือวันสุดท้ายของงานประชุมด้านเทคโนโลยีที่ชื่อว่า South by Southwest ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองออสติน รัฐเท็กซัส

งานดังกล่าวเป็นงานที่นำผู้ประกอบการซึ่งมีแนวคิดใหม่ๆ มาพบเจอกับนักลงทุน ซึ่งผู้ร่วมงานนั้นมาจากทั่วโลก รวมทั้งจากอาฟริกา

คุณ Omobola Johnson จากบริษัท TLcom Capital กล่าวว่า เมื่อปีที่แล้วมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีในอาฟริกาเป็นมูลค่าราว 600,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเติบโตขึ้นในระดับ 50% หลายปีติดต่อกัน

คุณ Johnson ชี้ว่า ในอาฟริกานั้น พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ยังใช้วิธีค้าขายแบบดั้งเดิม คือตั้งแผงลอยตามถนนหนทางต่างๆ ซึ่งการนำเทคโนโลยีมือถือมาใช้นั้น จะช่วยให้การซื้อสินค้าผ่านการติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตโดยตรงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ทำได้ง่ายขึ้น นั่นคือเหตุผลที่การลงทุนด้านเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในอาฟริกา เธอกล่าวด้วยว่า อุปสรรคสำคัญสำหรับการขยายธุรกิจด้านเทคโนโลยีในอาฟริกานั้นไม่ใช่การเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต แต่เป็นเงินทุน

XS
SM
MD
LG