ลิ้งค์เชื่อมต่อ

แดนกีวีเริ่มแล้ว! แบนถุงพลาสติก ฝ่าฝืนปรับกว่า 2 ล้านบาท


FILE - A shopper leaves a supermarket with goods in plastic bags in Christchurch, New Zealand, Aug. 10, 2018.
FILE - A shopper leaves a supermarket with goods in plastic bags in Christchurch, New Zealand, Aug. 10, 2018.
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:30 0:00

มาตรการห้ามใช้ถุงพลาสติกเริ่มมีผลบังคับใช้แล้วทั่วนิวซีแลนด์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป โดยหากพบว่าห้างร้านไหนยังให้ถุงพลาสติกแก่ลูกค้า อาจถูกลงโทษปรับไม่เกิน $67,000 หรือราว 2 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์หลายคนบอกว่ามาตรการนี้ยังคงน้อยเกินไปสำหรับการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในนิวซีแลนด์

แต่ละปี ชาวนิวซีแลนด์ใช้ถุงพลาสติกราว 750 ล้านชิ้น ซึ่งผลสำรวจชี้ว่าประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนมาตรการห้ามใช้ถุงพลาสติกที่รัฐบาลนิวซีแลนด์บอกว่าเป็นตัวการสำคัญในการทำลายสิ่งแวดล้อม

รัฐบาลแดนกีวีขอให้ประชาชนรายงานต่อทางการทันทีหากพบว่าห้างหรือร้านไหนที่ยังคงให้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งแก่ลูกค้าอยู่ นอกจากนี้จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปสุ่มตรวจตามร้านต่างๆ เป็นประจำ

ยูจีนี เซจ ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมของนิวซีแลนด์ กล่าวว่า คำสั่งแบนครั้งนี้คือส่วนหนึ่งของมาตรการกำจัด "วัฒนธรรมการทิ้งขยะ" ของนิวซีแลนด์

เธอบอกด้วยว่า คนรุ่นเก่าแก่ อย่างเช่นคุณยายของเธอนั้นแทบไม่ต้องใช้ถุงพลาสติกเวลาไปจ่ายตลาดหรือซื้อของ มาตรการนี้จึงเหมือนเป็นการย้อนไปสู่วัฒนธรรมแบบเดิมที่เรายังใช้ถุงพลาสติกไม่มากนัก

นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ จาซินดา อาร์เดิร์น ประกาศมาตรการห้ามใช้ถุงพลาสติกมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยคำสั่งที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. ครอบคลุมถึงถุงพลาสติกบางที่มีความหนาไม่ถึง 70 ไมครอน แต่ทางการยังคงยกเว้นให้ใช้ถุงขยะ ถุงผ้าร่ม และถุงสำหรับเก็บของเสียของสุนัขและสัตว์เลี้ยงต่างๆ

อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์นโยบายนี้บอกว่าช่องโหว่ที่เกิดจากมาตรการดังกล่าวคือ ห้างร้านต่างๆ จะสามารถขายถุงพลาสติกแบบหนาที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากขึ้น ซึ่งถุงพลาสติกดังกล่าวสามารถเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าถุงพลาสติกแบบบาง เพราะใช้เวลาย่อยสลายนานกว่า

ปัจจุบันมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมทั้ง จีนและฝรั่งเศส ได้ใช้กฎหมายจำกัดหรือห้ามใช้ถุงพลาสติกแบบที่นิวซีแลนด์นำมาใช้ในขณะนี้ และอีกหลายประเทศ รวมทั้ง แคนาดา ที่กำลังจะนำมาใช้เร็วๆ นี้เช่นกัน

XS
SM
MD
LG