ลิ้งค์เชื่อมต่อ

คุณภาพอากาศที่เลวร้ายทำให้ชาวกรุงนิวเดลลีย้ายไปอยู่เมืองอื่น


FILE - Schoolchildren hold banners to express their distress at the alarming levels of pollution in the city, in New Delhi, India, Nov. 15, 2017.
FILE - Schoolchildren hold banners to express their distress at the alarming levels of pollution in the city, in New Delhi, India, Nov. 15, 2017.

คุณภาพอากาศเลวร้ายได้ทำให้เด็กจำนวนมากในเมืองหลวงของอินเดียป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:42 0:00

เมื่อปีที่เล้ว ตอนที่ลูกสาววัย 3 เดือนของ Purva Bhatia ป่วยด้วยโรคปอดบวม แพทย์บอกว่ามลพิษอากาศในกรุงนิวเดลลีที่เลวร้ายเป็นสาเหตุ เธอไม่เคยคิดที่จะต้องย้ายออกจากกรุงนิวเดลลีไปอยู่ที่อื่น เพราะเธอเเละสามีเติบโตที่นี่ เเต่เธอเป็นห่วงสุขภาพของลูกสาวเเละมองว่าการย้ายไปอยู่เมืองอื่นเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มลพิษทางอากาศในเมืองหลวงของอินเดียที่เกิดจากควันเสียของรถยนต์ ฝุ่นจากการก่อสร้างเเละควันเสียจากโรงงาน ได้ขึ้นไปอยู่ในระดับสูงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพบ่อยครั้งมากในช่วงฤดูหนาว

แม้ว่าคุณภาพอากาศจะดีขึ้นในช่วงฤดูร้อน คุณภาพอากาศก็ยังเเย่อยู่เเละในกรุงนิวเดลลี ซึ่งขณะนี้คุณภาพอากาศจัดอยู่ในระดับที่เเย่ที่สุดในบรรดาเมืองใหญ่ต่างๆ ซึ่งจะเท่ากับการสูบบุหรี่ 20 มวนต่อวัน จนบรรดาแพทย์ได้เตือนว่าอากาศที่เป็นพิษนี้อาจเป็นต้นเหตุของโรคทางระบบทางเดินหายใจเเละโรคหัวใจ

Indian fitness enthusiasts work out amid heavy smog near India Gate in New Delhi on November 13, 2017.
Indian fitness enthusiasts work out amid heavy smog near India Gate in New Delhi on November 13, 2017.

คำเตือนที่น่ากล้วนี้ทำให้ชาวกรุงนิวเดลลีหลายคนตัดสินใจย้ายออกไปอยู่ที่อื่น บางคนย้ายไปอยู่ในเมืองต่างๆ ทางใต้ เช่น Chennai ในขณะที่หลายคนย้ายไปทางตะวันตกเช่นเมือง Goa ซึ่งเป็นเมืองชายทะเล

Aditi Malhotra นักวางแผนจัดงานเลี้ยงได้ย้ายออกจากกรุงนิวเดลลีไปอยู่เมือง Goa หนึ่งปีครึ่งที่เเล้ว หลังจากเริ่มป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจเเละตาอักเสบ เพราะอากาศเป็นพิษในกรุงนิวเดลลี

เธอบอกว่า เธอมีปัญหาสุขภาพรุมเร้าซึ่งมีต้นเหตุจากอากาศที่เป็นพิษ ทำให้ต้ดสินใจย้ายไปอยู่เมืองที่คุณภาพสะอาดกว่า

Anumita Roy Chowdhury แห่งศูนย์วิทยาศาสตร์และสิ่งเเวดล้อมของกรุงนิวเดลลี (New Delhi's Center of Science and Environment) กล่าวว่า คนเราไม่สามารถวิ่งหนีจากปัญหามลพิษทางอากาศได้ เธอเรียกปัญหามลพิษทางอากาศของอินเดียว่าเป็นวิกฤติเร่งด่วนระดับชาติ เเละชี้ว่า คุณภาพอากาศในเมืองใหญ่ส่วนมากในอินเดียถือว่าเป็นพิษ

FILE - Vehicles move slowly at a traffic intersection after the end of a two-week experiment to reduce the number of cars to fight pollution in in New Delhi, India, Jan. 16, 2016.
FILE - Vehicles move slowly at a traffic intersection after the end of a two-week experiment to reduce the number of cars to fight pollution in in New Delhi, India, Jan. 16, 2016.

ปัญหามลพิษในอินเดียรุนแรงมาก เพราะเกือบ 88 เปอร์เซ็นต์ของเมืองต่างๆ ทั่วประเทศที่มีการตรวจวัดระดับคุณภาพอากาศ ถือว่ามีมลพิษทางอากาศในระดับร้ายเเรงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

นายแพทย์ Arvind Kumar แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดปอดที่มีชื่อเสียงในกรุงนิวเดลลี กล่าวว่า โรงพยาบาลส่วนมากต่างรายงานตัวเลขผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว

นายแพทย์ Kumar กล่าวว่า ผลเสียร้ายเเรงที่สุดที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อเด็กในด้านความบกพร่องทางการพัฒนาของสมองเเละปอด ซึ่งตนเองมองว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนทางสาธารณสุขที่สำคัญกว่านโยบายด้านการพัฒนาทุกอย่าง

People pass by an installation of an artificial model of lungs to illustrate the effect of air pollution outside a hospital in New Delhi, India, Nov. 5, 2018.
People pass by an installation of an artificial model of lungs to illustrate the effect of air pollution outside a hospital in New Delhi, India, Nov. 5, 2018.

อย่างไรก็ตาม ในเมืองที่มีประชาชนมากกว่า 20 ล้านคน การย้ายไปอยู่ที่อื่นยังเป็นทางเลือกที่จำกัดอยู่ในกลุ่มคนชนชั้นกลางกับคนร่ำรวยเท่านั้น ส่วนคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ คนงานที่ทำงานภายนอกอาคาร อาทิ คนขายของตามร้านข้างถนน เเละคนขับรถสามล้อรับจ้าง โดยคนเหล่านี้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะต้องอาศัยในเมืองหลวงต่อไป

หลายคนที่ย้ายออกจากกรุงนิวเดลลี ต่างยอมรับว่าการย้ายไปอยู่ที่อื่นเป็นการตัดสินใจที่ต้องคิดหนักมาก เเต่ยืนยันว่าจะยังไม่ย้ายกลับจนกว่าวิกฤติอากาศเป็นพิษในกรุงนิวเดลลีจะดีขึ้น

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG