ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รายงานพิเศษจากที่ประชุม NAFSA: ทำไมอันดับมหาวิทยาลัยไทยยังตามหลังประเทศอื่นในเอเชีย?


NAFSA
NAFSA

รายงานตอนที่สองจากงานประชุม NAFSA ครั้งที่ 67 ที่นครบอสตั้น ซึ่งเป็นมหกรรมการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ

please wait

No media source currently available

0:00 0:05:23 0:00
Direct link

รายงานตอนที่สองจากงานประชุม NAFSA ครั้งที่ 67 ที่นครบอสตั้น ซึ่งเป็นมหกรรมการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ เสนอข้อคิดของผู้บริหารวงการศึกษาไทยต่อคำถามที่ว่า ทำไมมหาวิทยาลัยไทยจึงตามหลังสถาบันต่างประเทศในเอเชียหลายแห่งในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก

บุคคลกรด้านวิชากรไทยและนักเรียนไทยสร้างชื่อเสียงระดับโลกอยู่บ่อยๆ แต่เมื่อพิจารณาอันดับมหาวิทยาลัยไทยใน ranking ระดับโลก หรือของเอเชีย สถาบันของเรายังตามหลังหลายประเทศอยู่มาก

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยของไทยให้สัมภาษณ์กับวีโอเอไทยที่นครบอสตั้น ขณะร่วมประชุม NAFSA ถึงความสำคัญของ ranking หรืออันดับของมหาวิทยาลัย ว่ามีน้ำหนักไม่น้อยในการสร้างการยอมรับเพื่อสานต่อกิจกรรมกับสถานศึกษาต่องประเทศ

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาตราจารย์ สุปรีดี ฤทธิรงค์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้หนึ่งที่คิดเช่นนั้น โดยในการจัดอันดับของ US News & World Report ของสหรัฐ สถาบันของไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดโผนี้คือมหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ที่ 453 และในการจัด ranking มหาวิทยาลัยในเอเชียโดยสถาบัน QS ของอังกฤษ ห้าอับดับแรกตกเป็นของสถาบันจากประเทศสิงคปร์ ฮ่องกงและเกาหลีใต้ มหิดลของเราอยู่อันดับ 40 ส่วนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ที่ 48

ดร. ม.ร.ว. กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่าสาเหตุหนึ่งที่ไทยยังตามหลังประเทศอื่นเรื่องอันดับมหาวิทยาลัยคือการขาดการสนับสนุนด้านการเงินจากภาครัฐเพื่อดึงดูดนักวิจัยชั้นนำจากต่างประเทศ

แต่สำหรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ รองคณะบดีฝ่ายการต่างประเทศและเครือข่ายสัมพันธ์ของวิทยาลัยนานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล สะท้อนว่าความสำเร็จของการขยับ ranking ให้สูงขึ้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทั้งหมดของการสร้างสถาบันการศึกษานานาชาติ

Nick Gozik
Nick Gozik

และในมุมมองของสถาบันต่างประเทศ Nick Gozik ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาต่างประเทศของ Boston College ที่สหรัฐบอกว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยของเขาส่งนักเรียนไปต่างประเทศกว่าพันคน และอันดับของมหาวิทยาลัยต่างประเทศช่วยสะท้อนคุณภาพของการศึกษา

อย่างไรก็ตามเขาบอกว่า ranking ไม่ใช่ทั้งหมดของปัจจัยที่ใช้ตัดสินใจ บางครั้งต้องเก็บข้อมูลจากคนในวงการด้วยกันว่านักเรียนอเมริกันที่ส่งไปต่างประเทศของสถาบันนั้นๆมีประสบการณ์อย่างไรบ้าง ซึ่งในทางกลับกัน มหาวิทยาลัยต่างประเทศก็สามารถมองได้ว่า ไม่จำเป็นต้องปรับทุกสิ่งทุกอย่างของความเป็นสถาบันให้เป็นไปตามเงื่อนไขของผู้จัดอันดับ

รายงานโดยและเรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท

XS
SM
MD
LG