ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์สาเหตุไต้หวันขอให้กูเกิ้ลเบลอภาพ "เกาะไทปิง" ในพื้นที่ความขัดแย้งทะเลจีนใต้


Google Map image of Taiping Island in the South China Sea, Sept. 22, 2016.
Google Map image of Taiping Island in the South China Sea, Sept. 22, 2016.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:49 0:00

บริษัทเทคโนโลยี Google กำลังพิจารณาคำร้องของไต้หวันที่ต้องการให้เบลอภาพถ่ายดาวเทียมของหมู่เกาะแห่งหนึ่งในทะเลจีนใต้ หลังจากไต้หวันเริ่มมีความกังวลต่อการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะดังกล่าว สืบเนื่องจากที่คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศมีคำตัดสินปฏิเสธการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีน เหนือพื้นที่เกือบทั้งหมดในทะเลจีนใต้ เมื่อเดือน ก.ค.

Google แสดงภาพถ่ายดาวเทียมของจุดต่างๆ บนโลก ผ่านบริการ Google Maps และ Google Earth ซึ่งที่ผ่านมาสถานที่สำคัญของรัฐบาลประเทศต่างๆ ปรากฏอยู่ในบริการดังกล่าวของ Google อย่างชัดเจน และไม่มีการเบลออย่างจงใจแต่อย่างใด

รวมทั้งภาพเกาะเล็กขนาด 1400 ม. X 400 ม. และภาพทางขึ้นลงเครื่องบิน ท่าเรือ และกลุ่มอาคารต่างๆ อีก 3 แห่งบนเกาะดังกล่าว ที่มีชื่อเรียกว่า ไทปิง หรือ Itu Aba ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะราว 500 แห่งในทะเลจีนใต้ที่ไต้หวันกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์

Taiping Island
Taiping Island

แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ไต้หวันต้องการให้ Google เบลอภาพถ่ายดาวเทียมของเกาะแห่งนั้นหลังจากไต้หวันเริ่มมีความกังวลต่อการอ้างกรรมสิทธิ์ สืบเนื่องจากคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในกรณีความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์ เมื่อเดือน ก.ค.

คำตัดสินดังกล่าวระบุว่า การกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนเหนือพื้นที่เกือบทั้งหมดในทะเลจีนใต้ โดยอาศัยแผนที่โบราณนั้น ไม่ถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมาไต้หวันเองก็ใช้วิธีคล้ายกันในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ราว 3 ล้าน 5 แสนตารางกิโลเมตร

โฆษกของบริษัทเทคโนโลยี Google กล่าวกับ VOA ในวันพฤหัสบดีว่า Google ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเด็นด้านความมั่นคง และยินดีที่จะหารือในประเด็นนี้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต่างๆ แต่นั่นมิได้หมายความว่าการเจรจากับรัฐบาลทุกประเทศจะนำไปสู่การเบลอภาพถ่ายดาวเทียมของ Google เสมอไป

นักวิเคราะห์เชื่อว่าเวลานี้ไต้หวันต้องการกลบซ่อนกิจกรรมทุกอย่างบริเวณหมู่เกาะ ดังกล่าว ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ เนื่องจากประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้กำลังทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยทางรัฐบาลไต้หวันระบุว่า ได้ก่อสร้างโรงพยาบาลขนาด 10 เตียงนอน ประภาคาร สนามบินขนาดเล็ก และยังติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์มูลค่า 129 ล้านดอลลาร์บนหมู่เกาะแห่งนั้นด้วย

A member of the Taiwan coast guard shows the solar panels used for electrical power to visiting media on Taiping island, also known as Itu Aba, in the Spratly archipelago, roughly 1600 kms. (1000 miles) south of Taiwan, March 23, 2016.
A member of the Taiwan coast guard shows the solar panels used for electrical power to visiting media on Taiping island, also known as Itu Aba, in the Spratly archipelago, roughly 1600 kms. (1000 miles) south of Taiwan, March 23, 2016.

คุณ Andrew Yang แห่ง Chinese Council of Advanced Policy Studies ซึ่งเป็น think tank ในไต้หวัน เชื่อว่าหากไต้หวันเริ่มมีสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ เกิดขึ้นในบริเวณนั้น จะยิ่งสร้างความกังวลและทำให้เกิดการตอบสนองจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นพันธมิตรสำคัญของไต้หวัน

โดยที่ผ่านมา สหรัฐฯ ยืนยันถึงเสรีภาพในการเดินเรือในแถบทะเลจีนใต้ทั้งหมด และยังขอให้ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องเคารพในคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศด้วย

FILE - In this March 23, 2016, file photo, an aerial view is seen from a military plane carrying international journalists of the Taiwan-controlled Taiping island, also known as Itu Aba, in the Spratly archipelago, roughly 1600 kms. (1000 miles) in the So
FILE - In this March 23, 2016, file photo, an aerial view is seen from a military plane carrying international journalists of the Taiwan-controlled Taiping island, also known as Itu Aba, in the Spratly archipelago, roughly 1600 kms. (1000 miles) in the So

แต่ศาสตราจารย์ Alexander Huang แห่งมหาวิทยาลัย Tamkang ในไต้หวัน ชี้ว่าการที่ประเทศอื่นจะประท้วงหรือยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิการครอบครองเกาะดังกล่าวของไต้หวันนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย นอกเสียจากว่าจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าไต้หวันกำลังดำเนินการก่อสร้างหรือมีกิจกรรมทางทหารที่ก้าวร้าวหรือคุกคามประเทศอื่น

ส่วนทางจีนแผ่นดินใหญ่ก็กำลังจับตามองกิจกรรมทางทหารนอกชายฝั่งของไต้หวันอย่างใกล้ชิด หลังจากที่ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศมัวหมองลงไป เมื่อประธานาธิบดีคนใหม่ของไต้หวัน Tsai Ing-wen เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือน พ.ค. และมีนโยบายที่ไม่เป็นมิตรต่อรัฐบาลกรุงปักกิ่งเหมือนรัฐบาลชุดก่อนของไต้หวัน

(ผู้สื่อข่าว Ralph Jennings รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG