ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อินเดียประท้วงเดือด หลังผู้หญิงรายที่ 3 เข้าถึงเทวสถานฮินดูอีกรอบ


A police officer wields his stick against the members of Kerala Students Union, the student wing of India's main opposition Congress party, outside a police station during a protest in Kochi, India, Jan. 3, 2019.
A police officer wields his stick against the members of Kerala Students Union, the student wing of India's main opposition Congress party, outside a police station during a protest in Kochi, India, Jan. 3, 2019.

ตำรวจปราบจลาจลของอินเดีย พยายามสกัดผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูสายอนุรักษ์นิยม ซึ่งออกมาเดินขบวนคัดค้านการเข้าถึงศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูเป็นรายที่ 3 ในสัปดาห์นี้

สำนักข่าว AFP รายงานการเปิดเผยของตำรวจในรัฐเกรละว่า ผู้ประท้วงชาวฮินดูในรัฐเกรละออกมาเคลื่อนไหวแสดงความไม่พอใจ เมื่อมีรายงานว่าหญิงรายที่ 3 เป็นชาวศรีลังกา วัย 46 ปี เข้าไปยังศาสนสถานของศาสนาฮินดู ในรัฐเกรละ พร้อมกับเครื่องสักการะ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สร้างความไม่พอใจกับชาวฮินดูในพื้นที่ นำไปสู่การประท้วงที่กลายเป็นเหตุจลาจล ล่าสุด ตำรวจอินเดียจับกุมผู้ประท้วงมากกว่า 750 คนที่ออกมาเดินขบวนดังกล่าวแล้ว

ชาวฮินดูที่เคร่งครัดในรัฐเกรละ ทางตอนใต้ของอินเดีย ออกมาประท้วงตั้งแต่วันพุธที่ผ่านมา ปมปัญหามาจากนักเคลื่อนไหวหญิง 2 คน ที่มีอายุราว 40 ปี เดินทางเข้าไปยังเทวสถาน ซาบาริมานา (Sabarimala) ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของชาวฮินดู ก่อนพระอาทิตย์ตกดินเมื่อวันพุธ โดยมีตำรวจคอยคุ้มกันไปตลอดเวลาที่อยู่ภายในเทวสถาน ให้รอดพ้นจากสายตาของศาสนิกชนและสื่อมวลชนในพื้นที่ ก่อนที่ข่าวนี้จะแพร่สะพัดในเวลาอันรวดเร็ว

ชาวอินเดียผู้นับถือศาสนาฮินดูอย่างเคร่งครัด ออกมาโจมตีว่าเป็นการ “ฝ่าฝืนธรรมเนียมปฏิบัติในการเข้าถึงศาสนสถาน” และออกมาเดินขบวนในรัฐเกรละ ทางตอนใต้ของอินเดีย จนมีรายงานว่าตำรวจปราบจลาจลได้ฉีดน้ำรวมทั้งใช้แก็สน้ำตาเข้าใส่ผู้ประท้วงหวังสลายการชุมนุม ก่อนที่จะสั่งปิดเทวสถานดังกล่าวเพื่อทำพิธี "ชำระล้าง" หลังการมาเยือนของสตรีทั้ง 2

เมื่อเดือนกันยายนปีก่อน ศาลสูงอินเดียเพิ่งประกาศยกเลิกข้อห้ามที่มีมากว่าร้อยปี ที่ห้ามไม่ใช่สตรีมีระดู หรือช่วงอายุระหว่าง 10-50 ปี เข้าถึงศาสนสถาน ด้วยความเชื่อว่าจะทำให้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนิกชนแปดเปื้อน และมีผู้หญิงอินเดียนับสิบคนพยายามเข้าไปยังศาสนสถานหลายแห่งในอินเดียแต่ไม่สามารถทำได้ เพราะถูกกีดกันขัดขวางจากศาสนิกชนในพื้นที่

รัฐเกรละ ทางตอนใต้ของอินเดีย ถือเป็นพื้นที่ที่มีประเด็นขัดแย้งมากที่สุดในเรื่องนี้ โดยเมื่อวันอังคาร ผู้หญิงหลายพันคนในรัฐเกรละ ออกมาแสดงพลังด้วยการเดินขบวนและจับมือเป็นกำแพงมนุษย์ สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศของผู้หญิง โดยเฉพาะการเข้าไปถึงศาสนสถานของผู้หญิงอินเดีย

XS
SM
MD
LG