ลิ้งค์เชื่อมต่อ

WHO ชี้โควิด -19 ส่งผลเสียต่อความพยายามในการควบคุมมะเร็ง


A patient receives chemotherapy treatment for breast cancer at the Antoine-Lacassagne Cancer Center in Nice July 26, 2012. Picture taken July 26, 2012.
A patient receives chemotherapy treatment for breast cancer at the Antoine-Lacassagne Cancer Center in Nice July 26, 2012. Picture taken July 26, 2012.
Cancer Death Pandemic
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:30 0:00


รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) เนื่องในวันมะเร็งโลก ระบุว่าโควิด -19 ส่งผลเสียต่อความพยายามในการควบคุมโรคมะเร็งในช่วงเวลาที่มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงนี้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ สถิติใหม่ได้แสดงจำนวนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งทั่วโลกเมื่อปีที่แล้วถึง 19.3 ล้านคน โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านคน

องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสอง โดย 70 เปอร์เซ็นต์ของการเสียชีวิตเกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง

WHO รายงานว่า มะเร็งเต้านมได้เข้ามาแทนที่มะเร็งปอดในเรื่องของการเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในโลก และคาดว่าจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึง 30 ล้านรายภายในปีค.ศ. 2040

Andre Ilbawi จากแผนกโรคไม่ติดต่อของ WHO กล่าวว่า การระบาดของโควิด -19 ต่อความพยายามในการควบคุมโรคมะเร็งนั้นจะส่งผลต่อเนื่องในระยะยาว

นอกจากนี้ การสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของการให้บริการด้านโรคมะเร็งของรัฐบาลประเทศต่างๆ มีบางส่วนหรือทั้งหมดที่หยุดชะงักไปเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคของโควิด – 19

Ilbawi กล่าวต่อไปว่า WHO ยังได้รวบรวมข้อมูลจากชุมชนวิทยาศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจถึงความรุนแรงและผลกระทบต่อผู้โรคป่วยมะเร็ง ทั้งนี้ความล่าช้าในการวินิจฉัยโรคนั้นเป็นเรื่องที่ปกติอยู่แล้ว แต่การหยุดชะงักในการบำบัดหรือการละทิ้งผู้ป่วยกลับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เขาตั้งข้อสังเกตอีกว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อซึ่งรวมถึงโรคมะเร็ง ล้วนแต่มีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19

WHO รายงานว่า มะเร็งหลายชนิดสามารถรักษาให้หายได้หากได้รับการวินิจฉัยแต่เนิ่น ๆ และได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม และว่า ปัจจุบันมีความก้าวหน้าที่สำคัญในด้านนี้ ตัวอย่างเช่น มะเร็งปากมดลูกที่คร่าชีวิตผู้คนไป 4.5 ล้านคนต่อปี การเสียชีวิตเหล่านี้จะหยุดลงได้หากเด็กผู้หญิงได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส Human Papilloma Virus ที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยวัคซีน HPV ภายในอายุ 15 ปี

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกล่าวว่าทุกคนสามารถทำอะไรได้มากมายเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง ทั้งยังมีมาตรการป้องกันต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกวิถีชีวิต เช่น การสูบบุหรี่คิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง

ดังนั้น WHO จึงแนะนำให้ผู้คนเลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ที่เป็นอันตราย ตลอดจนลดการออกแดดเป็นเวลานาน ๆ เพื่อช่วยปกป้องร่างกายจากรังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นอันตรายและก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

XS
SM
MD
LG