ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์คิดค้นอุปกรณ์แปลงสัญญาณสมองช่วยคนอัมพาตบังคับมือทำงานได้สำเร็จ


In this March 2016 photo provided by Ohio State University, Ian Burkhart plays a guitar video game as part of a study with neural bypass technology at The Ohio State University Wexner Medical Center in Columbus. A computer chip in Burkhart's brain reads h
In this March 2016 photo provided by Ohio State University, Ian Burkhart plays a guitar video game as part of a study with neural bypass technology at The Ohio State University Wexner Medical Center in Columbus. A computer chip in Burkhart's brain reads h

เรื่องราวของนาย Ian Burkhart ช่วยให้ความหวังแก่ผู้ป่วยอัมพาตรายอื่นๆ

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:54 0:00
Direct link

นาย Ian Burkhart ได้รับบาดเจ็บตอนอายุ 19 ปี เขากระโดดพุ่งศรีษะลงในน้ำที่คิดว่าเป็นน้ำลึก เขากระเเทกศรีษะกับกองทราย ทำให้กระดูกลำคอหัก อาการบาดเจ็บนี้ทำให้เขาไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายส่วนที่อยู่ใต้ลำคอลงมาได้

ในตอนนั้น บรรดาแพทย์บอกว่าเขาจะเดินและใช้มือทั้งสองข้างไม่ได้อีก แต่เขามีความหวังว่าวันหนึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะช่วยให้เขาเคลื่อนไหวร่างกายได้

ห้าปีต่อมา เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและคิดค้นขึ้นโดยทีมผู้เชี่ยวชาญในสหรัฐฯ ช่วยให้นาย Burkhart ซึ่งตอนนี้อายุ 24 ปีแล้ว สามารถใช้มือขวาทำงานง่ายๆ ได้

สำนักข่าวเอพีรายงานว่า เขาสามารถจับขวดน้ำและเทน้ำออกจากขวดได้ เขาสามารถใช้มือหยิบแท่งไม้และคนไปมาได้ นอกจากนี้เขายังสามารถรูดบัตรเครดิตได้ ขยับนิ้วมือแต่ละนิ้วได้ และยังจับแปรงสีฟันได้ด้วย

นอกจากนี้ เขายังเล่นวิดีโอเกมส์ยอดนิยม Guitar Hero ได้อีกด้วย

In this March 2016 photo provided by Ohio State University, Ian Burkhart plays a guitar video game as part of a study with neural bypass technology at The Ohio State University Wexner Medical Center in Columbus. A computer chip in Burkhart's brain reads h
In this March 2016 photo provided by Ohio State University, Ian Burkhart plays a guitar video game as part of a study with neural bypass technology at The Ohio State University Wexner Medical Center in Columbus. A computer chip in Burkhart's brain reads h

แต่กิจกรรมเหล่านี้ยังจำกัดอยู่แต่ในห้องทดลองเท่านั้น และนาย Burkhart สามารถใช้มือขวาทำงานง่ายๆ เหล่านี้ได้เพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อหนึ่งสัปดาห์ เพราะมีสายเชื่อมโยงตัวเขาเข้ากับอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่แปลงสัญญาณสมอง เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อให้ทำงานตามต้องการ

Dr. Ali Rezai ผุ้เชี่ยวชาญด้านประสาทสมองแห่งมหาวิทยาลัย Ohio State University และผู้ร่างรายงานผลการทดลองนี้กล่าวว่า อุปกรณ์นี้แปลงความคิดของผู้ป่วยเป็นสัญญาณคำสั่ง และภายในเสี้ยววินาทีจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานตามความคิดของผู้ป่วย

ระบบนี้ทำงานผ่านสายเคเบิลที่ติดเข้ากับตัวโปรเจ็คชั่นขนาดเล็กที่ติดอยู่ที่ศรีษะของผู้ป่วย สายเคเบิลนี้จะนำสัญญาณสมองของผู้ป่วยไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งโปรแกรมให้แปลงสัญญาณจากสมองของนาย Burkhart เป็นคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อแขน ว่าเขาต้องการทำอะไร

จากเครื่องคอมพิวเตอร์ คำสั่งจากสมองนี้ถูกส่งไปในรูปของสัญญาณอิเล็คโทรดประมาณ 160 อิเล็คโทรด ไปยังหน้าเเขนของเขา ตัวอิเล็คโทรดเหล่านี้จะทำหน้าที่กระตุ้นให้การทำงานของกล้ามเนื้อในส่วนแขนและนิ้วมือของผู้ป่วย

สำนักข่าวเอพีรายงานว่านาย Burkhart มีความรู้สึกเล็กน้อยที่ต้นแขนตอนใช้โปรแกรมนี้แต่เขากล่าวว่าเเขนของเขาจะเหนื่อยล้าอย่างรวดเร็ว นอกเหนือจากนี้ เขากล่าวว่าการหัดใช้อุปกรณ์นี้ยังทำให้สมองเหนื่อยล้าอีกด้วยแต่เริ่มง่ายมากขึ้นเมื่อฝึกใช้งานบ่อยขึ้น

เมื่อต้องฝึกการทำงานชิ้นใหม่ นาย Burkhart กล่าวว่า เขาต้องใช้เวลาคิดเกี่ยวกับงานชิ้นใหม่ล่วงหน้า และต้องคิดให้ทะลุปรุโปร่งว่าต้องการสั่งให้มือหยิบจับอะไร

เรื่องราวของนาย Burkhart ช่วยให้ความหวังแก่ผู้ป่วยอัมพาตรายอื่นๆ และบรรดานักวิจัยกล่าวว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะพัฒนาในอนาคตเพื่อใช้กับอุปกรณ์นี้ จะช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องเชื่อมโยงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้อิสรภาพแก่ผู้ใช้มากขึ้น

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG