ลิ้งค์เชื่อมต่อ

จับตาความสัมพันธ์ด้านอาวุธ 'เมียนมา-รัสเซีย' หลังการยึดอำนาจในเมียนมา


A Myanmar soldier stands guard on a road amid demonstrations against the military coup in Naypyidaw on February 17, 2021. (Photo by STR / AFP)
A Myanmar soldier stands guard on a road amid demonstrations against the military coup in Naypyidaw on February 17, 2021. (Photo by STR / AFP)
Russia Myanmar
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:18 0:00

ขณะนี้ถึงแม้จีนจะเป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ในเมียนมา แต่รัสเซียก็เป็นประเทศผู้ขายอาวุธรายสำคัญให้กับเมียนมาเช่นกัน และความไม่วางใจในบทบาทของจีนโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเมืองภายในของเมียนมา อาจเป็นโอกาสให้รัสเซียยกระดับความสัมพันธ์กับเมียนมาเพิ่มขึ้นได้

เพราะถึงแม้การลงทุนของจีนในเมียนมาจะเพิ่มขึ้นอย่างมากภายใต้รัฐบาลพลเรือนของนางออง ซาน ซูจี แต่ผู้นำกองทัพเมียนมาบางคนก็ยังรู้สึกไม่ค่อยวางใจในจีน จากการแผ่อิทธิพลของจีนข้ามพรมแดน รวมทั้งจากบทบาทและการแทรกแซงของปักกิ่งที่ให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มติดอาวุธของชนกลุ่มน้อยในเมียนมา

ในขณะที่รัสเซียนั้นไม่มีผลประโยชน์ในเชิงยุทธศาสตร์ข้ามพรมแดนซึ่งอาจเปรียบเสมือนหอกข้างแคร่สำหรับกองทัพเมียนมาได้

จีน-รัสเซีย กับท่าทีเพิกเฉยต่อรัฐประหารในเมียนมา

คุณแบรดลีย์ เมิร์ก นักวิจัยอาวุโสของสถาบัน Cambodian Institute for Cooperation and Peace ชี้ว่า ขณะนี้ทั้งจีนกับรัสเซียกำลังพยายามปกป้องผลประโยชน์ของตนที่มีอยู่ในเมียนมา และไม่กล่าวตำหนิการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมาโดยตรง

โดยจีนได้เรียกการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมาว่าเป็นการ "ปรับคณะรัฐมนตรี" ขณะที่รัสเซียเรียกว่าเป็น "กิจการภายในของเมียนมาอย่างแท้จริง" ทั้งยังขอให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ความช่วยเหลือในทางปฏิบัติต่อรัฐบาลชุดใหม่ในเมียนมาด้วย

นอกจากนั้นแล้ว รัสเซียกับจีนยังใช้สิทธิของตนในคณะมนตรีความมั่นคงองค์การสหประชาชาติเพื่อปกป้องเมียนมา และร่วมมือกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติเพื่อคัดค้านการออกมติประณามการกระทำของกองทัพเมียนมาเช่นกัน

A Russian army T-72-B3 tank fires during military exercises at the Raevsky range in Southern Russia on September 23, 2020 during the "Caucasus-2020" military drills gathering China, Iran, Pakistan and Myanmar troops, along with ex-Soviet Armenia, Azerbaij
A Russian army T-72-B3 tank fires during military exercises at the Raevsky range in Southern Russia on September 23, 2020 during the "Caucasus-2020" military drills gathering China, Iran, Pakistan and Myanmar troops, along with ex-Soviet Armenia, Azerbaij

'รัสเซีย' พันธมิตรโดยธรรมชาติและคู่ค้าอาวุธ

ส่วนคุณโมฮาน มาริค นักวิเคราะห์ของศูนย์ Near East South Asia Center for Strategic Studies ในสังกัดกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่กรุงวอชิงตัน ก็เสริมว่า ในขณะที่ผู้นำกองทัพเมียนมามองจีนว่ามักพยายามกดดันเพื่อให้ได้ข้อแลกเปลี่ยนที่เป็นประโยชน์จากการให้ความช่วยเหลือนั้น คณะผู้ปกครองทหารของเมียนมากลับมองรัสเซียว่าเป็นพันธมิตรโดยธรรมชาติที่จะช่วยคลายแรงกดดันจากกลุ่มประเทศตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ รวมทั้งยังเป็นเครื่องช่วยถ่วงดุลอำนาจกับจีนด้วย

นอกจากนั้นแล้ว รัสเซียก็ยังเป็นผู้ขายอาวุธรายใหญ่ให้กับเมียนมา ถึงแม้จะมีมูลค่าการขายน้อยกว่าจีนก็ตาม

ตัวเลขจากสถาบัน Stockholm International Peace Research Institute ระบุว่าระหว่างปี 2010 ถึง 2019 เมียนมาซื้ออาวุธจากรัสเซียมูลค่าราว 807 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากจีนประมาณ 1,300 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม อาวุธของจีนนั้นมักจะมีปัญหาใช้การไม่ได้

FILE - Russian MIG-29 plane is seen in flight, in Zhukovsky, outside Moscow, Russia, Aug. 11, 2012.
FILE - Russian MIG-29 plane is seen in flight, in Zhukovsky, outside Moscow, Russia, Aug. 11, 2012.

เมื่อปี 2001 เมียนมาได้ทำข้อตกลงด้านอาวุธและทางเทคนิคฉบับแรกกับรัสเซีย และหลังจากนั้นก็ได้ซื้อเครื่องบินขับไล่ MiG 29 จากรัสเซียแล้ว 30 ลำ เฮลิคอปเตอร์รุ่น Mi-24 และ Mi-25 จำนวน 10 ลำ รวมทั้งระบบจรวดต่อต้านอากาศยาน Pechora-2M แปดชุด กับอากาศยานไร้คนขับ ระบบอาวุธต่อต้านรถถัง ระบบปืนใหญ่และเครื่องบินรบรุ่น Su-30 SME อีกหกลำด้วย

โดยในช่วงปลายปี 2019 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของรัสเซียได้ยืนยันเรื่องการสร้างความร่วมมือทางทหารกับเมียนมา เวียดนาม กัมพูชาและลาว และในช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนการยึดอำนาจ รัสเซียก็ได้ตกลงขายระบบต่อต้านอากาศยาน Pantsir-S1 กับโดรนลาดตระเวน Orlan-10E และอุปกรณ์เรดาร์อีกจำนวนหนึ่งให้กับเมียนมาด้วย

'อินเดีย' กับบทบาทผู้บริการหลังการขาย

นักวิเคราะห์เชื่อว่า ความต้องการของรัสเซียที่จะเข้าถึงระบบทางรถไฟ ท่าเรือขนส่ง และเส้นทางค้าขายของเมียนมา รวมทั้งการนิยมใช้ระบบแลกเปลี่ยนสินค้า ทำให้ผู้นำกองทัพเมียนมาสนใจ โดยเชื่อว่าการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยความร่วมมือจากรัสเซียจะช่วยบรรเทาแรงต่อต้านทางการเมืองจากภายในประเทศได้

คุณอรุณ ชากัล นักวิเคราะห์อาวุโสด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคงของ Delhi Policy Group ในอินเดีย มองว่า การเพิ่มบทบาทความร่วมมือทางทหารระหว่างรัสเซียกับเมียนมาจะดึงอินเดียเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เพราะขณะนี้อินเดียเป็นทั้งผู้ซื้ออาวุธรายใหญ่และเป็นผู้ให้บริการเกี่ยวกับอาวุธของรัสเซีย ซึ่งก็มีโอกาสอย่างสูงที่อินเดียจะมีธุรกิจต่อเนื่องจากการขายอาวุธของรัสเซียให้กับเมียนมา

และด้วยเหตุผลดังกล่าว นักวิเคราะห์ของอินเดียผู้นี้จึงเชื่อว่า ผู้นำกองทัพเมียนมากำลังมองรัสเซียว่าเป็นแหล่งอาวุธราคาถูกซึ่งมีคุณภาพที่ไว้วางใจได้ โดยระบบอาวุธเหล่านี้จะสามารถได้รับบริการบำรุงรักษาทั้งจากรัสเซียโดยตรง หรือผ่านการทำสัญญากับอินเดียนั่นเอง

XS
SM
MD
LG