ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิศวกรอินเดียแปลงคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 'หมึก' เพื่อลดมลพิษทางอากาศ


A view of a device created by company Chakr Innovation to remove soot from diesel general exhaust, to clean the air and to allow ink to be created from soot, on a building in Gurgaon, a satellite city of New Delhi, India, March 19, 2018.
A view of a device created by company Chakr Innovation to remove soot from diesel general exhaust, to clean the air and to allow ink to be created from soot, on a building in Gurgaon, a satellite city of New Delhi, India, March 19, 2018.

ภายใต้การกำกับงานของทีมวิศวกรหนุ่ม คนงานของบริษัท Chakr Innovation บริษัทสตาร์ทอัพในกรุงนิวเดลลี ทำการตัดและเชื่อมแผ่นเหล็กเพื่อผลิตเป็นอุปกรณ์ดักจับควันเสียที่ออกมาจากเครื่องปั่นไฟน้ำมันดีเซล เเล้วแปลงให้เป็นน้ำหมึก

ในสำนักงานเล็กๆ ทีมวิศวกรหนุ่มของบริษัทกำลังค้นหาวิธีการใช้งานเทคโนโลยีที่พวกเขาคิดค้นขึ้นเพื่อให้หลากหลายมากขึ้น พวกเขาหวังว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงนิวเดลลี เมืองหลวงของอินเดีย ซึ่งถือว่ามีคุณภาพอากาศที่แย่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ขณะที่จำนวนรถยนต์หลายล้านคันในกรุงนิวเดลลีถือเป็นต้นเหตุของมลพิษทางอากาศที่ร้ายแรงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สาเหตุหลักอีกอย่างหนึ่งคือการใช้เครื่องปั่นไฟที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง โดยใช้กันอย่างกว้างขวางในภาคอุตสาหกรรมเเละในอาคารบ้านเรือนเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในบ้านเเละสำนักงาน ในช่วงที่กระเเสไฟฟ้าดับที่เกิดขึ้นบ่อยในช่วงฤดูร้อนโดยมีการติดตั้งเครื่องปั่นไฟไว้หลังบ้านหรือในชั้นใต้ถุนของอาคารเพื่อไม่ให้คนเห็น

เทคโนโลยีที่บริษัทสตาร์ทอัพแห่งนี้พัฒนาขึ้นมานี้ ใช้วิธีการทำให้ควันเสียเย็นตัวลงในส่วนของอุปกรณ์ที่เรียกว่า "จุดแลกเปลี่ยนความร้อน" ซึ่งเป็นจุดที่ฝุ่นละอองขนาดจิ๋วมารวมตัวกัน หลังจากนั้นจะส่งต่อฝุ่นละอองเหล่านี้ไปยังห้องว่างในตัวอุปกรณ์อีกห้องหนึ่งเพื่อดักจับฝุ่นละอองอีก 70 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแยกออกไปต่างหากเพื่อแปรสภาพให้กลายเป็นน้ำหมึก

ในขณะนี้ ทางการเน้นปรับปรุงคุณภาพอากาศในกรุงนิวเดลลีด้วยการลดควันเสียจากท่อไอเสียรถยนต์ เเละมีการออกกฏระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นกับบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ เเต่กลับไม่มีการควบคุมใดๆ ต่อควันเสียที่ออกมาจากเครื่องปั่นไฟที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG