ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์: การกีดกันทางการค้าทำให้ปัญหาขาดแคลนสินค้าดำเนินต่อไป


Containers are stacked at the Port of Los Angeles in Los Angeles, Oct. 1, 2021.
Containers are stacked at the Port of Los Angeles in Los Angeles, Oct. 1, 2021.
Economic Protectionism
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:22 0:00


สถานการณ์ที่ประเทศต่างๆ ประสบปัญหาการขาดแคลนสินค้าอย่างหนัก ทำให้นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนออกมาเตือนว่า โลกกำลังจะเข้าสู่ยุคที่ขาดแคลนทรัพยากรแล้ว

รายงานของสำนักข่าววีโอเอ เปิดเผยว่า นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนได้ออกมาเตือนว่าโลกกำลังจะเข้าสู่ยุคที่ขาดแคลนทรัพยากรแล้ว เนื่องจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและกระแสการกีดกันทางค้าที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการที่สหรัฐฯ และประเทศพัฒนาต่างๆ มีปัญหาในการจัดหาสินค้าต่างๆ อย่างยากลำบาก ตั้งแต่เสื้อผ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จนถึงไมโครชิปของคอมพิวเตอร์เพื่อมารองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นมา หลังจากภาวะการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทุเลาลง

The Economist นิตยสารชื่อดังของสหราชอาณาจักร ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวในสัปดาห์นี้ และอธิบายว่า ปรากฏการณ์การขาดแคลนสินค้าในประเทศต่างๆ เกิดจากการเรียกเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นและกฎหมายทางค้าที่เข้มงวดของรัฐบาลเพื่อจะที่ลดการนำเข้าสินค้าและปกป้องตลาดภายในประเทศ

FILE - Empty shelves are seen in the meat aisle of Co-Op supermarket, Harpenden, Britain, Sept. 22, 2021.
FILE - Empty shelves are seen in the meat aisle of Co-Op supermarket, Harpenden, Britain, Sept. 22, 2021.

บทความดังกล่าวท้วงติงว่า นโยบายเหล่านี้ไม่ได้คิดถึงกลไกของเศรษฐกิจโลกและทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ ขึ้น โดยยกตัวอย่างเช่น การที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ไม่ได้ยกเลิกอัตราการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนสูง ที่รัฐบาลอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศใช้ไว้

อย่างไรก็ตาม นักต่อต้านการค้าเสรีหลายๆคนกลับรู้สึกยินดีถึงกระแสการกีดกันทางการค้า (economic protectionism) ที่เกิดขึ้น โดยให้เหตุผลว่าโลกาภิวัตน์ (globalization)ได้ทำให้ผู้คนในประเทศที่พัฒนาแล้วตกงานมากมาย ซ้ำยังก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกับทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทางสังคมอีกด้วย

การกีดกันทางการค้านั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา และศูนย์ข้อมูลทางเศรษฐกิจของกรุงลอนดอน (Center for Economic Policy Research) ระบุว่า ในเวลานี้ กว่า 50% ของสินค้าที่ส่งออกสินค้าจากประเทศในกลุ่ม G-20 ถูกเรียกเก็บภาษีทางการค้า โดยสัดส่วนดังกล่าวเป็นการปรับขึ้นจากระดับ 20% เมื่อปี ค.ศ. 2009

ขณะนี้ รัฐบาลในหลายประเทศได้แสดงท่าทีที่ไม่ประสงค์จะลงนามข้อตกลงการค้าเสรีใหม่ๆ และเปลี่ยนกลยุทธ์มาเน้นเรื่องการพัฒนากำลังการผลิตภายในประเทศและการเสริมสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจในชาติของตนเองแทน

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซีอีโอของบริษัทชั้นนำกว่า 17 ประเทศได้เข้าร่วมประชุมประจำปีของ World Economic Forum (WEF) ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และย้ำถึงโอกาสที่ดีที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือทางการค้าและการลงทุนตามมุมต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ซึ่งเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวจากการระบาดของโคโรนาไวรัส

กลุ่มซีอีโอที่เข้าร่วมการประชุม WEF เห็นพ้องต้องกันว่า การค้าและการลงทุนนั้นมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาของมนุษยชาติ และการฟื้นตัวของนานาประเทศทั่วโลกนั้นจะเกิดขึ้นได้จากการฟื้นตัวของการค้า ขณะที่ รัฐบาลทั้งหลายต้องหันกลับมาประสานความร่วมมือด้านการค้าอีกครั้งอย่างสร้างสรรค์และหลีกเลี่ยงการกีดกันทางการค้าด้วย

นอกจากนั้น ผู้บริหารทั้งหลายยังระบุว่า “การร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและทางสังคม จะนำไปสู่การประสานความร่วมมือทางการค้าที่จะช่วยป้องกันเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่งไม่ให้ตกอยู่ในภาวะย่ำแย่ ทั้งยังจะช่วยป้องกันการบิดเบือนตลาดที่อาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อสินค้าและบริการต่างๆ ขณะที่ ความร่วมมือทางการค้าจะสามารถช่วยพัฒนาปรับปรุงสมาชิกในสังคมที่ถูกมองข้ามและด้อยโอกาส ซึ่งรวมถึง สตรีและชนกลุ่มน้อย ได้”

FILE - President Joe Biden, right, listens as British Prime Minister Boris Johnson speaks during a meeting in the Oval Office of the White House, Sept. 21, 2021.
FILE - President Joe Biden, right, listens as British Prime Minister Boris Johnson speaks during a meeting in the Oval Office of the White House, Sept. 21, 2021.

แต่คำเรียกร้องให้มีการร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ นั้น ยังคงต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยดูได้จากกรณีที่ ปธน.ไบเดน ส่งสัญญาณว่า ความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะลงนามข้อตกลงการค้าเสรีกับสหราชอาณาจักร หลังถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป หรือ เบร็กซิต นั้นยังไม่น่าจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ โดยผู้นำสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตนจะหารือเรื่องดังกล่าว “บ้าง” กับ นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ของอังกฤษ ระหว่างการเดินทางเยือนทำเนียบขาวและร่วมหารือในระดับทวิภาคีเมื่อเดือนที่แล้ว แม้ฝั่งผู้นำสหราชอาณาจักรจะแสดงความกระตือรือร้นที่จะผลักดันให้เกิดข้อตกลงดังกล่าวก็ตาม

และแม้ผู้นำสหราชอาณาจักรจะแสดงความกระตือรือร้นที่จะผลักดันให้เกิดข้อตกลงดังกล่าวขึ้นก็ตาม นายกรัฐมนตรี จอห์นสัน เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวหลังการประชุมกับผู้นำสหรัฐฯ ว่า ข้อตกลงการค้าสหรัฐฯ-สหราชอาณาจักรนั้น “ไม่ใช่แผนงานที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ” สำหรับรัฐบาลปธน.ไบเดน

XS
SM
MD
LG