ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์: เกาหลีใต้หวั่นสหรัฐฯ อาจไม่เห็นค่าความเป็นมิตร หลังทรัมป์ “หักหลัง” ชาวเคิร์ด


Turkey's President Tayyip Erdogan shakes hands with U.S. President Donald Trump during their bilateral meeting on the sidelines of the G20 leaders summit in Osaka, Japan, June 29, 2019.
Turkey's President Tayyip Erdogan shakes hands with U.S. President Donald Trump during their bilateral meeting on the sidelines of the G20 leaders summit in Osaka, Japan, June 29, 2019.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:09 0:00

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถูกวิจารณ์ว่าละทิ้งชาวเคิร์ดที่เคยร่วมปราบกลุ่มรัฐอิสลาม และชนเผ่าติดอาวุธกลุ่มนี้กำลังถูกโจมตีโดยตุรกี หลังผู้นำสหรัฐฯ ประกาศถอนทหารอเมริกันออกจากพื้นที่ทางตอนเหนือของซีเรีย

เสียงวิจารณ์นี้ ถูกสะท้อนไกลถึงคาบสมุทรเกาหลี เพราะนักวิเคราะห์ และผู้สันทัดกรณีมองว่า การตัดสินใจของประธานาธิบดีทรัมป์เรื่องการถอนทหารออกจากซีเรีย เป็นกรณีศึกษาสำหรับนโนบายต่างประเทศอเมริกันต่อคาบสมุทรเกาหลีด้วย

เจฟเฟรี่ย์ โรบินสัน (Jeffrey Robinson) อาจารย์วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัย Yonsei ในเกาหลีใต้ กล่าวว่า สัญญาณของทรัมป์เรื่องการถอนทหารในซีเรีย มีนัยต่อเกาหลี กล่าวคือ หากเป็นเรื่องการแบ่งรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทางทหาร ดูเหมือนว่าสายใยความสัมพันธ์ในอดีตจะไม่มีความหมายสำหรับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

หนังสือพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ Chosun Ilbo เขียนในบทบรรณาธิการว่า “การหักหลัง” ชาวเคิร์ด ของประธานาธิบดีทรัมป์ เป็นที่บ่งบอกอะไรบางอย่างต่อเกาหลีใต้

บทบรรณาธิการเขียนว่า “ชาวเคิร์ดใช้กำลัง 150,000 คนต่อสู่กับรัฐอิสลาม เพื่ออเมริกา และมีทหารเคิร์ดเสียชีวิต 10,000 คน รางวัลที่ได้จากเสียสละ คือการถูกหักหลังโดยประธานาธิบดีทรัมป์ และสาเหตุหลักก็อยู่ที่เรื่องเงิน”

สื่อฉบับนี้ระบุว่า เงิน คือตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ ในสายตาของทรัมป์ อย่างที่เห็นหลายครั้งแล้วว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขู่ที่จะถอนทหารออกจากเกาหลีใต้

Chosun Ilbo หนังสือพิมพพ์สายอนุรักษ์นิยม บอกด้วยว่า พฤติกรรมของทรัมป์ทำให้ ผู้นำเกาหลีเหนือ นายคิม จอง อึน ฮึกเหิม และเกาหลีใต้อาจเผชิญกับภัยร้ายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

นักการเมืองอเมริกันบางรายมีความเห็นคล้ายคลึงกันกับบทความของ Chosun Ilbo
ส.ว. ลินซีย์ เเกรห์ม แห่งพรรครีพับลิกัน ทวีตว่า การละทิ้งชาวเคิร์ดส่งสัญญาณที่น่ากลัวที่สุดว่าสหรัฐฯ เป็นพันธมิตรที่หวังพึ่งไม่ได้

“คงเป็นเรื่องที่เวลาจะเเสดงให้เห็นว่า จีน รัสเซีย อิหร่าน และเกาหลีเหนือ จะแสดงท่าทีอันตรายต่อไปจากนี้” ส.ว. แกรห์มกล่าว

อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มคนที่พยายามชี้ว่าเกาหลีใต้ยังไม่ควรกังวลมากนักต่อท่าทีของสหรัฐฯ

ทูตสหรัฐฯประจำเกาหลีใต้ แฮร์รี แฮร์ริส (Harry Harris) กล่าวผ่านหนังสือพิมพ์ Dong-A Ilbo ว่า “ไม่ต้องกังวล” เพราะความตกลงเรื่องการป้องกันประเทศระหว่างเกาหลีใต้และอเมริกา เเข็งเเกร่งดั่งมีเหล็กหุ้มเป็นเกราะ

ในเวลาเดียวกัน ทูตแฮร์ริสกล่าวถึงเรื่องการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทางทหารว่า เกาหลีใต้เป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 12 ของโลก ดังนั้นอาจมองได้ว่ารัฐบาลโซลควรรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่ม

อีกด้านหนึ่ง อาจารย์ ปาร์ก วอนกอน จาก Handong Global University ในเกาหลีใต้ กล่าวว่า เกาหลีใต้เป็นประเทศ แต่เคิร์ดเป็นกลุ่มชนเผ่า ดังนั้นความสัมพันธ์ของสหรัฐฯกับรัฐบาลโซล ไม่น่าจะสามารถนำไปเปรียบเทียบกับชาวเคิร์ดได้

นักวิชาการผู้นี้กล่าวว่า การที่สหรัฐฯ มีกองกำลังอยู่ในเกาหลีใต้นั้น เป็นมากกว่าการป้องปรามเกาหลีเหนือ เพราะยังเป็นคานอำนาจจีนด้วย และสหรัฐฯ เคยมีทหารเพียง 1,000 คนในดินแดนชาวเคิร์ดในซีเรีย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่มีกองกำลังในเกาหลีใต้หลายหมื่นคนเป็นเวลาหลายทศวรรษ

ดังนั้นจึงไม่น่ามีเหตุผลให้อเมริกาถอนทหารออกจากเกาหลีใต้อย่างง่าย ๆ

XS
SM
MD
LG