ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'มิน อ่อง หล่าย' เปิดรายละเอียดแผนเลือกตั้งปีนี้ - เรียกร้องความสามัคคีในชาติ


Myanmar's Senior Gen. Min Aung Hlaing, head of the military council, inspects officers during a ceremony marking the 75th anniversary of Independence Day in Naypyitaw, Myanmar, Jan. 4, 2023.
Myanmar's Senior Gen. Min Aung Hlaing, head of the military council, inspects officers during a ceremony marking the 75th anniversary of Independence Day in Naypyitaw, Myanmar, Jan. 4, 2023.

พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำทหารที่ปกครองเมียนมา ประกาศรายละเอียดสำหรับการเลือกตั้งในปีนี้ และเรียกร้องให้ประเทศเกิดความกลมเกลียวกันเป็นหนึ่ง ขณะที่เขากล่าวสุนทรพจน์ในวันพุธเนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปีที่เมียนมาเป็นอิสระจากอังกฤษ

มิน อ่อง หล่าย เรียกร้องให้ทุกฝ่ายทั้งในและต่างประเทศสนับสนุนหลักการที่เขาเรียกว่า "ระบบประชาธิปไตยที่เเท้จริง แบบหลายพรรค อันจะส่งเสริมกฎเกณฑ์ให้เจริญงอกงาม"

หลักการที่ว่านี้เป็นสิ่งที่ฝ่ายทหารเมียนมากำหนดให้เป็นเป้าหมาย หลังจากที่โค่นอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของออง ซาน ซู จี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021

พลเอกอาวุโสผู้นี้ยังได้ประกาศอภัยโทษต่อนักโทษการเมือง 7,012 คนเนื่องในโอกาสนี้ด้วย อย่างไรก็ตามไม่มีสัญญาณว่าออง ซาน ซู จีจะได้รับการลดหย่อนโทษแต่อย่างใด โดยเธอถูกควบคุมตัวและเเทบไม่ได้สื่อสารต่อสาธารณะเลยตั้งเเต่กองทัพยึดอำนาจ

ซู จีวัย 77 ปี กำลังอยู่ในช่วงรับโทษจำคุกรวม 33 ปัจากการดำเนินคดีตามข้อหาของกองทัพที่มีเเรงจูงใจทางเมือง ในบรรดาข้อหาประกอบด้วยการมีวิทยุสื่อสาร "วอล์คกี้-ทอล์คกี้" อยู่ในครอบครอง ละเมิดข้อห้ามเรื่องโควิด-19 โกงเลือกตั้ง ก่อความไม่สงบ และคอร์รัปชั่น เป็นต้น

กองทัพกล่าวว่า จะจัดการเลือกตั้งภายในเดือนสิงหาคมนี้ ทั้งนี้ความคืบหน้าไปสู่การเลือกตั้งอาจเกิดขึ้น ณ สิ้นเดือนมกราคม เมื่อประกาศภาวะฉุกเฉินรอบล่าสุดที่กินระยะเวลา 6 เดือนจะหมดอายุลง

Myanmar Suu Kyi
Myanmar Suu Kyi

การยึดอำนาจของกองทัพที่เกิดขึ้น ถือเป็นการเดินทวนเข็มเดินตามเส้นทางประชาธิปไตยของเมียนมาช่วง 10 ปีก่อนหน้านั้น ซึ่งก่อนกระบวนการประชาธิปไตยเริ่มขึ้นเมียนมาอยู่ภายใต้การปกครองของทหารเป็นเวลาราว 50 ปี

กองทัพยึดอำนาจโดยอ้างว่าเกิดการโกงเลือกตั้งอย่างมโหฬารขึ้น แต่ผู้สังเกตการณ์อิสระไม่พบความผิดปกติใหญ่ ๆ เกิดขึ้นแต่อย่างใด

"เมื่อสามารถทำตามเงื่อนไขของภาวะฉุกเฉินเสร็จสิ้น การเลือกตั้งที่เป็นอิสระและยุติธรรมจะเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี 2008 และงานต่อจากนั้นจะได้รับการดำเนินการเพื่อส่งต่อหน้าที่เเห่งรัฐไปยังพรรคที่ชนะเลือกตั้ง ตามมาตรฐานประชาธิปไตย" มิน อ่อง หล่าย กล่าวขณะเป็นประธานในพิธีสวนสนามใหญ่ ที่กรุงเนปิดอว์

แผนจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามปรับภาพการยึดอำนาจให้เป็นปกติมากขึ้น โดยกระบวนการเลือกตั้งจะถูกควบคุมโดยทหาร และกองทัพได้ใช้เวลา 2 ปีที่ผ่านมาบั่นทอนความเข้มเเข็งของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม

ทั้งนี้พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือ "พรรคเอ็นเอลดี" ที่เคยมีซู จีเป็นผู้นำ และชนะเลือกตั้งอย่างขาดลอยในปี 2020 ได้อ่อนกำลังลงเมื่อผู้นำและนักการเมืองของพรรคหลายคนถูกจำคุก หรือกำลังหลบซ่อนอยู่

การยึดอำนาจของกองทัพเมียนมาเมื่อ 2 ปีก่อนนำมาซึ่งการประท้วงครั้งใหญ่ ที่ฝ่ายความมั่นคงใช้กำลังปราบปราม และนานาชาติประณามการกระทำของกองทัพเมียนมา รวมถึงใช้มาตรการลงโทษตอบโต้

เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติบางคนเรียกเหตุการณ์ในเมียนมาว่าเป็น "สงครามกลางเมือง"

ขณะเดียวกัน เกิดการสู้รบในส่วนต่าง ๆ ของเมียนมาอย่างต่อเนื่อง และมิน อ่อง หล่าย กล่าวในเเถลงการณ์วันพุธด้วยว่า "จำเป็นอย่างยิ่งที่ความขัดเเย้งภายในที่ใช้อาวุธต่อสู้กันต้องยุติลง เพื่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสันติสุขในชาติ"

เขาเสริมว่า "มีองค์กรบางแห่งและบางประเทศแทรกแซงกิจการภายในของเมียนมา อย่างไรก็ตามเราตัดสินใจเเล้วว่าจะยืนหยัดในเวทีโลก ขณะที่ยึดมั่นในนโยบายต่างประเทศของเราพื่อปกป้องอธิปไตย ความมั่นคง และผลประโยชน์เเห่งชาติของเรา"

  • ที่มา: เอพี
XS
SM
MD
LG