ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ซีอีโอตลาดหุ้นโตเกียวลาออก เซ่นระบบซื้อขายล่ม: คำในข่าว


A cyclist wearing a face mask rides past an electric quotation board displaying the morning numbers of the Nikkei 225 Index on the Tokyo Stock Exchange in Tokyo on May 28, 2020. (Photo by Philip FONG / AFP)
A cyclist wearing a face mask rides past an electric quotation board displaying the morning numbers of the Nikkei 225 Index on the Tokyo Stock Exchange in Tokyo on May 28, 2020. (Photo by Philip FONG / AFP)
Newsy Vocab
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:59 0:00


พาดหัวข่าวของรอยเตอร์ ระบุว่า Tokyo Stock Exchange CEO resigns over system failure หมายความว่า ซีอีโอตลาดหลักทรัพย์โตเกียวประกาศลาออกจากเหตุระบบซื้อขายล่ม

ข่าวนี้เล่าถึงการประกาศลาออกของนายโคอิชิโร่ มิยาฮาระ ซีอีโอตลาดหลักทรัพย์โตเกียวเมื่อวันจันทร์ และให้นายอากิระ คิโตยะ ผู้บริหารกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น มาดำรงตำแหน่งนี้แทน

นายมิยาฮาระ เป็นซีอีโอตลาดหุ้นคนแรกที่ประกาศลาออกจากตำแหน่ง สืบเนื่องมาจากปัญหาระบบการซื้อขายล่มเป็นเวลา 1 วันเต็ม เมื่อ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา นับเป็นปัญหาระบบขัดข้องเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ปี 1993

ปีนี้ไม่มีแค่เพียงตลาดหุ้นโตเกียวที่เกิดระบบขัดข้อง เพราะยังมีตลาดหุ้นออสเตรเลีย ยุโรป และนิวซีแลนด์ ที่ประสบปัญหาคล้ายกันในปีนี้ปีเดียว

ด้านนายคิโยตะ ที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ในวันจันทร์ กล่าวว่าตนมีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ด้วยการตัดเงินเดือนตัวเองลงครึ่งหนึ่งในระยะ 4 เดือน และมีผู้บริหารระดับสูงในตลาดหุ้นโตเกียวอีก 2 คนขอลดเงินเดือนตัวเอง 10% และ 20% เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์นี้ ด้านบริษัทฟูจิตสึ เจ้าของระบบการซื้อขายที่มีชื่อว่า Arrowhead ที่ประสบปัญหาครั้งนี้ ระบุเพียงว่าจะหารือเรื่องกันภายในเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปใดๆออกมา

คำในข่าว สัปดาห์นี้ ขอเสนอคำว่า outage เป็นคำนาม หมายถึง การทำงานผิดปกติ หรือระบบล่ม ระบบรวน จากประโยคในข่าวที่ว่า

The Oct. 1 outage came as Japan has been pushing to boost Tokyo’s standing as a global financial center. หมายความว่า ปัญหาระบบซื้อขายหลักทรัพย์ล่มเมื่อ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา มีขึ้นในจังหวะที่ญี่ปุ่นพยายามผลักดันบทบาทของตลาดหุ้นโตเกียวให้เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการเงินโลก

ในข่าวนี้เห็นคำที่คล้ายกันด้วยคือ glitch หมายถึงเหตุผิดปกติ เหตุขัดข้องบางประการ

สมมติว่าเรากำลังนำเสนองานอยู่แล้วดันเปิดไฟล์ไม่ได้ หรือภาพสไลด์ไม่ขึ้นจอใหญ่หน้าห้องประชุม เราอาจจะบอกว่า Sorry for the technical glitch. It is now being fixed and we will resume the presentation momentarily. หมายความว่า ขออภัยสำหรับเหตุขัดข้องทางเทคนิค ซึ่งเรากำลังเเก้ไขอยู่ และจะกลับมานำเสนองานต่อได้ในไม่ช้า

ในกรณีที่อยากพูดเป็นทางการมากขึ้น อาจบอกว่า technical malfunction หรือ ความผิดปกติทางเทคนิค หรือถ้าอยากพูดง่ายๆ ตรงกับภาษาไทย สามารถบอกว่า technical problem หรือปัญหาทางเทคนิค ตัวอย่างเช่น

We have experienced the same technical problem for almost a year. Should we consider an entirely new technology next year? หมายความว่า เราเจอกับปัญหาทางเทคนิคนี้มาเกือบจะปีหนึ่งแล้วนะ เราควรคิดที่จะเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีใหม่ในปีหน้าเลยดีไหม?

ต่อที่สำนวนเรื่องปัญหาเหตุขัดข้อง อาจถูกเปรียบเปรย ด้วยคำว่า hiccup หรือ สะอึก ตัวอย่างเช่น

The system went down during the product launch. The PR office tried to present it as a small hiccup, but the CEO was really embarrassed. หมายความว่า เหตุระบบล่มที่งานเปิดตัวสินค้า ฝ่ายพีอาร์พยายามบอกว่าเป็นเหตุขัดข้องเล็กน้อย แต่ท่านซีอีโอรู้สึกเสียหน้ามากเลย

ฝากอีกสำนวนที่เกี่ยวข้องกับเหตุขัดข้อง คือสำนวนที่ว่า hit a snag ตัวอย่างเช่น Stewart has got a job offer from this tech giant, but his hiring hit a snag when the firm suddenly downsized its workforce. หมายความว่า สจ๊วตได้งานใหม่ ที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ แต่ ปรากฏว่าการจ้างงานครั้งนี้ประสบปัญหาเมื่อบริษัทตัดสินใจลดขนาดองค์กรอย่างปัจจุบันทันด่วน

ส่งท้ายคำในข่าววันนี้ ด้วยคำคมเกี่ยวกับไฟดับ ซึ่งตรงกับคำว่า power outage จากพิธีรายการตลก Jimmy Kimmel ที่ว่า Power outages are like being grounded by God. You can’t do anything fun. หมายความว่า ไฟดับเหมือนการถูกพระเจ้าลงโทษไม่ให้ไปเที่ยวไหน คุณไม่สามารถทำอะไรสนุกๆได้เลย

XS
SM
MD
LG