ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เกิดอะไรขึ้นกับตลาดแรงงานสหรัฐฯ หลัง ‘ภาวะตบเท้าลาออกครั้งใหญ่’


In this May 7, 2020, photo, a man wearing a mask walks under a Now Hiring sign at a CVS Pharmacy in San Francisco. California.
In this May 7, 2020, photo, a man wearing a mask walks under a Now Hiring sign at a CVS Pharmacy in San Francisco. California.

ชาวอเมริกันหลายล้านคนตัดสินใจลาออกจากงานในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโควิด-19 มากถึงราว 4.5 ล้านคน ซึ่งหมายถึง อัตราการลาออกที่พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3% เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า แล้วคนกลุ่มนั้นลาออกไปทำอะไรกัน

คริส เด็คเกอร์ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งเนแบรสกา โอมาฮา (University of Nebraska Omaha) ให้ความเห็นว่า ภาวะการณ์ระบาดใหญ่ทั่วโลกของโควิดทำให้กระบวนการเกษียณของผู้ที่มีอายุมากหน่อยเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ควร

ข้อมูลจากสำนักสถิติแรงงาน (Bureau of Labor Statistics) ระบุว่า อัตราการลาออกในสหรัฐฯ ลดลงมาอยู่ที่ 2.9% จากการที่มีผู้ที่อยู่ในตลาดแรงงานลาออกราว 4.4 ล้านคนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ของปีนี้ ซึ่งเป็นเดือนที่มีคนกลับเข้ามาสู่ตลาดแรงงานราว 6.7 ล้านคน

Indiana teacher Kay Orzechowicz (seen here on Sept. 2, 2020) says the COVID-19 pandemic pushed her to retire a few years earlier than she'd originally planned.
Indiana teacher Kay Orzechowicz (seen here on Sept. 2, 2020) says the COVID-19 pandemic pushed her to retire a few years earlier than she'd originally planned.

เจย์ ซากอร์สกี อาจารย์จากวิทยาลัยธุรกิจ มหาวิทยาลัยบอสตัน (Boston University) ไม่เชื่อว่า การระบาดใหญ่ของโควิดคือ เหตุผลที่ทำให้คนเกษียณมากกว่าปกติ แต่ยอมรับว่า สหรัฐฯ ประสบ ‘ภาวะการตบเท้าลาออกครั้งใหญ่’ อยู่จริงในบางมุม แต่ไม่ใช่ในทุกแง่

ความเห็นของ ซากอร์สกี มีความจริงอยู่บ้าง เพราะสถิติการลาออกของสหรัฐฯ นั้นเริ่มมีการจัดเก็บมาตั้งแต่เดือนธันวาคมของปี ค.ศ. 2000 เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า สำนักงานสถิติแรงงานไม่มีตัวเลขอ้างอิงจากก่อนหน้านั้นมาใช้เปรียบเทียบกับตัวเลขในปัจจุบันให้เห็นภาพที่ชัดเจน

ซากอร์สกี ยังระบุด้วยว่า ตัวเลขคนที่กลับเข้าสู่ตลาดแรงงานจำนวน 6.7 ล้านคนในเดือนกุมภาพันธ์ ชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์นั้นไม่ได้เลวร้ายจนถึงขั้นต้องใช้คำว่า ‘ภาวะตบเท้าลาออกครั้งใหญ่’ อีกแล้ว และน่าจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ภาวะการเปลี่ยนงานครั้งใหญ่” มากกว่า

อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริง การเปลี่ยนงานครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ ที่ว่านี้ ยังไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้างทั่วประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ลุกจ้างรัฐบาลส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ลาออกเพื่อเปลี่ยนงานเท่าใด และอัตราการลาออกที่สูงนั้นมาจากกลุ่มธุรกิจบริการต้อนรับ เช่น โรงแรม ภัตตาคาร และบาร์ รวมทั้ง ธุรกิจค้าปลีกด้วย

ทั้งนี้ ข้อมูลจากรัฐบาลสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่า ชาวอเมริกันลาออกในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างคงที่ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมาก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19

This chart, based on data from the Bureau of Labor Statistics, shows that the number of Americans who quit their jobs has grown steadily since 2010.
This chart, based on data from the Bureau of Labor Statistics, shows that the number of Americans who quit their jobs has grown steadily since 2010.

และผลการสำรวจโดย Harris/USA Today เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า 20% ของคนที่ลาออกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รู้สึกเสียใจที่ลาออก และ 25% บอกว่า ตนรู้สึกคิดถึงวัฒนธรรมการทำงานที่ตนลาออกมา

คริส เด็คเกอร์ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งเนแบรสกา โอมาฮา คาดว่า ความต้องการแรงงานจะยังอยู่ในระดับสูงต่อไปในระยะยาว ในช่วงที่ อุปทานแรงงานในอเมริกาจะต้องเผชิญกับความท้าทายที่ว่า ประชากรนั้นเริ่มมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจทำให้รัฐบาลต้องหันมาพิจารณานโยบายตรวจคนเข้าเมืองอีกครั้ง เพื่อหาทางสร้างสมดุลระหว่างการไหลเข้าของคนต่างชาติ และบรรยากาศการเมืองยังขัดแย้งกันพอสมควร เพื่อช่วยสนับสนุนตลาดแรงงานต่อไป

XS
SM
MD
LG