ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เวียดนามเริ่มขาดแคลนแรงงาน หลังต่างชาติแห่ไปลงทุน


FILE - Maintenance workers tend to some bushes in Hanoi, where most people who want a job can find one.
FILE - Maintenance workers tend to some bushes in Hanoi, where most people who want a job can find one.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:56 0:00

บริษัทขายปลีกจากต่างประเทศต่างเข้าไปเปิดกิจการเพื่อเเย่งส่วนเเบ่งในตลาดผู้บริโภคของเวียดนาม มีโรงงานเเละบริษัทจำนวนหนึ่งที่ย้ายฐานจากจีนเข้าไปยังเวียดนาม ตลอดจนผู้ว่าจ้างงานต้องการพนักงานที่มีฝีมือทางเทคนิคเพิ่มมากขึ้น

บริษัท Navigos Group ที่ให้บริการด้านการว่าจ้างพนักงานที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ที่ชื่อว่า VietnamWorks ชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งสามด้านนี้ทำให้เกิดความต้องการเเรงงานที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นอย่างทันทีทันใด ในขณะที่แรงงานเหล่านี้มีอยู่ในจำนวนจำกัดเท่านั้น

บริษัท Navigos Group เปิดเผยในรายงานรอบไตรมาสเเรกของปีนี้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า บริษัทต่างๆ ที่ย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังเวียดนามเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสนับสนุนเเละโรงงานผลิตเครื่องเรือนไม้

รายงานของชี้ว่า มีหลายบริษัทที่เข้ามาเปิดโรงงานเเห่งใหม่ๆ ในเวียดนาม ซึ่งทำให้ต้องการพนักงานเพิ่มขึ้นเท่าตัวหรือสามเท่าตัวในปีนี้ โดยเฉพาะทางด้านการผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ชั้นดีเยี่ยม

รายงานของธนาคารเพื่อการลงทุน Natixis เมื่อเดือนธันวาคมชี้ว่าเวียดนามจัดอยู่ในอันดับที่ 1 ในบรรดาประเทศเอเชีย 6 ชาติที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าจะย้ายฐานจากจีนเข้าไปดำเนินการ รายงานนี้วิเคราะห์ปัจจัย 4 อย่าง คือ แนวโน้มทางด้านลักษณะประชากร ค้าลงทุน ระบบโครงสร้างพื้นฐานเเละส่วนแบ่งของการผลิตของต่างประเทศ

เมื่อมีการลงทุนหลั่งไหลเข้าไปในเวียดนาม ความสมดุลด้านอุปสงค์เเละอุปทานต่อเเรงงานได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เพราะมีอุปสงค์ต่อเเรงงานใหม่เพิ่มขึ้น เเต่เวียดนามยังมีอุปทานด้านเเรงงานที่ต่ำมานานหลายปีเเล้ว ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน

เวียดนามมีประชากร 100 ล้านคน เเละมีอัตราการว่างงานต่ำที่ราวร้อยละ 2 ดังนั้นคนส่วนมากที่ต้องการงานมีงานทำอยู่เเล้ว รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเวียดนามยังรับประกันความมั่นคงหลายอย่างเเก่แรงงานอีกด้วย รวมทั้งวันหยุดงานที่ได้รับค่าจ้างจนถึงระเบียบควบคุมเรื่องการไล่ออก

นอกจากนี้ เเรงงานโดยเฉพาะหนุ่มสาว มักเลือกที่จะเปลี่ยนงานหลังจากทำงานในตำเเหน่งนั้นนานอย่างน้อย 3 ปี ซึ่งแปลความได้สองนัยยะด้วยกัน นัยยะเเรก นี่อาจเป็นสัญญาณที่ดีว่าเเรงงานไม่รู้สึกว่าต้องยึดติดกับงานเดิมไปตลอดชีวิต เพื่อรักษาประกันสุขภาพหรือสวัสดิการอื่นๆ เเละมีอิสรภาพในการเปลี่ยนงานมากขึ้น

เเละอีกนัยยะหนึ่ง ผู้จ้างงานไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายไปกับการฝึกฝนแรงงานใหม่ๆ ทุกสองสามปี เเละการมีบริษัทเข้าไปลงทุนในประเทศมากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ขาดเเคลนเเรงงานเพิ่มขึ้น

Gaku Echizenya ซีอีโอของบริษัท Navigos Group กล่าวว่า การว่าจ้างเเรงงานในเวียดนามมีสีสันเเละเเข่งขันกันสูงขึ้น เนื่องจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมด้านไอที ที่ระดับความสามารถของเเรงงานไม่ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์เเละอินเตอร์ของทุกสรรพสิ่ง

Echizenya กล่าวว่า ความต้องการว่าจ้างทรัพยากรบุคคลด้าน IT กำลังเพิ่มสูงขึ้นในยุคดิจิตัล ซึ่งนำไปสู่ความท้าทายหลายอย่างในการดึงดูดเเรงงานที่มีความสามารถเเละคงให้อยู่กับบริษัทต่อไป และทางแก้อย่างหนึ่งเเก่ช่องว่างทางความสามารถของเเรงงาน คือการฝึกพนักงานที่มีอยู่เเล้วให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นทางไอที

Alice Pham ผู้อำนวยการ CUTS International แห่งเวียดนาม กล่าวว่า บริษัทต่างๆ ยังเปิดกว้างมากขึ้นด้วยการว่าจ้างพนักงงานที่มีผ่านการฝึกฝนความสามารถผ่านทางชั้นเรียนทางออนไลน์

เธอชี้ว่า หากผู้ว่าจ้างหรือบริษัท recruiters ไม่ยอมรับประกาศนียบัตรที่ได้จากการเรียนทางออนไลน์ หรือ การฝึกอบรมความสามารถทางออนไลน์ เพราะมองว่าด้อยกว่าคนที่เรียนจบจากสถาบันการศึกษา เเรงจูงใจของผู้เรียนก็จะได้รับผลกระทบทางลบเเละการเรียนทางออนไลน์ก็จะไม่ได้รับความนิยมในที่สุด

บริษัทในเวียดนามมักเลือกจ้างเเรงงานที่จบจากสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยมากกว่าคนที่มีประสบการณ์การทำงานหลายปี เเต่เมื่อประเทศกำลังขาดเเคลน กาลเวลาเปลี่ยนไป การเลือกจ้างเเรงงานตามคุณสมบัติเดิมอาจต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG