ลิ้งค์เชื่อมต่อ

‘กูเกิ้ล’ ขู่! ระงับบริการเสิร์ชเอนจินในออสเตรเลีย


FILE PHOTO: A Google sign is shown at one of the company's office complexes in Irvine
FILE PHOTO: A Google sign is shown at one of the company's office complexes in Irvine

เมื่อวันศุกร์ กูเกิ้ลประกาศขู่ระงับบริการให้บริการเสิร์ชเอนจินในออสเตรเลีย หากรัฐบาลออสเตรเลียยังคงเดินหน้ายื่นยันให้กูเกิ้ลชำระเงินค่าเนื้อหาข่าว ต่อผู้ผลิตเนื้อหาข่าวที่กูเกิ้ลแสดงผลเมื่อผู้ใช้งานค้นหาข้อมูล

นายกรัฐมนตรีสก็อต มอร์ริสัน ตอบโต้ทันทีว่า ออสเตรเลียจะไม่ตอบสนองต่อการขู่ดังกล่าว และยืนยันว่าสภาและรัฐบาลออสเตรเลียจะยังคงใช้กฎระเบียบสำหรับกิจการต่างๆ ในประเทศต่อไป

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ ถือเป็นบทบาทนำของออสเตรเลียในเวทีโลกต่อการรับมือกับอิทธิพลของบริษัทเคโนโลยียักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันต่อธุรกิจสื่อ

ท่าทีของผู้นำออสเตรเลียมีขึ้นหลังจากที่ เมล ซิลวา ผู้อำนวยการบริหารของกูเกิ้ลออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ บอกกับคณะกรรมการไต่สวนของวุฒิสภาออสเตรเลียว่า กฎใหม่นี้จะไม่สามารถนำมาปฏิบัติจริงได้ ซึ่งหากมีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวจริง กูเกิ้ลก็ “ไม่มีทางเลือก” แต่ต้องระงับการให้บริการเสิร์ชเอนจินในออสเตรเลีย

“นั่นเป็นทางออกที่ไม่ดีไม่ใช่แค่กับทางเรา แต่กับชาวออสเตรเลีย กับความหลากหลายของสื่อ และกับธุรกิจขนาดเล็กที่ใช้บริการผลิตภัณฑ์ของเราทุกวันด้วย” ซิลว่ากล่าวกับวุฒิสภา

ทั้งนี้ ระเบียบจรรรยาบรรณที่รัฐบาลออสเตรเลียจะใช้บังคับนี้ จะกำหนดให้กูเกิ้ลและเฟซบุ๊กชำระเงินแก่สื่อออสเตรเลียอย่างเป็นธรรมต่อเนื้อหาข่าวที่กูเกิ้ลนำมาจากสื่อเหล่านี้

(FILES) This file illustration photo taken on February 18, 2019 shows the US multinational technology and Internet-related services company Google logo displayed on a tablet in Paris. - Google's cloud-hosted email service suffered a "significant"…
(FILES) This file illustration photo taken on February 18, 2019 shows the US multinational technology and Internet-related services company Google logo displayed on a tablet in Paris. - Google's cloud-hosted email service suffered a "significant"…



นอกจากออสเตรเลียแล้ว ประเทศอื่นๆ ยังกดดันให้กูเกิ้ลชำระเงินค่าข่าวด้วยเช่นกัน โดยเมื่อวันพฤหัสบดี กูเกิ้ลลงนามข้อตกลงกับสำนักพิมพ์ของฝรั่งเศสกลุ่มหนึ่งเพื่อให้กูเกิ้ลชำระเงินค่าลิขสิทธิ์ดิจิทัล โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว กูเกิ้ลจะเจรจาลิขสิทธิ์กับหนังสือพิมพ์แต่ละเจ้า และจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ตามปัจจัยต่างๆ เช่น จำนวนข่าวที่ตีพิมพ์ต่อวัน หรือจำนวนผู้เข้าชมออนไลน์ต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม กูเกิ้ลต่อต้านแผนของรัฐบาลออสเตรเลีย เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวจะทำให้กูเกิ้ลสามารถควบคุมจำนวนเงินที่ต้องชำระได้น้อยลง โดยทางออสเตรเลียกำหนดว่า หากผู้ให้บริการพื้นที่ออนไลน์และธุรกิจสื่อไม่สามารถตกลงราคาค่าข่าวได้ คณะอนุญาโตตุลาการจะเป็นผู้กำหนดค่าใช้จ่ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม

ซิลวากล่าวว่า กูเกิลยินดีที่จะชำระเงินให้สำนักข่าวหลากหลายกลุ่ม แต่ไม่ใช่ตามกฎของรัฐบาลออสเตรเลีย ที่กำหนดให้กูเกิ้ลต้องชำระเงินค่าลิงค์ข่าวและข่าวชิ้นเล็กด้วย

เธอระบุว่า กฎหมายที่กำหนดให้มี “รูปแบบอนุญาโตตุลาการที่ลำเอียง” นี้ จะทำให้กูเกิ้ลเผชิญความเสี่ยงของการประกอบกิจการและด้านการเงิน โดยเธอเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว

ทั้งนี้ กูเกิ้ลครองพื้นที่เสิร์ชเอนจิ้นในออสเตรเลีย โดยซิลวาให้ข้อมูลแก่วุฒิสมาชิกว่า การค้นหาข้อมูลในออสเตรเลียราว 95 เปอร์เซ็นต์นั้นทำโดยผ่านกูเกิ้ล

เธอยังตอบคำถามวุฒิสมาชิกด้วยว่า กูเกิ้ลเสียภาษีเมื่อปีที่แล้วราว 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากรายได้ 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ทางด้านเฟซบุ๊กก็ต่อต้านกฎหมายของออสเตรเลียเช่นกัน และขู่ว่าจะนำข่าวออกจากหน้าเฟซบุ๊กในออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม สถาบันวิจัย Australia Institute ระบุว่า ออสเตรเลียควรยืนยันต่อสู้กับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ต่อไป

ปีเตอร์ ลีวิส ผู้อำนวยการศูนย์ Center for Responsible Technology ของสถาบันดังกล่าวระบุว่า ท่าทีของกูเกิ้ลเป็นการแสดงถึง “พฤติกรรมข่มขู่” ต่อคุณค่าของประชาธิปไตย

XS
SM
MD
LG