ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิกฤตทะเลแดง ดันเอเชียเล็งจัดหาระบบป้องกันขีปนาวุธ


กองทัพอากาศไทยเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอของอุตสากรรมการบินอิสราเอล ในงาน Singapore Airshow เมื่อ 21 ก.พ. 2024 (รอยเตอร์)
กองทัพอากาศไทยเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอของอุตสากรรมการบินอิสราเอล ในงาน Singapore Airshow เมื่อ 21 ก.พ. 2024 (รอยเตอร์)

ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ด้านอุตสาหกรรมอาวุธ เห็นว่าการใช้ขีปนาวุธต่อต้านเรือ (ASBM) ในทะเลแดง ยังผลให้หลายชาติในเอเชียให้ความสนใจกับระบบป้องกันขีปนาวุธต่อต้านเรือมากขึ้น

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัทด้านกลาโหมของสหรัฐฯ ที่ไม่ประสงค์ออกนาม เปิดเผยในงาน Singapore Airshow ว่า การป้องกันทางอากาศในทะเลแดงและยูเครน ได้ดึงดูดความสนใจกับลูกค้าในฝั่งเอเชียบ้างแล้ว โดยระบบป้องกันที่ในประเทศในเอเชียหมายตาจะเป็นระบบป้องกันทางอากาศแบบรวมศูนย์ ทั้งระบบเซนเซอร์ที่ตรวจจับเป้าหมาย อาวุธที่ยิงสกัดขีปนาวุธ และระบบควบคุมและสั่งการขีปนาวุธได้ในตัว

ด้านบริษัทอาวุธสวีเดน Saab ระบุในงานเดียวกันนี้ เผยด้วยว่าลูกค้าฝั่งเอเชียไม่เพียงแต่สนใจระบบต่อต้านขีปนาวุธเท่านั้น แต่ยังสนใจโดรนต้นทุนต่ำที่ใช้ในการโจมตีในทะเลแดงอีกด้วย

ทั้งนี้ กองบัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นตะวันออกกลางและเอเชียกลาง หรือ CENTCOM เผยข้อมูลในช่วง 27 พฤศจิกายน – 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งมีการบันทึกการใช้ขีปนาวุธต่อต้านเรือครั้งแรก พบว่ามีการใช้ขีปนาวุธต่อต้านเรือทั้งสิ้น 48 ครั้ง และมีการยิงสกัดขีปนาวุธชนิดนี้ 12 ครั้งในทะเลแดง อย่างไรก็ตาม การยิงขีปนาวุธส่วนใหญ่มาจากกลุ่มฮูตีในพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้เป็นภัยอันตรายใด ๆ

กบฎฮูตียิงโดรน 'เอ็มคิว-9' ของสหรัฐฯ ร่วง
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:18 0:00

ด้านกลุ่มฮูตีอ้างว่าเป็นฝ่ายผลิตขีปนาวุธทั้งหมด ขณะที่กองทัพสหรัฐฯ และหน่วยข่าวกรองของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ชี้ว่าอิหร่านให้ความช่วยเหลือกลุ่มติดอาวุธนี้ แม้ว่าจะไม่ใช่การจัดหาอาวุธให้โดยตรงก็ตามที

พลเรือเอกมาร์ค เมลสัน ผู้บัญชาการหน่วยเฉพาะกิจของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในแปซิฟิกตะวันตก กล่าวในงาน Singapore Airshow ด้วยว่า กองทัพสหรัฐฯ กำลังศึกษาบทเรียนในทะเลแดง ซึ่งอาจนำมาใช้ได้กับกรณีในฝั่งเอเชียหรือพื้นที่อื่น ๆ ในโลก

  • ที่มา: รอยเตอร์

กระดานความเห็น

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG