ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็น ชี้ รัฐบาลทหารเมียนมาใช้อาวุธจากรัสเซีย-จีน จัดการพลเรือนของตน


FILE - Military personnel participates in a parade on Armed Forces Day in Naypyitaw, Myanmar, March 27, 2021.
FILE - Military personnel participates in a parade on Armed Forces Day in Naypyitaw, Myanmar, March 27, 2021.

ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เปิดเผยว่า รัสเซียและจีน คือผู้ที่จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ให้รัฐบาลทหารเมียนมานำไปใช้จัดการกับพลเรือนของตน

ทอม แอนดรูวส์ ผู้เสนอรายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนในเมียนมาของยูเอ็น เปิดเผยรายงานล่าสุดออกมาในวันอังคารซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับประเภทของอาวุธที่ประเทศมหาอำนาจทั้งสองขายให้กับรัฐบาลทหารเมียนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 เป็นต้นมา โดยมีทั้ง เครื่องบินรบ ยานพาหนะหุ้มเกราะ ระบบขีปนาวุธวิถีโค้งพิสัยไกล และระบบป้องกันตนเองแบบเคลื่อนที่

รายงานชิ้นนี้ระบุว่า การจำหน่ายอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นโดยทั้งรัสเซียและจีนรู้อยู่แก่ใจว่า กองทัพเมียนมาจะนำไปใช้กับพลเรือนในประเทศ

นอกจากนั้น ข้อมูลในรายงานดังกล่าวยังชี้ว่า เซอร์เบียคือผู้ที่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายจรวดและกองปืนใหญ่ไปให้กับกองทัพเมียนมา

ทั้งนี้ รัสเซีย จีน และเซอร์เบีย ยังไม่ได้ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับรายงานของยูเอ็นนี้

ขณะเดียวกัน แอนดรูวส์ ระบุในรายงานด้วยว่า หลายประเทศ อาทิ เบลารุส ยูเครน ปากีสถาน เกาหลีใต้ และอิสราเอล ทำการจัดส่งอาวุธต่างๆ ให้เมียนมาในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แม้หลังกองทัพเริ่มทำการกวาดล้างชนกลุ่มน้อยมุสลิมอุยกูร์ในรัฐยะไข่ ซึ่งส่งผลให้ชาวโรฮินจากว่า 700,000 คนต้องอบยพข้ามแดนไปบังคลาเทศแล้ว

และแม้กองทัพเมียนมาจะทำรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือน และสั่งคุมขังพร้อมดำเนินคดี นาง ออง ซาน ซู จี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอดีตรัฐบาลพลเรือนตั้งแต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่แล้ว จีนให้ความเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียง “การปรับคณะรัฐมนตรี” ขณะที่ รัสเซียเรียกสถานการณ์ในเมียนมาว่าเป็น “กิจการภายในประเทศล้วนๆ” โดยทั้งสองประเทศมหาอำนาจใช้อิทธิพลของตนในฐานะสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในการทำให้ปัญหาในเมียนมาดูเป็นเรื่องที่ไม่ร้ายแรงไปด้วย

รายงานข่าวระบุว่า จอน แอนดรูวส์ ซึ่งเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้ส่งหนังสือถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่มีเนื้อความวิจารณ์กรณีความล้มเหลวในประชุมลงคะแนนเสียงรับรองมติของที่ประชุมใหญ่ยูเอ็นเมื่อเดือนมิถุนายนที่แล้ว เพื่อขอให้ประเทศสมาชิกทั้งหลายหลีกเลี่ยงการส่งอาวุธไปยังเมียนมา

แอนดรวูส์ ยังขอให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ เรียกประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือและลงคะแนนเสียงรับรองมติการห้ามส่งอาวุธไปเมียนมาด้วย เพราะ “ยิ่งโลกทั้งโลกรอนานเท่าใด ยิ่งมีประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งรวมถึงเด็กๆ ต้องจบชีวิตในเมียนมามากขึ้นเท่านั้น”

  • ข้อมูลบางส่วนมาจาก เอพีและรอยเตอร์
XS
SM
MD
LG