ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เปิดตัวนิทรรศการ “ผู้บุกรุกบนโลกไซเบอร์” ในอังกฤษ


นิทรรศการ “ผู้บุกรุกบนโลกไซเบอร์” ในอังกฤษ
please wait

No media source currently available

0:00 0:01:59 0:00

นิทรรศการ “ผู้บุกรุกบนโลกไซเบอร์” ในอังกฤษ

ที่ผ่านมาเราอาจเคยได้ยินเรื่องการโจรกรรมข้อมูลบนโลกอินเตอร์เน็ตมามากมาย และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดนิทรรศการในกรุงลอนดอน ได้รวบรวมเทคโนโลยีที่สามารถรุกล้ำความเป็นส่วนตัวได้โดยที่พวกเราคาดไม่ถึง

บนโลกอินเตอร์เน็ต ที่เราค้นหาข้อมูล หรือดาวน์โหลดภาพ เสียง วิดีโอ โปรแกรมต่างๆมาใช้งานได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายนั้น เราอาจต้องแลกด้วยข้อมูลส่วนตัวของเราโดยไม่รู้ตัว

และเลวร้ายกว่านั้น บนโลกที่ทุกอย่างไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ณ วันนี้เราอาจกลายเป็นสินค้าฟรีบนโลกออนไลน์ไปเสียเองก็ได้

ซึ่งนิทรรศการ The Glass Room ที่กรุงลอนดอน ของอังกฤษ เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่รวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้คนทั่วโลก เพื่อบอกว่าบนโลกออนไลน์ ไม่มีอะไรที่เป็นส่วนตัวอีกต่อไป

นิทรรศการเลือกจัดสถานที่ให้เหมือนกับร้านค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีทั้งคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต สมาร์ทโฟนจำนวนมาก จัดวางทั่วนิทรรศการ ทว่าไม่มีสินค้าใดวางขายจริงๆ

Stephanie Hankey จาก Tactical Tech อธิบายว่า The Glass Room อาจเหมือนร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่เราจัดวางทุกอย่างให้เหมือน พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่คอยให้ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่คุณใส่ลงไปบนโลกออนไลน์

Frederike Kaltheunder จาก Privacy International บอกว่า เราอาจจะคิดว่าเราสามารถไว้วางใจที่จะให้ข้อมูลส่วนตัวกับองค์กร หรือในที่ทำงาน แต่แท้ที่จริงแล้วเรากำลังถูกล้อมรอบด้วยระบบตรวจจับข้อมูลที่พยายามเก็บข้อมูลส่วนตัวของเรามากกว่านั้น

Craig Federighi, Senior Vice President of Software Engineering for Apple Inc., talks about face recognition with iOS at the company's World Wide Developers Conference in San Francisco, California, U.S. on June 13, 2016.
Craig Federighi, Senior Vice President of Software Engineering for Apple Inc., talks about face recognition with iOS at the company's World Wide Developers Conference in San Francisco, California, U.S. on June 13, 2016.

ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ที่สามารถระบุอารมณ์และเพศของใบหน้าที่ฉายบนจอคอมพิวเตอร์ ก่อนจะทำการประมวลผลว่า ตรงกับภาพของบุคคลใดที่มีคลังภาพมหาศาลอยู่ในอินเตอร์เน็ต หรือจะเป็นหนังสือเล่มหนา ที่ภายในบรรจุรหัสลับในการเข้าสู่บัญชีทั้งหมดของ LinkedIn ซึ่งถูกโจรกรรมครั้งใหญ่เมื่อ 5 ปีก่อน

Jashcha Kaykas Wolff จาก Mozilla บอกว่า หลายครั้งที่เราต้องไปเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่จับต้องไม่ได้ อย่างเรื่องความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย การแปลงรหัสข้อมูล ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ยากต่อการเข้าใจจนกว่าจะได้เห็น ได้สัมผัสในชีวิตจริง

โซนที่สามารถอธิบายความน่ากลัวของเทคโนโลยีเหล่านี้ ก็คือ Alphabet Empire ที่แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของคุ ณได้ทุกย่างก้าว ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ที่ติดตามปฏิกิริยาหรือการแสดงอารมณ์ของเราบนสื่อสังคมออนไลน์

Frederike ย้ำว่า หากมีองค์กรใดที่รู้ว่าใครรู้สึกอย่างไรได้แบบเรียลไทม์ เราต้องแน่ใจว่าองค์กรนั้นจะไม่ใช้สิ่งที่พวกเขารู้นี้ไปในทางที่ผิด

ก่อนหน้านี้ นิทรรศการ The Glass Room ประสบความสำเร็จอย่างมากในนิวยอร์ก ก่อนจะมาเปิดนิทรรศการที่กรุงลอนดอนของอังกฤษ เพื่อสะท้อนแนวคิดสำคัญที่ว่า ถ้าความรู้หรือข้อมูล คืออำนาจที่แท้จริงแล้ว บริษัทที่สามารถเก็บข้อมูลของเราบนโลกออนไลน์ได้มาก ก็จะยิ่งมีอำนาจมากนั่นเอง

XS
SM
MD
LG