ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหรัฐฯ - ยูเอ็น แสดงความกังวลต่อเหตุการณ์รัฐประหารในเมียนมา


A Myanmar migrant holds up a poster with the image of Myanmar's Chief Senior General Min Aung Hlaing, commander-in-chief of the Myanmar armed forces, as they take part in a demonstration outside the Myanmar embassy in Bangkok on February 1, 2021.
A Myanmar migrant holds up a poster with the image of Myanmar's Chief Senior General Min Aung Hlaing, commander-in-chief of the Myanmar armed forces, as they take part in a demonstration outside the Myanmar embassy in Bangkok on February 1, 2021.

สหประชาชาติและรัฐบาลหลายประเทศ รวมทั้งสหรัฐฯ แสดงความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในเมียนมา หลังจากที่กองทัพเมียนมายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่นำโดยนางออง ซาน ซู จี เมื่อวันจันทร์

เลขาธิการสหประชาชาติ แอนโตนิโอ กูเตียเรซ มีแถลงการณ์ว่า "สหประชาชาติมีความกังวลอย่างยิ่งต่อการประกาศยึดกุมอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ของกองทัพเมียนมา สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นความเสียหายร้ายแรงต่อกระบวนการปฏิรูปประชาธิปไตยในเมียนมา"

ที่กรุงวอชิงตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโธนี บลิงเคน กล่าวว่า "สหรัฐฯ ยืนเคียงข้างประชาชนชาวเมียนมา เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย เสรีภาพ สันติภาพและการพัฒนา และขอให้กองทัพเมียนมาปรับเปลี่ยนการกระทำนี้ทันที"

เมื่อวันจันทร์ ทำเนียบขาวมีแถลงการณ์ว่า "สหรัฐฯ หวั่นเกรงกับรายงานที่ว่ากองทัพเมียนมากำลังทำลายกระบวนการสร้างประชาธิปไตยในเมียนมา" และ "สหรัฐฯ ขอให้กองทัพเมียนมาและทุกฝ่ายยึดมั่นต่อหลักการทางประชาธิปไตยและหลักกฎหมาย และปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมในวันนี้"

"สหรัฐฯ ต่อต้านความพยายามใด ๆ ก็ตามในการเปลี่ยนผลการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา หรือขัดขวางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยในเมียนมา และพร้อมจะดำเนินการต่อผู้ที่รับผิดชอบในกรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการกระทำที่เกิดขึ้น" แถลงการณ์ของทำเนียบขาวระบุ

สหภาพยุโรป อังกฤษ ออสเตรเลีย อินเดีย และสิงคโปร์ ต่างแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ในเมียนมาในขณะนี้เช่นกัน

Myanmar, Naypyitaw, Myanmar's military checkpoint is seen on the way to the congress compound
Myanmar, Naypyitaw, Myanmar's military checkpoint is seen on the way to the congress compound

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนซึ่งถือเป็นคู่ค้าสำคัญที่สุดของเมียนมา ระบุว่ากำลังรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมา โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนมีแถลงการณ์ว่า "จีนหวังว่าทุกฝ่ายในเมียนมาจะสามารถจัดการความแตกต่างนี้ได้ภายใต้รัฐธรรมนูญและกรอบกฎหมาย ตลอดจนรักษาเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมไปพร้อม ๆ กัน"

ในวันจันทร์ กองทัพเมียนมาเข้าควบคุมการปกครองประเทศ และจะทำหน้าที่บริหารบ้านเมืองเป็นเวลาหนึ่งปีหลังการประกาศภาวะฉุกเฉิน

กองทัพเมียนมาอ้างว่ามีการโกงการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยภายใต้การนำของนางออง ซาน ซู จี ได้ที่นั่งในสภาเกินกึ่งหนึ่งอย่างชัดเจน

ทั้งกองทัพเมียนมาและพรรคฝ่ายค้าน Union Solidarity and Development Party (USDP) ซึ่งมีสมาชิกเป็นอดีตนายทหาร กล่าวหาว่ามีความผิดปกติในรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งราว 8.6 ล้านชื่อใน 314 หมู่บ้านซึ่งอาจนำไปสู่การกาบัตรซ้ำซ้อนหรือการทำผิดอื่น ๆ ในการเลือกตั้งคร้้งที่ผ่านมา แม้ไม่มีหลักฐานยืนยันการกล่าวหานี้

ขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้งของเมียนมาปฏิเสธข้อกล่าวหาว่าเกิดการโกงเลือกตั้งตามที่กองทัพอ้าง

XS
SM
MD
LG