ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์อังกฤษเตือน โคโรนาไวรัสกลายพันธุ์อาจระบาดทั่วโลก 


Doctor Anil Mehta and Apprentice Nursing Associate Ellie Bull prepare syringes with doses of the AstraZeneca vaccine at the Welcome Centre in Ilford, east London, Friday, Feb. 5, 2021. Mehta and his small team of doctors and nurses have been pitching up at homeless centers in his
Doctor Anil Mehta and Apprentice Nursing Associate Ellie Bull prepare syringes with doses of the AstraZeneca vaccine at the Welcome Centre in Ilford, east London, Friday, Feb. 5, 2021. Mehta and his small team of doctors and nurses have been pitching up at homeless centers in his

ชารอน พีค็อก หัวหน้ากลุ่มหน่วยงานด้านสาธารณสุขและสถาบันการศึกษาในอังกฤษ COVID-19 Genomics UK Consortium หรือ COG-UK กล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซีเมื่อวันพุธว่า เชื้อโคโรนาไวรัสกลายพันธุ์ใหม่ ที่พบในอังกฤษเมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว กำลังระบาดไปทั่วประเทศ และอาจระบาดไปทั่วโลกได้เช่นกัน

ทั้งนี้ เชื้อไวรัสกลายพันธุ์ใหม่ที่ระบาดได้ง่ายกว่าเดิมนี้ ถูกพบครั้งแรกในเขตปกครองเคนต์ ทางตอนใต้ของอังกษเมื่อเดือนกันยายน และต่อมาก็พบเชื้อไวรัสแบบใหม่นี้ในอีกกว่า 50 ประเทศ รวมถึงในสหรัฐฯ ด้วย

กลุ่มหน่วยงาน COG-UK ได้ติดตามการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมของเชื้อโคโรนาไวรัสนี้ โดยพีค็อกกล่าวว่า วัคซีนที่พัฒนาใหม่มีประสิทธิผลต่อไวรัสที่กลายพันธุ์ในปัจจุบัน แต่นักวิทยาศาสตร์ก็จะติดตามไวรัสที่กลายพันธุ์ไปอีกอย่างน้อย 10 ปีจนกว่าไวรัสจะ “กลายพันธุ์จนพ้นขีดอันตรายแล้ว”

ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษาชิ้นใหม่ระบุว่า ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดที่ใช้รักษาโรคหืดอาจช่วยให้ผู้เป็นโรคโควิด-19 ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน้อยลง

นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ทำการศึกษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการระยะแรกเริ่ม 146 คน เป็นเวลาหนึ่งเดือน โดยผู้ป่วยครึ่งหนึ่งได้รับยาสูดที่มีส่วนประกอบของยาบูเดโซไนด์ และผู้ป่วยอีกครึ่งหนึ่งรับการรักษาแบบปกติ

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่รับยาบูเดโซไนด์ส่วนใหญ่ นอกจากจะไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้ว ยังหายจากโรคเร็วขึ้น และมีอาการหลังหายจากโรคน้อยกว่าผู้ป่วยอีกกลุ่ม

ผลการศึกษาฉบับนี้ยังไม่ได้รับการตรวจทานจากผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ได้เป็นผู้วิจัยงานดังกล่าว โดยการศึกษาจัดทำขึ้นหลังนักวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีสัดส่วนที่น้อยในบรรดาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เข้ารับการษาในโรงพยาบาล ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ในระยะแรก

Virus Outbreak Britain Vaccinating the Homeless
Virus Outbreak Britain Vaccinating the Homeless


ทางด้านนาย เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO และ เฮนเรียตตา ฟอร์ ผู้อำนวยการบริหารของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์ร่วมกันเมื่อวันพุธ เรียกร้องให้มีการผลิตและแจกจ่ายวัคซีนต้านโควิด-19 เพิ่มเติม โดยเตือนว่า การแจกจ่ายวัคซีนทั่วโลกเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมกันจนน่าเป็นอันตราย

แถลงการณ์ร่วมฉบับดังกล่าวระบุว่า กว่าสามในสี่ของวัคซีน 128 ล้านโดสที่ฉีดให้ประชาชนนั้น ถูกฉีดให้ประชาชนในเพียง 10 ประเทศ ที่มีมูลค่าจีดีพีรวมกัน 60 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีทั่วโลก และมีประเทศอีกเกือบ 130 ประเทศ ที่มีประชากรรวมกัน 2,500 ล้านคน ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนแม้แต่โดสเดียว

ผู้นำองค์กรทั้งสองระบุว่า หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป ชีวิตจำนวนมากจะตกอยู่ในอันตราย ทำให้ไวรัสกลายพันธุ์และดื้อกับวัคซีนได้ และทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจทั่วโลกช้าลงไป

แถลงการณ์ยังเตือนให้ประเทศต่างๆ แก้ปัญหาแบบ “ข้ามพรมแดน” และใช้ยุทธศาสตร์การฉีดวัคซีนที่จะสกัดได้ทั้งการระบาดของโรคและจำกัดการกลายพันธุ์ใหม่ของไวรัสให้น้อยลง

แถลงการณ์แนะนำให้ฉีดวัคซีนแก่บุคลากรด้านสาธารณสุขที่ทำงานด่านหน้าและประชาชนที่อยู่ในภาวะเปราะบางก่อน และขอให้ผู้ผลิตวัคซีนแจกจ่ายวัคซีนที่มีจำกัดอย่างเป็นธรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนให้ผู้ผลิตเจ้าอื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มกำลังการผลิตวัคซีนทั่วโลก

เมื่อวันพุธ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษายุทธศาสตร์ด้านการสร้างภูมิคุ้มกันของ WHO ได้ออกแนวทางชั่วคราว แนะนำให้ใช้วัคซีนต้านโควิด-19 ของบริษัทแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดสำหรับประชาชนอายุมากกว่า 65 ปีได้

แม้ประเทศยุโรปหลายประเทศ รวมทั้งเยอรมนีและฝรั่งเศส จะจำกัดให้ประชาชนอายุ 18 –64 ปีที่รับวัคซีนดังกล่าวได้เท่านั้น เนื่องจากยังมีข้อมูลของผู้รับวัคซีนในวัยสูงอายุยังไม่เพียงพอ แต่ผู้เชี่ยวชาญของ WHO ก็ระบุว่า การทดลองและการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนในประเทศที่รับวัคซีนนี้ เผยให้เห็นว่า วัคซีนชนิดนี้ปลอดภัยและมีประสิทธิผลต่อผู้สูงอายุ โดยผู้รับวัคซีนควรรับวัคซีนแต่ละโดสห่างกัน 8-12 สัปดาห์


XS
SM
MD
LG