ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์: หลัก 'ไม่แทรกแซง' ของอาเซียนควรแก้ไข หรือไปต่อ?


New Zealand's Foreign Minister Nanaia Mahuta (5th-L), Brunei’s Second Minister of Foreign Affair Erywan Yusof (6th-L) and Vietnam’s Foreign Minister Bui Thanh Son (7th-L) pose for a group photo with senior official leaders from (L-R) Amran Mohamed Zin of
New Zealand's Foreign Minister Nanaia Mahuta (5th-L), Brunei’s Second Minister of Foreign Affair Erywan Yusof (6th-L) and Vietnam’s Foreign Minister Bui Thanh Son (7th-L) pose for a group photo with senior official leaders from (L-R) Amran Mohamed Zin of

เป็นเวลาเกือบหนึ่งปีครึ่งแล้วหลังจากที่สมาคมอาเซียนประกาศฉันทามติ 5 ข้อ ในความพยายามหาทางออกให้กับวิกฤตเมียนมาหลังกองทัพโค่นอำนาจรัฐบาลของออง ซาน ซูจีผู้นำพลเรือน จนนำไปสู่การประท้วงและการปราบปรามอย่างรุนแรง

เวลาผ่านไปเนิ่นนานโดยไร้การปฏิบัติตามฉันทามติดังกล่าว จนทำให้เกิดคำถามตามมาว่าจุดยืนที่อยู่คู่อาเซียนเรื่องการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นยังคงใช้ได้กับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 กองทัพเมียนมาปฏิวัติรัฐบาลของซูจี ต่อมาในเดือนเมษายนอาเซียนจัดทำ ฉันทามติ 5 ข้อ ที่เรียกร้องการอำนวยความสะดวกต่องานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และงานของผู้แทนพิเศษที่ได้รับแต่งตั้งจากอาเซียน ตอนจนข้อเร่งเร้าให้หยุดการใช้ความรุนแรง ไปจนถึงแนวทางรวมให้ทุกคนในภาคส่วนมีบทบาทในการแก้ไขปัญหา

เมียนมาภายใต้รัฐบาลทหารไม่ดำเนินการใด ๆ ตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน เป็นเหตุให้อาเซียนไม่เชิญเมียนมาเข้าร่วมการประชุม

และแม้ไทยแสดงความพยายามที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับเมียนมา เช่น การจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการกับเมียนภายใต้กรอบอาเซียน แต่ความพยายามดังกล่าวต้องเผชิญกับเสียงไม่เห็นด้วยของบางประเทศ โดยเฉพาะจาก อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนของอาเซียนในเวลานี้

พานดู พราโยคา ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากหน่วยงาน National Research and Innovation Agency ของอินโดนีเซียกล่าวเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคมว่าการที่เมียนมาไม่ทำตามฉันทามติ 5 ข้อกระทบต่อภาพลักษณ์ของอาเซียนบนเวทีโลก

นักวิเคราะห์ผู้นี้บอกด้วยว่า บรรยากาศเช่นนี้ไม่เป็นผลดีต่ออาเซียนที่มักสนับสนุนความเป็นกลางท่ามกลางการแข่งช่วงชิงอำนาจในส่วนต่าง ๆ ของโลก

Brunei’s Second Minister of Foreign Affairs Erywan Yusof speaks during the ASEAN Post Ministerial Conference with the United Kingdom at the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) Foreign Ministers’ Meeting in Jakarta on July 13, 2023. (Photo by AJ
Brunei’s Second Minister of Foreign Affairs Erywan Yusof speaks during the ASEAN Post Ministerial Conference with the United Kingdom at the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) Foreign Ministers’ Meeting in Jakarta on July 13, 2023. (Photo by AJ

ต่อคำถามที่ว่า เมียนมากำลังหลบอยู่ข้างหลังหลักการอาเซียนเรื่องการไม่แทรกแซงกิจการภายในของต่างประเทศ หรือไม่

พานดู พราโยคากล่าวว่า แนวทางดังกล่าวไม่ควรบั่นทอนหลักการที่สำคัญด้านอื่น เช่น สิทธิมนุษยชน และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

เขาบอกว่า หลักการไม่แทรกแซงไม่ใช่คำตอบอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของทุกสถานการณ์ แม้ว่าจะเคยช่วยให้อาเซียนรักษาเอกภาพไว้ได้ก็ตาม

“ในกรณีของเมียนมาเราควรพิจารณาและปรับให้ (หลักการนี้) เป็นไปตามสถานการณ์” พราโยคากล่าว

จาวา โมฮามัด โรซิดิน ผู้สันทัดกรณีจากมหาวิทยาลัย Diponegoro กล่าวว่าไทยเคยพยายามเสนอให้อาเซียนปรับหลักการเรื่องการไม่แทรกแซง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

เขาจึงเสนอทางออกว่าควรมีการใช้หลักการที่เรียกว่า “Responsibility to Project” ซึ่งอนุญาตให้ประเทศ องค์กรระดับภูมิภาคและหน่วยงานภายนอกเข้าแทรกแซงเมื่อเกิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยเขาเห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมาคือกรณีตัวอย่างที่ควรเปิดให้มีการเข้าแทรกแซงเพื่อหยุดยั้งวิกฤตที่เกิดขึ้นกับประชาชน

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ตวนกู ไฟซาซิอะห์ กล่าวว่าหลักการไม่แทรกแซงไม่ใช่หลักที่เฉพาะเจาะจงเพียงแต่อาเซียนเท่านั้น เพราะพบว่าอยู่ในกฎบัตรของสหประชาชาติเช่นกัน

เขากล่าวปิดท้ายว่าอาเซียนเปิดกว้างที่จะให้มีการหารือในปัญหาที่หลากหลายที่ประเทศสมาชิกเผชิญอยู่

  • ที่มา: วีโอเอ

XS
SM
MD
LG