ลิ้งค์เชื่อมต่อ

กลุ่มพันธมิตร COP26 ทุนหนา รับปากดำเนินธุรกิจการเงินด้วยการมุ่งเน้นแก้ปัญหาโลกร้อน


Britain's Chancellor of the Exchequer Rishi Sunak speaks during the UN Climate Change Conference (COP26) in Glasgow, Scotland, Britain, November 3, 2021
Britain's Chancellor of the Exchequer Rishi Sunak speaks during the UN Climate Change Conference (COP26) in Glasgow, Scotland, Britain, November 3, 2021
Business News Wed
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:52 0:00


นายธนาคาร บริษัทประกัน และนักลงทุนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์รวมกันราว 130 ล้านล้านดอลลาร์ ประกาศคำสัญญาที่จะผนวกเอาแผนงานต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของภาวะสภาพภูมิอากาศโลก เข้ามาเป็นหัวใจของการดำเนินกิจการงานของตน พร้อมมุ่งชักจูงหาแรงสนับสนุนมาผลักดันแนวทางการลงทุนในธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ที่จะรักษาสิ่งแวดล้อม (Green Investment) ตามรายงานของสำนักข่าว รอยเตอร์

มาร์ค คาร์นีย์ ผู้แทนพิเศษองค์การสหประชาชาติด้านปัญหาสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นผู้จัดตั้งกลุ่ม Glasgow Finance Alliance for Net Zero (GFANZ) ประเมินว่า การที่โลกจะบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดอุณหภูมิเฉลี่ยได้นั้น น่าจะต้องใช้เงินทุนราว 100 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 3 ทศวรรษจากนี้ พร้อมกล่าวว่า อุตสาหกรรมการเงินนั้นจะต้องหาหนทางระดมทุนจากผู้ลงทุนภาคเอกชนเพื่อมาช่วยหนุนภาครัฐที่มีข้อจำกัดอยู่

ในส่วนของโครงการที่ คาร์นีย์ จัดตั้งขึ้นมานั้น เป็นความพยายามที่จะผลักดันให้สถาบันการเงินต่างๆ ร่วมรับผิดชอบและเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อหรือการลงทุนของตน เพื่อบังคับให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มใส่ใจเกี่ยวกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยงที่ว่านี้ด้วย

เจน เฟรเซอร์ ซีอีโอ ของ ซิตี้กรุ๊ป (Citigroup) ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่ม GFANZ ให้ความเห็นว่า การที่โครงการนี้เกี่ยวพันกับกองทุนที่มีมูลค่าสินทรัพย์ถึง 130 ล้านล้านดอลลาร์นั้นเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ก็เตือนว่า ทุกฝ่ายจะต้องรวมทำงานด้วยกันอย่างระมัดระวังเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายให้ได้

ขณะเดียวกัน สถาบันการเงินหลายแห่งที่มีสินทรัพย์รวมกันแล้วคิดเป็นสัดส่วนถึง 40% ของเงินทุนที่หมุนเวียนอยู่ทั่วโลก ออกแถลงการหลังเสร็จสิ้นการประชุมที่ประเทศสกอตแลนด์ซึ่งระบุว่า ธุรกิจที่เข้าร่วมหารือในครั้งนี้ให้คำมั่นที่จะร่วม “รับผิดชอบในสัดส่วนที่เป็นธรรม” สำหรับการดำเนินการต่างๆ ที่จะช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลบนโลกนี้ให้ได้

FILE PHOTO: Smoke and steam billows from the coal-fired power plant owned by Indonesia Power, next to an area for Java 9 and 10 Coal-Fired Steam Power Plant Project in Suralaya
FILE PHOTO: Smoke and steam billows from the coal-fired power plant owned by Indonesia Power, next to an area for Java 9 and 10 Coal-Fired Steam Power Plant Project in Suralaya

คำประกาศดังกล่าวมีออกมาขณะที่ ผู้นำจากกว่า 100 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change – COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ อันมีจุดประสงค์ที่จะขอคำสัญญาจากประเทศต่างๆ ในการร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลง 15 องศาเซลเซียส แม้ว่าหลายคนจะแสดงความไม่แน่ใจว่า การประชุมครั้งนี้จะบรรลุเป้าหมายได้เพียงใด โดยเฉพาะในเรื่องของคำมั่นจากประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย

อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวที่อ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวระบุว่า ผู้นำจากอย่างน้อย 19 ประเทศน่าจะประกาศคำมั่นของตนในวันพฤหัสบดี ว่าจะยุติการใช้งบประมาณรัฐสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวกับเชื้อเพลิงฟอสซิลในต่างประเทศภายในปี ค.ศ. 2022

(ที่มา: สำนักข่าว รอยเตอร์)

XS
SM
MD
LG