ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'สัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจ' เตรียมถูกห้ามขึ้นเครื่องบินในอเมริกา


FILE - In this Sept. 20, 2017, file photo Oscar the cat, who is not a service animal, sits in his carry on travel bag after arriving at Phoenix Sky Harbor International Airport in Phoenix.
FILE - In this Sept. 20, 2017, file photo Oscar the cat, who is not a service animal, sits in his carry on travel bag after arriving at Phoenix Sky Harbor International Airport in Phoenix.

กระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ ประกาศเมื่อวันพุธว่า ได้เสนอกฎเกณฑ์ใหม่ในการนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเครื่องบิน กล่าวคือ จากนี้ไปจะมีเพียงสุนัขที่ผ่านการฝึกมาแล้วเท่านั้นที่จะถูกจัดให้เป็น "สัตว์ช่วยเหลือ" (service animals) ซึ่งอนุญาตให้เจ้าของสามารถนำขึ้นเครื่องบินโดยสารในอเมริกาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

แต่ "สัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจ" ประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็น แมว กระต่าย เต่า หรือสัตว์อื่น ๆ จะสามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของสัตว์เหล่านั้นยอมจ่ายค่าธรรมเนียมราคาแพงเท่านั้น

เจ้าหน้าที่คมนาคมสหรัฐฯ ระบุการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีขึ้นเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารส่วนใหญ่ หลังจากมีรายงานว่ามีผู้โดยสารบางคนที่นำสัตว์เลี้ยงที่ไม่เข้าข่ายสัตว์ช่วยเหลือขึ้นไปบนเครื่องด้วย

สายการบินต่าง ๆ ในสหรัฐฯ รายงานว่า สัตว์ช่วยเหลือที่ถูกนำขึ้นเครื่องไปด้วยนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึง หมู ไก่งวง งู และสัตว์แปลก ๆ อีกหลายชนิด

บรรดาเจ้าหน้าที่สายการบินเชื่อว่า เจ้าของสัตว์เลี้ยงจำนวนมากใช้วิธีสวมอ้างว่าสัตว์เลี้ยงของตนเป็น "สัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจ" เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าธรรมเนียมการนำสัตว์ขึ้นเครื่อง ซึ่งอาจสูงกว่า 100 ดอลลาร์ หรือกว่า 3,000 บาท ในการเดินทางแต่ละครั้ง

ทางสายการบินได้พยายามวิ่งเต้นให้รัฐบาลสหรัฐฯ เข้ามาควบคุมเรื่องนี้ เพื่อให้ผู้โดยสารทุกคนรู้สึกสบายใจและปลอดภัยเวลาเดินทาง จนกระทั่งกระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ ตัดสินใจปรับเปลี่ยนมาตรการดังกล่าว ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมจากทั้งสายการบินต่าง ๆ และบรรดาพนักงานให้บริการบนเครื่องบิน

โดยประชาชนทั่วไปมีเวลา 60 วันในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ และอาจมีผลบังคับใช้ทันทีหลังจากผ่าน 60 วันไปแล้ว

สายการบิน Southwest Airlines คือสายการบินที่มีผู้นำสัตว์เลี้ยงเยียวยาจิตใจขึ้นเครื่องไปด้วยมากที่สุดในแต่ละปี คือมากกว่า 190,000 ตัว รองลงมาคือ American Airlines ที่จำนวน 155,790 ตัว

XS
SM
MD
LG