ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า 'การฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บ' เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง


please wait

No media source currently available

0:00 0:02:49 0:00

ในระหว่างการฟื้นฟูจากอาการบาดเจ็บรุนแรงที่หัวเข่าหลังเข้ารับการผ่าตัด Scott Monfort รู้ตัวดีว่าเขาไม่สามารถเดินได้อย่างมั่นใจเหมือนตอนก่อนได้รับบาดเจ็บ

เขากล่าวว่าเขายังจดจ่ออยู่กับความรู้สึกที่หัวเข่ามากขึ้นกว่าเดิม และรู้สึกว่าต้องระวังมากขึ้น และยังอยากสวมปลอกขาอยู่ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีผลอะไรนอกจากช่วยทำให้รู้สึกดีขึ้น

เเม้ว่าหัวเข่าจะหายเจ็บเเล้ว สมองของ Scott Monfort ยังคอยเตือนเขาอยู่ตลอดเวลาถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทำให้เขาเดินอย่างไม่เป็นธรรมชาติ เพราะพึ่งการประมวลผลข้อมูลจากการมองเห็นในขณะเดินเป็นหลัก

บรรดาเเพทย์ชี้ว่า มักพบเห็นลักษณะแบบเดียวกันนี้ในนักกีฬาที่กำลังฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บ

Jimmy Onate แห่ง Wexner Medical Center กล่าวว่า ผู้ป่วยที่กำลังฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บทางกาย ใช้การมองเห็นเป็นตัวช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกายแบบปกติ ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า สมองของผู้บาดเจ็บเกิดการเปลี่ยนแปลงในเเง่ของการประมวลข้อมูลจากจุดที่ได้รับบาดเจ็บ โดยเห็นได้จากภาพสเเกนสมองแบบ MRI โดยขณะทดลองเคลื่อนไหวขาข้างที่ฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บ สมองของ Monfort ผู้ป่วยเเสดงให้เห็นถึงการทำงานที่เเตกต่างไปจากการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการขยับขาข้างที่ปกติดี

หลังจากนั้น ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงทำการทดลองกับอุปกรณ์ที่ช่วยรบกวนกระบวนการประมวลผลข้อมูลจากการมองเห็น

Dustin Grooms แห่ง Ohio State University กล่าวว่า หากเราสามารถระงับการประมวลผลข้อมูลจากการมองเห็นของผู้ป่วยได้ เขาคิดว่าจะสามารถบังคับให้สมองให้ระบบรับความรู้สึกทำงานเเทนอย่างที่ควรจะเป็น เพื่อช่วยปรับปรุงให้การฟื้นฟูสภาพดีขึ้น และป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดอาการบาดเจ็บภายหลังจากนักกีฬากลับไปลงสนามอีกครั้ง

ทีมนักวิจัยให้ Scott Monfort สวมเเว่นตาชนิดพิเศษในตอนที่เขาออกกำลังกาย เพื่อขัดขวางการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลผ่านการมองเห็น และบังคับให้สมองของเขากลับไปใช้ระบบประสาทสัมผัสเเทนอย่างที่ควรจะเป็น

ทีมนักวิจัยชี้ว่า บรรดาเเพทย์ นักกายภาพบำบัด ผู้ฝึกฝนนักกีฬา และตัวนักกีฬาเอง ควรตระหนักในความเป็นจริง ที่ว่าสมองกับร่างกายของคนเราเชื่อมโยงกันเป็นระบบเดียว และการฟื้นฟูของร่างกายจากอาการบาดเจ็บเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง

(รายงานโดย George Putic / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว )

XS
SM
MD
LG