ลิ้งค์เชื่อมต่อ

มาตรการรับมือโควิด-19 ดันภาระหนี้ทั่วโลกพุ่ง 24 ล้านล้านดอลลาร์


A bus drives through the City of London financial district in London, Jan. 5, 2021, on the first morning of England entering a third national lockdown since the coronavirus outbreak began.
A bus drives through the City of London financial district in London, Jan. 5, 2021, on the first morning of England entering a third national lockdown since the coronavirus outbreak began.
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:35 0:00


ภาวการณ์ระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสส่งผลให้ภาระหนี้ทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 24 ล้านล้านดอลลาร์ ในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้ตัวเลขหนี้รวมแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 281 ล้านล้านดอลลาร์ และอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีทั่วโลกพุ่งขึ้นมาอยู่ที่กว่า 355 เปอร์เซ็นต์แล้ว

สำนักข่าว รอยเตอร์ส รายงานโดยอ้างข้อมูลจาก สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (Institute of International Finance -IIF) ซึ่งเฝ้าสังเกตการณ์ตัวเลขทั่วโลก ประเมินว่า ที่มากว่าครึ่งหนึ่งของภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นเป็นการใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนโครงการภาครัฐต่างๆ ขณะที่ หนี้ที่เป็นของบริษัทข้ามชาติ ธนาคารและครัวเรือนจากทั่วโลกเพิ่มขึ้นราว 5.4 ล้านล้านดอลลาร์ 3.9 ล้านล้านดอลลาร์ และ 2.6 ล้านล้านดอลลาร์ ตามลำดับ โดยทั้งหมดนี้ทำให้อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีทั่วโลกปรับเพิ่มสูงขึ้นอีก 35 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การเพิ่มขึ้นของภาระหนี้ทั่วโลกครั้งนี้สูงกว่าเมื่อครั้งเกิดวิกฤตการเงินโลก เช่น ในช่วงปี ค.ศ. 2008 และ ค.ศ. 2009 ที่อัตราส่วนนี้บวกเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ และ 15 เปอร์เซ็นต์

รายงานข่าวยังชี้ด้วยว่า ทิศทางของสถานการณ์หนี้โลกยังไม่ใกล้ที่จะนิ่งและมีเสถียรภาพเท่าใดนักด้วย

เท่าที่ผ่านมา ระดับการกู้ยืมในหลายประเทศพุ่งสูงขึ้นกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ แม้ว่า การเปิดกิจกรรมภาคเศรษฐกิจในหลายแห่งจะช่วยดันตัวเลขฟากของจีดีพีได้บ้างก็ตาม

IIF คาดด้วยว่า ภาระหนี้รัฐทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอีก 10 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ และทะลุระดับ 92 ล้านล้านดอลลาร์ในที่สุด พร้อมระบุว่า การที่ภาครัฐเริ่มลดระดับการใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ อาจนำไปสู่ความท้าทายที่รุนแรงกว่าเมื่อหลังเกิดวิกฤตการเงินด้วยซ้ำ โดยแรงกดดันทางการเมืองและทางสังคมอาจจำกัดความพยายามของเหล่ารัฐบาลในการลดการขาดดุลงบประมาณและภาระหนี้ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อความสามารถของแต่ละแห่งในการรับมือกับวิกฤติอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นอนาคต

XS
SM
MD
LG