ลิ้งค์เชื่อมต่อ

กรุงเวียนนาขึ้นแท่น “ผังเมืองเป็นมิตรต่อทุกเพศ”


AUSTRIA GENDER ARCHITECTURE
AUSTRIA GENDER ARCHITECTURE

หลายคนอาจจดจำกรุงเวียนนา ในฐานะเมืองของดนตรีคลาสสิกระดับโลก แต่เมืองหลวงออสเตรียแห่งนี้ ยังได้รับการพูดถึงในฐานะเมืองที่ใส่ใจทุกเพศสภาพ ลงลึกถึงระดับการวางผังเมืองกันเลยทีเดียว

กรุงเวียนนาได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร The Economist ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก และยังเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดการออกแบบเมืองที่คำนึงถึงทุกเพศ

AUSTRIA GENDER ARCHITECTURE
AUSTRIA GENDER ARCHITECTURE

เมืองหลวงของประเทศออสเตรีย นอกจากจะมีชื่อเสียงเรื่องดนตรีคลาสสิกและประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนานแต่กรุงเวียนนาก็ยังเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าที่สุด เมื่อพูดถึงการวางผังเมืองที่คำนึงถึงทุกเพศ

เมืองแห่งนี้มีประชากรราวสองล้านคน และไม่ต่างจากเมืองอื่น ๆ ที่พิจารณาด้านประวัติศาสตร์ จะพบว่าส่วนใหญ่มักถูกออกแบบโดยเพศชาย

AUSTRIA GENDER ARCHITECTURE
AUSTRIA GENDER ARCHITECTURE

ซาบีนา ริส อาจารย์ด้านการออกแบบผังเมืองที่คำนึงถึงเพศสภาพ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเวียนนา (TU Wien) ให้สัมภาษณ์ว่า “เรายังคงอยู่ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นผลผลิตจากการออกแบบผังเมืองจากอิทธิพลของผู้ชายที่มีมาจากศตวรรษที่ 20”

ปัญหาที่สำคัญคือ เพศที่ต่างกันมีการใช้พื้นที่สาธารณะที่แตกต่างกันไป นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1990 สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง

ริส อธิบายว่า “นี่เป็นครั้งแรกที่กิจกรรมประจำวัน การเดินทาง และความต้องการในการดำรงชีวิตของผู้หญิงถูกเปิดเผยและหารือกันในวงกว้าง นับเป็นก้าวแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก”

นับตั้งแต่ปี 1991 สำนักงานของอีวา เคล นักวางผังเมืองในกรุงเวียนนา ได้เปิดตัวมากกว่า 60 โครงการทั่วทั้งเมือง ที่ให้ความสำคัญต่อความต้องการของผู้หญิงอย่างเต็มที่ และสิ่งนี้นำไปสู่การสร้างที่อยู่อาศัยสาธารณะแห่งแรกในยุโรปในปี 1995 ที่ออกแบบโดยผู้หญิงเพื่อผู้หญิง

AUSTRIA GENDER ARCHITECTURE
AUSTRIA GENDER ARCHITECTURE

เคล เล่าถึงที่มาว่า “มีการแข่งขันการออกแบบจำนวนมากที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น การเชิญบริษัทสถาปนิกราว 5-6 แห่ง เพื่อทำการนำเสนองานออกแบบที่น่าสนใจ ปรากฏว่าไม่มีผู้หญิงสักคนที่ถูกเชิญไปร่วม เราเลยเปลี่ยนวิธีใหม่และเชิญเฉพาะผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้หญิงเท่านั้น”

ฟรานซิสกา อุลมันน์ สถาปนิก กล่าวว่า “ชื่อของ Frauen-Werk-Stadt (Women-Work-City) มีความหมายสองนัยยะ คือผู้หญิงที่สร้างเมืองนี้ และผู้หญิงที่สร้างห้องทำงานของตัวเอง ดังนั้นจึงหมายความว่าเป็นงานที่ยังคงเดินหน้าและพัฒนาอยู่”

รายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการนี้ ถูกดีไซน์ออกมาเพื่อผู้หญิง อย่างเช่น ทางเข้ากว้างกว่าอาคารทั่วไปเพื่อให้มีแสงสว่างที่มากพอและเพิ่มความปลอดภัย

AUSTRIA GENDER ARCHITECTURE
AUSTRIA GENDER ARCHITECTURE

อุลมันน์ กล่าวว่า “อาคารนี้ทางเข้าหันไปทางทิศใต้ เป็นถนนที่มีเสียงดัง ดังนั้นฉันจึงตัดสินใจว่าเราจะต้องทำสิ่งปลูกสร้างขึ้นมาล้อมผู้ที่อาศัยอยู่ด้านใน แต่ยังเปิดช่องให้สามารถมองเห็นว่าเกิดอะไรขึ้นด้านนอกได้”

นอกจากนี้ การออกแบบที่เป็นมิตรต่อทุกเพศ ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างออกไป เช่น การสร้างห้องซักรีดบนชั้นดาดฟ้าเพื่อลดความมืด รวมถึงทางเดินที่กว้างขึ้นสำหรับผู้ปกครองที่มีเด็ก เป็นต้น

โดยพื้นที่ลักษณะขยายกว้างขึ้นมีให้เห็นตลอดบริเวณทางเท้าในกรุงเวียนนา ซึ่งแนวคิดนี้กำลังกระจายไปยังเมืองอื่น ๆ ทั้งเมืองบาร์เซโลนา ของสเปน และกรุงเบอร์ลิน ของเยอรมนี ที่กำลังดำเนินการเพื่อปรับปรุงและออกแบบพื้นที่สาธารณะใหม่

AUSTRIA GENDER ARCHITECTURE
AUSTRIA GENDER ARCHITECTURE
  • ที่มา: วีโอเอ
XS
SM
MD
LG