ลิ้งค์เชื่อมต่อ

คนอเมริกันเชื้อสายอาหรับและมุสลิม 'เจ็บปวดซ้ำสาม' จากเหตุการณ์ 9/11


Khudeza Begum traces the name of her slain nephew on the 11th anniversary of the terrorist attacks on the World Trade Center in New York. Begum lost her nephew, Nural Miah, and his wife, Shakila Yasmin, in the attacks on Sept. 11, 2001.
Khudeza Begum traces the name of her slain nephew on the 11th anniversary of the terrorist attacks on the World Trade Center in New York. Begum lost her nephew, Nural Miah, and his wife, Shakila Yasmin, in the attacks on Sept. 11, 2001.
How 911 Changed Arab Am
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:45 0:00

การโจมตีของผู้ก่อการร้ายในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 20 ปีที่แล้ว ไม่เพียงแค่สร้างบาดแผลในความรู้สึกของชาวอเมริกันเชื้อสายอาหรับและที่เป็นชาวมุสลิมเท่านั้น แต่คนเหล่านี้ยังได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากมาตรการและนโยบายต่างๆ ที่ทางการสหรัฐฯ นำมาใช้หลังเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย

อย่างเช่น เมื่อวันที่ 11 กันยายนปี 2001 คุณโมนา เอเมอร์ สตรีอเมริกันชาวมุสลิมเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตวิทยาลัยอยู่ที่รัฐโอไฮโอ เธอเห็นข่าวเครื่องบินพุ่งเข้าชนอาคารเวิล์ดเทรดเซ็นเตอร์จากโทรทัศน์พร้อมกับเพื่อนและอาจารย์ และจำได้ว่าความรู้สึกขณะนั้นคือตกตะลึง กลัว สับสนและสิ้นหวัง

แต่หลังจากที่รายงานข่าวของโทรทัศน์บางสถานีเริ่มคาดการณ์เกี่ยวกับภูมิหลังของผู้จี้บังคับเครื่องบินเข้าชนตึกแล้ว เธอก็รู้ทันทีว่าชีวิตของเธอได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

Mona Amer
Mona Amer


คุณเอเมอร์ บอกว่า แม้กระทั่งก่อนเหตุการณ์ 11 กันยายน ในฐานะคนอเมริกันเชื้อสายอาหรับนั้นเธอได้ถูกแบ่งแยกปฏิบัติอยู่แล้ว อย่างเช่น การขอเช่าอพาร์ตเมนต์บางแห่ง แต่หลังจาก 11 กันยายนปี 2001 เธอยิ่งต้องระวังตัวมากขึ้นในที่สาธารณะ

และแม้กระทั่งงานวิจัยของเธอเรื่องสุขภาพจิตและการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่ของคนอเมริกันเชื้อสายอาหรับก็ถูกอาจารย์ขอให้ระงับไปก่อนเพราะไม่อยากให้เป็นที่สะดุดตาของเจ้าหน้าที่ แต่เมื่อเธอกลับมาทำโครงการต่อและตีพิมพ์งานวิจัยนี้เธอก็ได้รับอีเมลโจมตีรวมทั้งได้รับคำขู่ฆ่าด้วย

คุณโมนา เอเมอร์ เป็นตัวอย่างหนึ่งของชาวอเมริกันมุสลิมและคนเชื้อสายอาหรับที่ได้รับ 'บาดแผลซ้ำสาม' จากเหตุการณ์ 11 กันยายน

อาจารย์วาฮิบา อาบูราส ของมหาวิทยาลัย Adelphi University ในรัฐนิวยอร์ก ชี้ว่าบาดแผลแรกสุดนั้นมาจากการได้เห็นเหตุการณ์ที่น่าตกใจในวันเกิดเหตุ บาดแผลที่สองมาจากปฏิกิริยาและการโจมตีจากสังคมและคนรอบตัว ส่วนบาดแผลที่ตอกย้ำซ้ำสามนั้นคือนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีขึ้นเพื่อมุ่งตรวจสอบคนอเมริกันเชื้อสายอาหรับและทำให้คนกลุ่มนี้ตกเป็นเป้าของการก่อกวนรังควานและถูกแบ่งแยกปฏิบัติมากขึ้นอีก

ยกตัวอย่างเช่น สามเดือนหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน ปี 2001 กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ขณะนั้นมีแผนสอบปากคำคนอเมริกันเชื้อสายอาหรับราวห้าพันคนในสหรัฐฯ เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของผู้ก่อการร้าย

ในปีถัดมา ผู้ชายจากประเทศมุสลิมบางประเทศถูกกำหนดให้ต้องลงทะเบียนรายงานตัวและพิมพ์ลายนิ้วมือกับรัฐบาลกลาง และกองบัญชาการตำรวจของนครนิวยอร์กก็ได้ส่งสายสืบเข้าไปสอดแนมในกลุ่มและชุมชนของชาวมุสลิมหรือแม้กระทั่งในทีมกีฬา แต่ก็ไม่พบเบาะแสของการก่อการร้ายหรือมีการจับกุมแต่อย่างใด

A man paints over racist graffiti, which included such pronouncements as "Muslims out," on the side of a mosque in what officials are calling an apparent hate crime, in Roseville, California, Feb. 1, 2017.
A man paints over racist graffiti, which included such pronouncements as "Muslims out," on the side of a mosque in what officials are calling an apparent hate crime, in Roseville, California, Feb. 1, 2017.

มาตรการที่มุ่งเป้าไปที่คนอาหรับและมุสลิม

โดยรวมแล้ว ในช่วง 12 เดือนหลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายนปี 2001 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้นำแผนงานหรือนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายราว 20 มาตรการมาใช้ และในจำนวนนี้มี 15 รายการซึ่งมุ่งเป้าต่อชาวอเมริกันเชื้อสายอาหรับหรือชาวอเมริกันมุสลิมโดยเฉพาะ

แต่ถึงแม้คนกลุ่มดังกล่าวจะถูกจับตามองเป็นพิเศษหลังการโจมตีของผู้ก่อการร้ายเมื่อ 20 ปีที่แล้วก็ตาม จนถึงขณะนี้ อาจารย์หลุยส์ เคนคาร์ จากมหาวิทยาลัย Marquette ในรัฐวิสคอนซิน ก็ชี้ว่า กลุ่มคนดังกล่าวยังไม่ได้รับการยอมรับตัวตนในแง่ของกลุ่มประชากรอย่างเป็นทางการ

ตัวอย่างเช่น ในการสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ ซึ่งทำทุก 10 ปีครั้งล่าสุดนั้น ไม่มีคำตอบหรือประเภทของกลุ่มประชากรให้ชาวอเมริกันเชื้อสายอาหรับเหล่านี้เลือกตอบในแบบสอบถามแต่อย่างใด

นอกจากนั้น ชนกลุ่มน้อยในอเมริกาที่ว่านี้ก็ตกเป็นเป้าของ Hate Crime หรืออาชญากรรมซึ่งมีที่มาจากความรู้สึกเกลียดชังมากขึ้นด้วย โดยคุณไบรอัน เลวิน ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาด้านความเกลียดชังและแนวคิดสุดโต่งของมหาวิทยาลัย California State University ที่เมืองซานเบอร์นาดีโน ชี้ว่า ช่วงหลังเหตุการณ์ 11 กันยายนปี 2001 เป็นเวลาที่เลวร้ายที่สุดของ Hate Crime ต่อคนกลุ่มนี้ คือเพิ่มขึ้นจากราว 30 ครั้งในปีก่อนหน้า มาเป็น 481 ครั้งเฉพาะในปี 2001

และเมื่อใดก็ตามที่มีรายงานข่าวการโจมตีจากกลุ่มชาวมุสลิมแนวคิดสุดโต่งในต่างประเทศ Hate Crime ที่มีต่อกลุ่มชาวมุสลิมในอเมริกาก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

In this Thursday, April 30, 2020 photo, a billboard highlighting the 2020 Census is seen in Dearborn, Mich. The Arab American community checks many boxes that census and nonprofit officials say are hallmarks of the hardest-to-count communities:…
In this Thursday, April 30, 2020 photo, a billboard highlighting the 2020 Census is seen in Dearborn, Mich. The Arab American community checks many boxes that census and nonprofit officials say are hallmarks of the hardest-to-count communities:…

คุณโมนา เอเมอร์ ซึ่งขณะนี้เป็นอาจารย์ด้านจิตวิทยาชุมชนอยู่ที่มหาวิทยาลัย American University ในกรุงไคโรของอียิปต์ บอกว่า ชาวมุสลิมในอเมริกามีปัญหาความวิตกกังวล ความกลัว และความสลดหดหู่อยู่ในระดับสูง และรู้สึกว่าตัวเองไม่ปลอดภัยอยู่แล้ว แต่ก็พยายามสร้างความเข้มแข็งขึ้นจากประสบการณ์และสร้างชุมชนของตนให้แข็งแกร่งขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว

และอาจารย์หลุยส์ เคนคาร์ ของมหาวิทยาลัย Marquette ก็กล่าวว่า ถ้ามองในแง่ดีเรื่องนี้ยังพอมีความหวังอยู่ เพราะขณะนี้คือ 20 ปีหลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายนกำลังมีชุมชนและชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในอเมริกามากขึ้นที่พร้อมจะเข้าสนับสนุนและช่วยปกป้องชาวอเมริกันมุสลิมและคนอเมริกันเชื้อสายอาหรับมากกว่าที่เคยเป็นมา

XS
SM
MD
LG