ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหรัฐฯ คือผู้ช่วยก่อมลภาวะขยะพลาสติกทางทะเลระดับต้นๆ ของโลก


Photo by: STRF/STAR MAX/IPx 2020 9/19/20 New York will finally enforce plastic bag ban starting October 19th after getting derailed by the Coronavirus pandemic. Many stores already charge a 5 cents per paper bag if customers don't bring their own. New…
Photo by: STRF/STAR MAX/IPx 2020 9/19/20 New York will finally enforce plastic bag ban starting October 19th after getting derailed by the Coronavirus pandemic. Many stores already charge a 5 cents per paper bag if customers don't bring their own. New…

การศึกษาชิ้นใหม่ระบุว่า สหรัฐฯ คือหนึ่งในประเทศผู้ร่วมก่อปัญหามลภาวะขยะพลาสติกทางทะเลในระดับที่สูงกว่าที่มีการประเมินก่อนหน้านี้

จอร์จ ลีโอนาร์ด หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์ Ocean Conservancy ซึ่งเป็นกลุ่มไม่แสวงหาผลกำไรที่สนับสนุนงานด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติซึ่งตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่า มลภาวะพลาสติก คือหนึ่งในภัยคุกคามหลักๆ ของสภาพมหาสมุทรโลกในอนาคต และพลาสติกยังคงเป็นวัสดุที่มีความสามารถแทรกซึมเข้าไปอยู่ทั่วห่วงโซ่อาหารทางทะเล ตั้งแต่ระดับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก เช่น แพลงก์ตอนพืช ไปจนถึงในปลา และสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่สุดที่ใช้ชีวิตในทะเล รวมทั้งนกทะเลและเต่า ด้วย

บทวิเคราะห์ในงานวิจัยล่าสุดที่ ลีโอนาร์ด รวมทำยังระบุด้วยว่า สหรัฐฯ ผลิตขยะพลาสติกออกมาถึง 42 ล้านตันในปี ค.ศ. 2016 ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงที่สุดในโลก โดยมีการประมาณการณ์ว่า ราว 2.2 ล้านตันตกลงไปอยู่ในทะเลและมหาสมุทร

ลีโอนาร์ด กล่าวว่า ถ้าลองเอาขยะที่ไหลไปอยู่ในมหาสมุทรที่ว่านี้ มากองไว้ที่สนามหญ้าหน้าทำเนียบขาว จะได้ขาวสูงพอๆ กับอาคารเอ็มไพร์สเตท เลยทีเดียว

การศึกษาก่อนหน้านี้โดยกลุ่มนักวิจัยกลุ่มเดียวกัน ยังจัดสหรัฐฯ เป็นประเทศอันดับที่ 20 ของผู้ผลิตขยะพลาสติกทางทะเลทั่วโลก โดยระบุว่า การทิ้งขยะไม่เป็นที่คือสาเหตุเดียวของมลภาวะประเภทนี้

แต่ในงานศึกษาชิ้นล่าสุด ทีมงานได้นับรวมการกำจัดขยะอย่างไม่ถูกกฎหมาย (illegal dumping) และขยะของเสียที่ถูกส่งไปต่างประเทศเพื่อรีไซเคิล ให้เป็นอีก 2 สาเหตุของมลภาวะขยะพลาสติกทางทะเล ก่อนจะปรับอันดับของสหรัฐฯ ให้ขึ้นมาอยู่ที่ลำดับที่ 3

ข้อมูลจากรายงานดังกล่าวระบุว่า สหรัฐฯ ทำการรีไซเคิลขยะพลาสติกในปี ค.ส. 2019 เพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เป็นการรีไซเคิลภายในประเทศ ขณะที่อีกครึ่งหนึ่งถูกส่งไปต่างประเทศ โดยนักวิจัยประเมินว่า มีขยะพลาสติกจากสหรัฐฯ จำนวนมากถึง 1 ล้านตันที่ไหลเข้าไปในระบบนิเวศน์ทางทะเลเพราะการส่งออกในปีนั้นเพียงปีเดียว

คารา ลาเวนเดอร์ ลอว์ ศาสตราจารย์ด้านสมุทรศาสตร์ จากสมาคม Sea Education Association และเป็นผู้เขียนหลักของงานวิจัยนี้ ระบุในแถลงการณ์ว่า เป็นเวลาหลายปีแล้วที่สหรัฐฯ อัดขยะพลาสติลงในถังสีน้ำเงินจำนวนมากแล้วส่งออกไปเพื่อทำการรีไซเคิลในประเทศที่มีปัญหาจัดการขยะของตนเองอยู่แล้ว และไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ ท้ายที่สุด ขยะพลาสติกเหล่านั้นไม่ได้ถูกนำไปรีไซเคิล เพราะไม่มีประโยชน์ใช้งานพอ หรือมีการปนเปื้อน หรือต้องใช้กระบวนการขั้นสูงที่ทำยาก ก่อนจะถูกเอาไปทิ้งในธรรมชาติแทน

แต่กระนั้น การทิ้งขยะไม่เป็นที่และการกำจัดขยะอย่างผิดกฎหมายในสหรัฐฯ ทำให้เกิดมลภาวะขยะพลาสติกเป็นจำนวนถึง 1.2 ล้านตันอีกด้วย

A man walks on the shores the Arabian Sea, littered with plastic and other garbage in Mumbai, India, Monday, June 4, 2018. The theme for this year's World Environment Day, marked on June 5, is "Beat Plastic Pollution." (AP Photo/Rafiq Maqbool)
A man walks on the shores the Arabian Sea, littered with plastic and other garbage in Mumbai, India, Monday, June 4, 2018. The theme for this year's World Environment Day, marked on June 5, is "Beat Plastic Pollution." (AP Photo/Rafiq Maqbool)

กลุ่มธุรกิจพลาสติกที่ชื่อว่า American Chemistry Council (ACC) ยอมรับในแถลงการณ์ของตนว่า ขยะพลาสติกที่ปรากฎอยู่ในธรรมชาติ คือสิ่งที่รับไม่ได้ และผู้ผลิตพลาสติกในสหรัฐฯ กำลังพยายามเร่งหาวิธีรับมือเรื่องนี้อยู่

โจชัว บาคา รองประธาน ACC กล่าวว่า อุตสาหกรรมพลาสติกในสหรัฐฯ ร่วมกันตั้งเป้าที่จะบรรลุการ นำวัสดุหีบห่อพลาสติกมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล หรือเก็บวัสดุดังกล่าวกลับคืนมาให้ได้หมดภายในปี ค.ศ. 2040 พร้อมยืนยันว่า นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 มา การส่งออกขยะพลาสติกของสหรัฐฯ ได้ลดลงไปแล้วเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์

FILE - A Malaysian official inspects a container filled with plastic waste shipment prior to sending it to the Westport in Port Klang, Malaysia, May 28, 2019.
FILE - A Malaysian official inspects a container filled with plastic waste shipment prior to sending it to the Westport in Port Klang, Malaysia, May 28, 2019.

แต่การศึกษาชิ้นล่าสุดนี้ แย้งว่า การลดลงของการส่งออกขยะพลาสติกนั้นมีสาเหตุหลักๆ มาจากการระงับการนำเข้าของจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 เป็นต้นมา ก่อนที่ การส่งออกขยะเหล่านั้นไปประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซีย เวียดนาม และไทย จะพุ่งสูงแทน ตามข้อมูลของรายงานข่าวเชิงสืบสวนของหนังสือพิมพ์ The Financial Times

ทีมนักวิจัยกล่าวว่า การยกเครื่องกระบวนการผลิต บริโภคและรีไซเคิลพลาสติกคือสิ่งที่ต้องลงมือทำโดยด่วน เพื่อแก้ไขวิกฤตพลาสติกในโลก

และแม้ว่า ประเด็นนี้จะเป็นปัญหาระดับโลก นักวิจัยเชื่อว่า ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

ลีโอนาร์ด จากศูนย์ Ocean Conservancy บอกกับ แอชเชอร์ โจนส์ ผู้สื่อข่าวของ วีโอเอ ว่า คนเราทุกคนควรทำทุกอย่างเพื่อลดจำนวนวัสดุพลาสติกของตน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ถุงชอปปิ้งที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือแก้วกาแฟที่ล้างแล้วนำมาใช้ใหม่ได้ หรือแม้แต่ลดการใช้วัสดุพลาสติกแบบใช้ได้ครั้งเดียว และเราก็จะมีส่วนร่วมของการแก้ปัญหานี้ได้

XS
SM
MD
LG