ลิ้งค์เชื่อมต่อ

แพทย์สหรัฐฯ สั่งยาแก้ไอ และยาแก้ไข้หวัดน้อยลง


Kilian Daugherty, 1, gets his nose swabbed for the flu by emergency department technician Jake Weatherford as his sister Madison, left, waits to be examined as well for flu symptoms at Upson Regional Medical Center in Thomaston, Georgia, Feb. 9, 2018.
Kilian Daugherty, 1, gets his nose swabbed for the flu by emergency department technician Jake Weatherford as his sister Madison, left, waits to be examined as well for flu symptoms at Upson Regional Medical Center in Thomaston, Georgia, Feb. 9, 2018.

การศึกษาครั้งใหม่ระบุว่า แพทย์อเมริกันแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาแก้ไอ หรือยาแก้ไข้หวัดน้อยลงกว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก็ชี้ว่าการรักษาด้วยการรับประทานยาเหล่านี้อาจไม่ได้ผล หรือมีผลข้างเคียงที่รุนแรง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก

คำเตือนต่างๆ ที่ระบุว่าไม่ควรให้ยาแก้ไอและยาแก้ไข้หวัดแก่เด็กเล็กกลายเป็นเรื่องที่พบเห็นมากขึ้นในสหรัฐตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่สำนักงานอาหารและยาออกคำเตือนว่าไม่ควรให้ยาแก้ไอและยาแก้ไข้หวัดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แก่เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ยาที่ขายตามเคาน์เตอร์เหล่านี้ จะถูกขายให้แก่ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลคนป่วยโดยตรงโดยที่ไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์

หลังจากนั้นไม่นานบรรดาบริษัทผู้ผลิตยาได้ออกคำเตือนว่าไม่ควรให้ยาแก้ไอและยาแก้ไข้หวัดแก่เด็กที่อายุต่ำกว่า 4 ขวบ ส่วนสถาบันกุมารแพทย์อเมริกันก็มีคำเตือนว่าไม่ควรให้ยาเหล่านี้แก่เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบ

ทั้งนี้นักวิจัยศึกษาว่าคำเตือนเหล่านี้จะมีผลต่อการสั่งยาให้แก่ผู้ป่วยของแพทย์หรือไม่ โดยการตรวจสอบประวัติการพบแพทย์ของเด็กๆ และทารกจำนวน 3,100 ล้านคนในปีพ.ศ. 2545-2558

นักวิจัยพิจารณาใบสั่งยารักษาอาการไอและไข้หวัด ทั้งที่มี และไม่มี opioids และ antihistamines เป็นส่วนประกอบ และเปรียบเทียบข้อมูลของก่อนและหลังปีพ.ศ. 2551

นักวิจัยพบว่าใบสั่งยาแก้ไอและยาแก้หวัดสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบที่ไม่มีส่วนผสมของ opioid ลดลง 70% นอกจากนี้คำแนะนำการใช้ยาแก้ไอและยาแก้หวัดที่มี opioids เป็นส่วนผสมลดลง 90% ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบอีกด้วย

นายแพทย์ Daniel Horton ผู้เขียนรายงานการศึกษานี้ ซึ่งเป็นนักวิจัยที่สถาบัน Robert Rutgers Robert Wood Johnson Medical School ในรัฐ New Jersey กล่าวว่าจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแพทย์ได้ปฏิบัติตามคำเตือนของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการสั่งยาแก้ไอและยาแก้หวัดสำหรับเด็กเล็ก โดยสั่งยาที่มีส่วนผสมของ antihistamine แทน ซึ่งผู้ปกครองหลายๆ คนอาจพอคาดเดาได้ว่าการที่แพทย์บางคนเริ่มแนะนำให้ใช้ยาที่มีส่วนผสมของ antihistamines บ่อยขึ้นนั้น เพราะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าการใช้ยาแก้ไอและยาแก้ไข้หวัดอื่นๆ แม้ว่าจะมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยว่ายาเหล่านี้สามารถรักษาอาการหวัดในเด็กๆ ได้จริง

อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ยังมีข้อจำกัด กล่าวคือการที่นักวิจัยไม่มีข้อมูลว่าผู้ปกครองปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้หรือหลีกเลี่ยงยาเฉพาะอย่างหรือไม่ หรือการที่ไม่มีข้อมูลว่าผู้ปกครองอาจให้ยาบุตรหลานโดยที่ไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หรือไม่

นายแพทย์ Horton กล่าวส่งท้ายว่าโดยทั่วไปแล้วโรคหวัดในเด็กไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยา เพราะเด็กๆ จะดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง และว่าเด็กๆ ควรไปพบแพทย์เมื่อ มีเสมหะและน้ำมูกมากเกินกว่าจะรับไหว เกิดสภาวะร่างกายขาดน้ำ มีอาการเซื่องซึม หายใจลำบาก มีไข้ติดต่อกันหลายวัน หรือมีอาการที่น่าวิตกกังวลอื่นๆ

ผลการศึกษาวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์อยู่ในวารสาร JAMA Pediatrics

XS
SM
MD
LG