ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'รองปธน.แฮร์ริส' ร่วมประชุมอาเซียนสัปดาห์นี้ ท่ามกลางประเด็นท้าทายหลายด้าน


รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คามาลา แฮร์ริส
รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คามาลา แฮร์ริส

รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คามาลา แฮร์ริส จะเดินทางไปยังกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ในสัปดาห์นี้เพื่อร่วมประชุมสุดยอดของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ระหว่างวันที่ 4-7 กันยายนนี้

รองปธน. สหรัฐ ยังจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก หรือ East Asia Summit ซึ่งมีชาติอาเซียน 10 ประเทศ ร่วมหารือกับผู้นำจากสหรัฐฯ จีน รัสเซีย อินเดีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์

ประเด็นท้าทายสำคัญที่ผู้แทนของสหรัฐฯ ต้องเผชิญในการประชุมใหญ่ทั้งสองรายการนี้ มีตั้งแต่ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ สถานการณ์ในเมียนมา ไปจนถึงสงครามในยูเครน

ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้

ก่อนที่การประชุมครั้งนี้จะเริ่มขึ้นเพียงไม่กี่วัน จีนเพิ่งเปิดเผย "แผนที่มาตรฐาน" ประจำปีฉบับใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็น "เส้นประ 10 เส้น" ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ที่จีน ไต้หวัน และหลายประเทศในอาเซียน กล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อน ก่อให้เกิดความไม่พอใจให้แก่บรรดาประเทศเพื่อนบ้านของจีน

ปธน.สหรัฐฯ โจ ไบเดน แถลงข่าวร่วมกับนายกฯ ฟุมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น และประธานาธิบดี ยูน ซุก-ยอล ของเกาหลีใต้ ที่แคมป์เดวิด แมรี่แลนด์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2023 (แฟ้มภาพ)
ปธน.สหรัฐฯ โจ ไบเดน แถลงข่าวร่วมกับนายกฯ ฟุมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น และประธานาธิบดี ยูน ซุก-ยอล ของเกาหลีใต้ ที่แคมป์เดวิด แมรี่แลนด์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2023 (แฟ้มภาพ)

เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ปธน.ไบเดน ร่วมกับผู้นำญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ให้คำมั่นว่าจะจับมือกันสามฝ่ายเพื่อตอบโต้วิกฤตการณ์ในทะเลจีนใต้ รวมทั้งได้กล่าวเน้นย้ำถึง "ท่าทีอันก้าวร้าวของจีน" ในน่านน้ำดังกล่าวด้วย

โฆษกทำเนียบขาวกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้วว่า รองปธน.แฮร์ริส จะยืนยันสนับสนุน "เสรีภาพในการเดินเรือ การจัดการข้อพิพาทอย่างสันติ และการยึดมั่นต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ" ระหว่างการหารือเรื่องทะเลจีนใต้ในการประชุมอาเซียนครั้งนี้ด้วย

เมื่อปีที่แล้วระหว่างการเยือนเอเชีย แฮร์ริสได้เดินทางแวะที่เกาะพาลาวาน ของฟิลิปปินส์ ซึ่งห่างจากพื้นที่ขัดแย้งในทะเลจีนใต้ราว 330 กม.

Harris to Address Key Challenges with ASEAN Leaders
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:16 0:00

ความรุนแรงในเมียนมา

บรรดาสมาชิกอาเซียนยังคงมีจุดยืนที่แตกต่างกันในเรื่องการจัดการกับสถานการณ์ในเมียนมา โดยทั้งอินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนาม ต่างออกมาร่วมประณามการรัฐประหารและการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาลทหารเมียนมาระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติเมื่อปี 2021 แต่บรูไน กัมพูชา ลาว และไทย ยังคงไม่ทำเช่นนั้น

ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ใช้มาตรการลงโทษหลายชุดต่อรัฐบาลทหารเมียนมา โดยคาดว่ารองปธน.แฮร์ริส จะใช้โอกาสนี้เพื่อเน้นย้ำจุดยืนของสหรัฐฯ ที่ต่อต้านการรัฐประหาร และกระตุ้นให้เมียนมากลับคืนสู่เส้นทางประชาธิปไตยโดยเร็ว

รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คามาลา แฮร์ริส
รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คามาลา แฮร์ริส

สงครามในยูเครน

บางประเทศในกลุ่มอาเซียนค่อนข้างนิ่งเฉยในการประณามการรุกรานของรัสเซียต่อยูเครน เช่นเดียวกับประเด็นทะเลจีนใต้และเมียนมา

สิงคโปร์และฟิลิปปินส์คือสองประเทศที่ออกมาตำหนิการกระทำของรัสเซียอย่างแข็งกร้าว โดยสิงคโปร์ยังร่วมกับชาติตะวันตกในการใช้มาตรการลงโทษรัสเซียด้วย แต่อีกด้านหนึ่ง รัฐบาลทหารเมียนมาออกมาสนับสนุนรัสเซียในการรุกรานยูเครน โดยให้เหตุผลว่าเป็นการป้องกันอธิปไตยของรัสเซียเองต่อการคุกคามของชาติตะวันตก

ปธน.โจ ไบเดน เข้าร่วมประชุมสุดยอด อาเซียน-สหรัฐฯ ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2022
ปธน.โจ ไบเดน เข้าร่วมประชุมสุดยอด อาเซียน-สหรัฐฯ ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2022

เวียดนาม กัมพูชา และลาว ล้วนมีความสัมพันธ์ทางทหารที่ดีกับรัสเซีย ขณะที่มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย และไทย ต่างแสดงตัวเป็นกลางในเรื่องนี้

คาดว่าที่กรุงจาการ์ตา รองปธน.แฮร์ริส จะใช้คำพูดที่แข็งกร้าวต่อการกระทำของรัสเซีย และจะเรียกร้องอีกครั้งให้แก้ไขผลกระทบจากสงครามที่มีต่อทั่วโลก

  • ที่มา: วีโอเอ
XS
SM
MD
LG