ลิ้งค์เชื่อมต่อ

องค์การอนามัยโลกประกาศใช้ยาวัณโรคตัวใหม่กับผู้ป่วยดื้อยารุนแรง


A relative adjusts the oxygen mask of a tuberculosis patient at a TB hospital on World Tuberculosis Day in Hyderabad, India, March 24, 2018.
A relative adjusts the oxygen mask of a tuberculosis patient at a TB hospital on World Tuberculosis Day in Hyderabad, India, March 24, 2018.
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:45 0:00


วัณโรคเป็นโรคที่ทำให้มนุษย์เจ็บป่วยมานานหลายพันปีเเละยังคุกคามคนเราต่อไป วัณโรคยังคงเป็นโรคติดต่อที่เป็นอันตรายต่อชีวิตมากที่สุดในโลก โดยทำให้คนชีวิตวันละเกือบ 4,500 คน เเละทำให้มีคนติดเชื้อปีละ 10 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม มีความคืบหน้าส่วนมากเกินขึ้นในส่วนของงานวินิจฉัยโรค การป้องกันเเละการรักษาโรค โดยองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ชี้ว่า การบำบัดช่วยรักษาชีวิตคนเอาไว้ได้ 54 ล้านคนตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2000 แต่องค์การอนามัยโลกเตือนว่าความคืบหน้านี้เสี่ยงที่จะหมดไป เพราะเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานที่เรียกว่า MDR-TB

การบำบัดวัณโรคดื้อยาในปัจจุบันใช้เวลานาน 2 ปี เป็นการบำบัดด้วยการฉีดยาซึ่งสร้างความเจ็บปวดเเก่ผู้ป่วย เเละอาจมีผลข้างเคียงรุนแรงต่อร่างกาย

WHO ชี้ว่า มีความหวังว่ายาบำบัดวัณโรคแบบใหม่ชนิดรับประทานที่กำลังนำออกมาใช้นี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการควบคุมการเเพร่ระบาดของเชื้อวัณโรคดื้อยา

เทเรซา คาสาเอวา (Tereza Kasaeva) ผู้อำนวยการโครงการวัณโรคสากลขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ยาวัณโรคชนิดรับประทานตัวใหม่ที่ WHO เเนะนำนี้ มีผลข้างเคียงต่อร่างกายผู้ป่วยน้อยมาก

คาสาเอวากล่าวว่า เเน่นอนว่าการบำบัดด้วยยากินตัวใหม่จะง่ายกว่าเดิมมาก เเละไม่จำเป็นต้องเข้าพบเเพทย์หรือเจ้าหน้าที่พยาบาลเป็นประจำอีกต่อไปเพื่อรับการฉีดยาบำบัดวัณโรค เเละจากข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ทางโครงการเชื่อว่าการบำบัดด้วยยากินแบบใหม่นี้จะได้ผลมากขึ้นอย่างมาก

รัฐบาลของแอฟริกาใต้ได้ประกาศแผนงานที่จะเริ่มใช้การบำบัดวัณโรคด้วยยากินเเบบใหม่นี้เเล้ว แต่ค่าใช้จ่ายของการบำบัดวัณโรคแบบใหม่นี้อยู่ที่ราว 2,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อคน ซึ่งประเทศรายได้น้อยไม่มีกำลังซื้อ

เธอกล่าวว่า แอฟริกาใต้กำลังเจรจากับบริษัทยาหลายแห่งเพื่อลดราคาลงมาที่ 400 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อคน

WHO ชี้ว่า แอฟริกาใต้เป็นหนึ่งใน 20 ชาติที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการระบาดของวัณโรคดื้อยา และชาติอื่นๆ ที่มีปัญหานี้ คือ รัสเซีย จีน อินเดีย ไนจีเรีย ปากีสถานเเละเวียดนาม

(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG