ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รายงานระบุต้นทุนที่แท้จริงของการผลิตพลาสติกในปี 2019 สูงกว่าจีดีพีอินเดีย


Sri Lankans walk past a pile of plastic pellets washed ashore from the fire damaged container ship MV X-Press Pearl at Kapungoda, on the outskirts of Colombo, Sri Lanka, Friday, June 11, 2021. Sri Lankan authorities say they have taken water samples…
Sri Lankans walk past a pile of plastic pellets washed ashore from the fire damaged container ship MV X-Press Pearl at Kapungoda, on the outskirts of Colombo, Sri Lanka, Friday, June 11, 2021. Sri Lankan authorities say they have taken water samples…

รายงานขององค์กรคุ้มครองสัตว์ป่า World Wildlife Fund (WWF) ระบุว่า มลพิษ และต้นทุนในการทำความสะอาดของพลาสติกที่ผลิตภายในปี ค.ศ. 2019 อาจมีมูลค่าสูงถึง 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมต่อวัตถุดิบที่ดูเหมือน "ราคาถูก" นี้

รายงานของ WWF ชี้ว่า ต้นทุนของการผลิตพลาสติกดังกล่าว เทียบเท่าหรือสูงกว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ จีดีพี ของอินเดีย ในปี 2019 และว่า สังคมต่าง ๆ ได้ให้การสนับสนุนการใช้พลาสติกโดยไม่รู้ตัว

รายงานวิเคราะห์ชิ้นนี้นำปัจจัยต่าง ๆ เช่น มลพิษในชั้นบรรยากาศ ผลกระทบทางสุขภาพ การจัดการขยะ และผลกระทบทางนิเวศน์วิทยา มาร่วมพิจารณาต้นทุนของการผลิตพลาสติกทั่วโลกด้วย

รายงานที่มีชื่อว่า “Plastics: The Cost to Society, Environment and the Economy,” ซึ่งจัดทำโดยบริษัทที่ปรึกษา Dalberg ชี้ว่า พลาสติกอาจดูเหมือนเป็นวัตถุดิบราคาถูกในมุมของราคาการตลาด แต่หากพิจารณาต้นทุนโดยรวมที่แท้จริงตลอดวงจรชีวิตของพลาสติกแล้วจะพบว่าสูงมาก

รายงานบอกด้วยว่า หากไม่มีความร่วมมือเพื่อจัดการปัญหานี้ ต้นทุนการผลิตพลาสติกในปี ค.ศ. 2040 อาจเพิ่มสูงถึง 7.1 ล้านล้านดอลลาร์

ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 ประเมินว่ามีพลาสติกผลิตออกมาทั่วโลกราว 8,300 ล้านตัน โดย 60% ของพลาสติกเหล่านี้ยังคงหลงเหลืออยู่ในสถานที่ทิ้งขยะหรือกระจายอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ โดยมีการค้นพบเศษพลาสติกขนาดเล็กจิ๋วในปลาที่อยู่ใต้มหาสมุทรลึกและตามแถบขั้วโลก

คาดว่าเศษพลาสติกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของนกทะเลและสัตว์น้ำมากกว่า 100,000 ตัวในแต่ละปี

โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ ระบุว่า มีขยะพลาสติกราว 300 ล้านตันเกิดขึ้นในแต่ละปี และโลกของเรากำลังจะจมลงในมลพิษจากขยะพลาสติก

XS
SM
MD
LG